|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
 |
ไทยเกรียงกรุ๊ป ผลงานไตรมาสแรกขาดทุนกว่า 160 ล้านบาท หลังหยุดผลิตปั่นดายและทอผ้าทำให้ต้นทุนพุ่ง บวกกับยอดขายลด-จ่ายเงินชดเชยเลิกจ้างพนักงาน ส่งผลให้ยอดขาดทุนสะสมพุ่งเกิน 2.1 พันล้านบาท ขณะที่ผู้บริหาร เตรียมเพิ่มทุนเพื่อนำไปชำระหนี้ที่ผิดนัดและลุยลงทุนขยายธุรกิจใหม่ ด้านตลาดหลักทรัพย์ฯ เตือนนักลงทุนพิจารณางบอย่างรอบคอบ
นายชวลิต ทองหลิม กรรมการบริษัท ไทยเกรียงกรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ TDT กล่าวถึง ผลการดำเนินงานไตรมาสที่ 1 สิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม 2549 ว่า บริษัทมีผลขาดทุนสุทธิ 160.95 ล้านบาท ขาดทุนสุทธิต่อหุ้น 0.32 บาท เทียบกับงวดเดียวกันปีก่อนที่ขาดทุนสุทธิ 24.87 ล้านบาท หรือขาดทุนสุทธิเพิ่มขึ้น 136.08 ล้านบาท โดยมียอดขายสุทธิ 45.57 ล้านบาท เทียบกับปีก่อน 154.93 ล้านบาท เกิดจากการหยุดการผลิตในส่วนของปั่นด้ายและทอผ้าในเดือนกุมภาพันธ์ 2549 ส่งผลให้ต้นทุนขายสูงเป็น 84.10 ล้านบาท และขาดทุนขั้นต้น 38.53 ล้านบาท คิดเป็น 84.55%
ขณะเดียวกัน บริษัทมีค่าใช้จ่ายชดเชยการเลิกจ้างพนักงานจำนวน 690 คน รวม 49.91 ล้านบาท และตั้งสำรองด้อยค่าสินทรัพย์สำหรับสินค้าสำเร็จรูป 38.80 ล้านบาท ดอกเบี้ยจ่าย 21.98 ล้านบาท ซึ่งสูงกว่าปีก่อนเนื่องจากเป็นดอกเบี้ยคิดจากอัตราดอกเบี้ยผิดนัดชำระ
สำหรับส่วนผู้ถือหุ้น ณ วันที่ 31 มีนาคม 2549 ติดลบ 535.28 ล้านบาท เนื่องจากส่วนเกินทุนจากการตีราคาที่ดินลดลง 793.33 ล้านบาท หลังจากการเปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์การประกอบธุรกิจจากธุรกิจสิ่งทอเป็นพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ดังนั้นบริษัทจึงได้ปรับปรุงโอนกลับที่ดินจำนวน 79 ไร่ 2 งาน 49 ตารางวา และส่วนเกินทุนจากการตีราคาที่ดิน และคงเหลือที่ดินที่ราคาทุนจำนวน 10.39 ล้านบาท
พร้อมกันนี้ บริษัทได้แจ้งเพิ่มเติมว่า ผู้สอบบัญชีไม่แสดงความเห็นต่องบการเงินประจำไตรมาส 1/49 เนื่องจากยังมีความไม่แน่นอนอยู่ใน 6 ประเด็นหลัก ประเด็นแรก ผลขาดทุนจากมูลค่าสินค้าลดลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งบริษัทได้ชี้แจงว่า บริษัทมีสินค้าคงเหลือตามบัญชี 40.16 ล้านบาท หลังจากหักค่าเผื่อมูลค่าสินค้า 152.50 ล้านบาท โดยพิจารณาจากราคาที่ผู้เสนอซื้อภายนอกจำนวน 4 ราย ซึ่งบริษัทคาดว่าจะเป็นมูลค่าที่ใกล้เคียงกับความเป็นจริง
ประเด็นที่ 2 มูลค่าอาคารและอุปกรณ์ ไตรมาส 1/49 บริษัทได้ทำการปรับปรุงย้อนหลังเกี่ยวกับการตัดค่าเสื่อมราคาอาคารและอุปกรณ์ โดยคำนวณจากแต่ละรายการของสินทรัพย์ ณ วันที่ 1 มกราคม 2549 ค่าเสื่อมราคาสะสมตามบัญชีไม่ตรงกับทะเบียนทรัพย์สินจำนวนเงิน 3.95 ล้านบาท ดังนั้นบริษัทจึงได้ปรับปรุงงบการเงินเพื่อแก้ไขข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้น
ประเด็นที่ 3 ผลขาดทุนจากการขายสินทรัพย์ที่จะเกิดขึ้นจริงในอนาคต บริษัทได้บันทึกโอนกลับค่าเผื่อการด้อยค่าของเครื่องจักรและอุปกรณ์จำนวน 24.0 ล้านบาท และบันทึกเป็นรายได้และได้แสดงเป็นรายการแยกต่างหากในงบกำไรขาดทุน ทำให้ค่าเผื่อการด้อยค่าของเครื่องจักรและอุปกรณ์ดังกล่าวคงเหลือ 57.59 ล้านบาท
ประเด็นที่ 4 การโอนความเสี่ยงในตัวสินทรัพย์ที่ขายในระหว่างงวด และไม่สามารถหาต้นทุนของสินทรัพย์ที่ขายได้ ทำให้บริษัทไม่ได้รับรู้รายการกำไรขาดทุนจากการขายทรัพย์สิน โดยตั้งแต่ธันวาคม 2548 บริษัทได้ทยอยขายเครื่องจักรและอุปกรณ์บางส่วนในราคา 82.8 ล้านบาท (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) ซึ่งไม่สามารถหาต้นทุนสินทรัพย์ได้ เนื่องจากเป็นสินทรัพย์เก่าที่ซื้อและใช้งานมานานแล้ว
ประเด็นที่ 5 ประมาณการรื้อถอนหรือขนไปทิ้งสำหรับทุบอาคารโรงงานที่จะเกิดขึ้นจริงในอนาคต ซึ่งบริษัทได้บันทึกประมาณการรายจ่ายเป็นต้นทุนอาคารแล้ว 23 ล้านบาท แต่ปัจจุบันยังไม่ได้มีการทำสัญญาจัดจ้าง จึงยังไม่อาจสรุปค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริงได้
ประเด็นสุดท้าย การดำรงอยู่ของกิจการ บริษัทประสบปัญหาอย่างรุนแรง คือมีขาดทุนสะสมรวม 2,181.64 ล้านบาท กระแสเงินสดติดลบ 86.47 ล้านบาท หนี้สินหมุนเวียนสูงกว่าสินทรัพย์หมุนเวียน 745.12 ล้านบาท รวมทั้งบริษัทไม่สามารถชำระคืนหนี้เงินกู้ระยะสั้นและระยะยาวได้ รวมวงเงิน 273.8 ล้านบาท (รวมเงินต้นและดอกเบี้ยค้างจ่าย) ซึ่งผู้บริหารอยู่ระหว่างการเจรจาขอขยายระยะเวลาการจ่ายชำระหนี้เงินกู้ยืมกับธนาคารในประเทศอีกแห่งหนึ่ง
พร้อมกันนี้ บริษัทได้ลดการขาดทุนจากการผลิต ด้วยการหยุดผลิตในส่วนของปั่นด้ายและทอผ้าเป็นการถาวรตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2549 รวมทั้งอยู่ระหว่างการเพิ่มทุน เพื่อนำเงินที่ได้จากการเพิ่มทุนมาชำระหนี้ที่ผิดนัดและเตรียมความพร้อมสำหรับเริ่มประกอบธุรกิจใหม่ของบริษัทในอนาคตต่อไป
ขณะที่ ตลาดหลักทรัพย์ฯ แจ้งเพิ่มเติมให้ผู้ถือหุ้นและนักลงทุนพิจารณาความเห็นของผู้สอบบัญชีประกอบกับตัวเลขในงบการเงินและหมายเหตุประกอบงบการเงินอย่างระมัดระวัง เนื่องจากบริษัทอยู่ในกลุ่มที่แก้ไขการดำเนินงานไม่ได้ตามกำหนด เมื่อผู้สอบบัญชีไม่แสดงความเห็นต่องบการเงิน ทำให้ตัวเลขผลการดำเนินงานอาจจะไม่แสดงค่าที่แท้จริงได้
|
|
 |
|
|