การลงนามจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) ในเดือนมกราคม 2535 ระหว่างรัฐบาลไทยกับประเทศใน
กลุ่มอาเซียนอีก 5 ประเทศ แม้จะเป็นมิติใหม่ของความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจในกลุ่มประเทศเพื่อนบ้าน
ซึ่งมีผล อย่างยิ่งต่อพัฒนาการของธุรกิจอุตสาหกรรมไทย แต่แนวคิดนี้ ก็ได้สร้างปัญหาให้กับภาคเอกชนของไทยไม่น้อยเลยทีเดียว
ความพร้อมของภาคเอกชนในขณะนั้น ถือว่ามีน้อยมาก
แนวคิดนี้ เป็นการริเริ่มของอานันท์ ปันยารชุน นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ซึ่งตำแหน่งสุดท้ายก่อนได้รับพระบรมราชโองการแต่งตั้งให้เป็นนายกรัฐมนตรี
อานันท์ดำรงตำแหน่งประธานสภาอุตสาหกรรม คนที่ 8
ปีนี้เป็นปีที่เขตการค้าเสรีอาเซียน ที่ได้ลงนามจัด ตั้งกันเมื่อ 11 ปีก่อน
เริ่มมีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการ กำแพงภาษี ของสินค้าหลายตัวถูกทลายลง
เพื่อให้การค้าขายระหว่างประเทศในกลุ่มมีความคล่องตัวขึ้น
เป็นปีที่ประพัฒน์ โพธิวรคุณ ก้าวขึ้นมาดำรงตำแหน่งประธาน สภาอุตสาหกรรม
คนที่ 11
ประพัฒน์อาจเป็น 1 ในประธานสภาอุตสาหกรรมเพียงไม่กี่คน ที่ไม่ได้มีฐานมาจากการเป็นนักอุตสาหกรรม
เพราะเขามีพื้นฐานเริ่มต้นมาจากนักการตลาด ซึ่งมุมมองตรงนี้ช่วยให้เขามองเห็นถึงพัฒนา
การและอุปสรรคของการค้าขาย ที่นอกเหนือไปจากมุมมองทางด้าน การผลิตแต่เพียงอย่างเดียว
เขามองว่า AFTA เป็นบทเรียนที่ดีที่จะช่วยให้ภาคเอกชน โดยเฉพาะนักอุตสาหกรรมไทย
สามารถขยายตลาดสินค้าได้กว้างขวางขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาวะที่พรมแดนการแข่งขันของผลผลิตทางด้าน
อุตสาหกรรมของไทย ไม่ได้ถูกจำกัดอยู่เฉพาะตลาดภายในประเทศ แต่ต้องก้าวออกไปสู่ระดับสากล
การเตรียมความพร้อมของภาคเอกชนจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง
ตามโครงสร้างการบริหารใหม่ของสภาอุตสาหกรรม ในยุคที่ประพัฒน์เป็นประธาน
ได้มีการแยกสายงานใหม่ขึ้นมาได้แก่สายงาน เศรษฐกิจระหว่างประเทศ โดยมีชวลิต
นิ่มละออ รองประธานเป็นผู้ดูแล
สายงานนี้เป็นการแยกออกจากสายงานความสัมพันธ์ระหว่าง ประเทศเดิม ที่มีเปล่งศักดิ์
ประกาศเภสัช รองประธานเป็นผู้ดูแล
บทบาทของสายงานเศรษฐกิจระหว่างประเทศ จะเน้นในเชิงวิชาการ เกี่ยวกับเรื่องของปัญหา
และช่องทางการค้า การลงทุนระหว่างไทยกับประเทศต่างๆ ทั่วโลก
ในสายงานนี้ จะมีหน่วยงานย่อยแตกออกไปอีก อาทิ หน่วยบริหารกองทุนส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ
หน่วยพัฒนาการส่งออก องค์กรระหว่างประเทศ กรอบความร่วมมือ ทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งหน่วยงานที่ดูแลเรื่องกฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้า และมาตรการที่เป็นอุปสรรคทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษี
ซึ่งเป็นหน่วยงานเพื่อเตรียมตั้ง รับรูปแบบการกีดกันทางการค้ารูปแบบใหม่ที่ว่าด้วยสิ่งแวด
ล้อม แรงงาน สารเคมีเจือปนในสินค้า ซึ่งกำลังจะเกิดขึ้น
ส่วนสายงานความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ จะเน้นทางด้านพิธีการทูตเป็นหลัก
นอกจากนี้ ยังมีการจัดตั้งคณะกรรมการนโยบายส่งเสริมการค้าเสรี ซึ่งมีประพัฒน์เป็นประธานด้วยตัวเอง
คณะกรรมการชุดนี้ เป็นการเตรียมความพร้อมเพื่อรับการเปิดการค้าเสรีในลักษณะทวิภาคีที่ประเทศไทยกำลังดำเนินการกับประเทศอื่นๆ
อยู่
บทบาทของคณะกรรมการชุดนี้ จะทำหน้าที่ในการประสานงานกับภาครัฐ ในการเตรียมท่าทีของไทยกับประเทศ
ต่างๆ
ในคณะกรรมการชุดนี้ ยังแบ่งเป็นคณะทำงานย่อย อีก 5 ชุด ที่จะดูแลประเทศที่นโยบายการเปิดการค้าเสรีได้เริ่มดำเนินการไปแล้ว
ประกอบด้วย
1. คณะทำงานไทย-จีน
2. คณะทำงานไทย-บาห์เรน
3. คณะทำงานไทย-ออสเตรเลีย
4. คณะทำงานไทย-ญี่ปุ่น
5. คณะทำงานไทย-อินเดีย
คณะทำงานทั้ง 5 ชุด จะมีรองประธานแต่ละคน เป็น ผู้ดูแลโดยเฉพาะ และยังพร้อมที่จะตั้งคณะทำงานเพิ่มขึ้นหาก
ประเทศไทยได้ไปเปิดความสัมพันธ์ทางด้านการค้ากับประเทศ อื่นๆ เพิ่มเข้ามาอีก
ในมุมมองของประธานสภาอุตสาหกรรมคนที่ 11 เห็นว่าภาวะการแข่งขันทางการค้าโลกที่สลับซับซ้อนขึ้น
ไม่สามารถมอบหมายภาวะการนำให้กับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ หรือภาคเอกชน
ได้แต่เพียงด้านเดียว แต่ทั้ง 2 ฝ่าย ต้องทำงานที่สอดประสานกัน ดังนั้นการเตรียมความพร้อมของทั้ง
2 ฝ่าย จึงเป็นสิ่งที่ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง
โครงสร้างใหม่ของสภาอุตสาหกรรมที่เริ่มใช้มาเป็นการ แสดงความพร้อมในระดับหนึ่งให้กับฝ่ายรัฐได้มองเห็น