|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
*ผ่าทางตันสงครามทุนค้าปลีกข้ามชาติฮุบค้าปลีกไทย
*วิโรจน์ จุนประทีปทอง แนะรัฐบาลใหม่ปัดฝุ่นกฎหมายควบคุม
*ชูธงทำประชาพิจารณ์ก่อนอนุญาตผุดสาขา ลดปัญหาชุมชนต่อต้าน
*ใช้เงื่อนไขเวลาเปิด-ปิดห้าง ลดผลกระทบโชห่วย
ความขัดแย้งในธุรกิจค้าปลีกระหว่างผู้ประกอบการไทยกับทุนต่างชาติที่ยืดเยื้อมานานนับ 10 ปี วันนี้ ยังไม่มีทีท่าว่าจะสิ้นสุด การหาจุดลงตัวที่จะให้ทุกฝ่ายยอมรับ หันกลับไปทำธุรกิจโดยไม่มีการเอารัดเอาเปรียบในเชิง "ปลาใหญ่กินปลาเล็ก" กลายเป็นโจทย์ข้อใหญ่ที่ยังไม่มีใครไขหาทางออกได้
ภาครัฐ ที่ดูเหมือนจะเป็นกลจักรสำคัญในการแก้ปัญหา โดยมีอาวุธสำคัญ คือการร่างกฎหมายขึ้นมาควบคุมการค้าให้ดำเนินไปอย่างเป็นธรรม แต่เหมือนอาวุธนี้กลับไม่มีโอกาสได้นำออกมาใช้ การร่างพระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า ในยุครัฐบาลชวน หลีกภัย ปี 2542 ออกเป็นลายลักษณ์อักษณ์ 7 หมวด 57 มาตรา ที่เหมือนจะสอดคล้องกับการควบคุมทุนต่างชาติในระยะเพิ่งก่อตัว แต่ยังไม่ทันมีการประกาศใช้ รัฐบาลที่มีพรรคประชาธิปัตย์เป็นแกนนำก็มีอันชิงลาโรงไปก่อน
มาถึงยุครัฐบาลทักษิณ ชินวัตร แม้ดูเหมือนมีความพยายามในการยกร่างพระราชบัญญัติค้าปลีก ค้าส่ง ขึ้นมาควบคุมการขยายตัวของธุรกิจค้าปลีกจากต่างชาติอีกครั้ง ในปี พ.ศ.2545 แต่กลับเป็นเพียงปาหี่ฉากหนึ่ง ที่ความจริงรัฐบาลนี้เลือกที่จะเอื้ออาทรต่อการขยายธุรกิจของทุนต่างชาติมากกว่า กลายเป็นช่วงเวลาที่ธุรกิจค้าปลีกของทุนต่างชาติขยายตัวในประเทศไทยได้รวดเร็วที่สุด โดยที่ร่าง พ.ร.บ.ฉบับนั้น จับฝุ่นอยู่บนหิ้ง จนกระทั่งถึงปีที่บารมีทักษิณเริ่มเสื่อม กระแสความเดือดร้อนของผู้ประกอบการไทยลุกลามมากขึ้น พ.ร.บ.ปาหี่ จึงถูกหยิบมาพิจารณาอีกครั้ง โดยมี ความพยายามที่จะยกร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว เพิ่มข้อกำหนดเกี่ยวกับระยะห่างจากชุมชน 3.5 กิโลเมตร และต้องมีความหนาแน่นของประชากรในพื้นที่อย่างน้อย 3.5 แสนคน รวมถึงการกำหนดให้ธุรกิจที่จะทำร้านค้ารูปแบบใหม่ต้องขอใบอนุญาตเพิ่มเติม เช่น ตอนแรกที่ขอใบอนุญาตระบุว่าจะดำเนินธุรกิจไฮเปอร์มาร์เก็ต แต่เมื่อมีการขยายธุรกิจไปสู่มินิมาร์ท มินิซูเปอร์มาร์เก็ตหรือเอ็กซ์เพรสก็ต้องขอใบอนุญาตเพิ่มเติมด้วย
ทั้งนี้พระราชบัญญัติฉบับเดิมกำหนดให้ธุรกิจค้าปลีกขนาดใหญ่มีระยะห่างจากชุมชน 15 กิโลเมตร ซึ่งโดยลักษณะธรรมชาติของผู้บริโภคไทยส่วนใหญ่ที่อยู่รอบนอกจะเป็นตลาดระดับล่าง ทำให้ข้อกำหนดดังกล่าวดูเหมือนเป็นการเอื้อต่อดิสเคาน์สโตร์เพราะสอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมาย ในขณะที่ธุรกิจค้าปลีกรายใหญ่ที่เป็นดีพาร์ตเมนต์สโตร์ หรือซูเปอร์มาร์เก็ต ที่จับตลาดคนเมืองไม่สามารถเข้าสู่ชุมชนได้
สำหรับข้อกำหนดที่เพิ่มเติมจากพระราชบัญญัติค้าปลีก ค้าส่ง ปี 2545 นั้น เป็นการอิงกับกฎหมายควบคุมการค้าปลีกค้าส่ง (Distributive Trade) ของมาเลเซีย ซึ่งประสบความสำเร็จเป็นอย่างดีภายใต้การใช้กฎหมายอย่างตรงไปตรงมาของรัฐบาลมาเลเซีย ทั้งที่เบื้องหลังของการร่างกฎหมาย Distributive Trade ฉบับนี้ คณะทำงานของมาเลเซียได้เดินทางมาศึกษาข้อมูลและขอคำแนะนำจาก วิโรจน์ จุนประทีปทอง กรรมการผู้จัดการใหญ่ สรรพสินค้าตั้งฮั่วเส็ง ซึ่งดำรงตำแหน่งเป็นประธานสมาคมผู้ค้าปลีกไทย เมื่อ 5 ปีที่ผ่านมา
ประชาพิจารณ์ก่อนผุดสาขา ลดปัญหาชุมชนต่อต้าน
วิโรจน์ จุนประทีปทอง กล่าวกับ "ผู้จัดการรายสัปดาห์" ว่า ข้อกำหนดต่างๆไม่ว่าจะเป็นเรื่องของระยะห่างจากชุมชน ความหนาแน่นของประชากรไม่ได้มีสูตรตายตัวควรต้องเป็นตัวเลขใดแต่ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของแต่ละที่ เช่นที่สหรัฐเมื่อ 10 ปีที่แล้วได้กำหนดให้ธุรกิจค้าปลีกขนาดใหญ่ตั้งห่างจากชุมชนเป็นระยะทาง 6 ไมล์ หรือ 9 กิโลเมตร โดยจะต้องมีการทำประชาพิจารณ์จากชุมชนก่อนว่าจะให้ตั้งหรือไม่ เช่น กรณีการเข้ามาของวอลมาร์ทซึ่งได้รับฉายาว่าเป็นแฟรงเกนสไตน์ เนื่องจากไปตั้งที่ใด ธุรกิจท้องถิ่นที่นั่นมักจะตายกันหมด ทั้งนี้ในแต่ละรัฐจะมีการกำหนดในรายละเอียดที่แตกต่างกันไป
ระยะห่างชุมชน 3.5 กิโลเมตรทำให้โชห่วยตาย ผู้บริโภคสะดวก แต่ถ้าเป็น 15 กิโลเมตร ดิสเคาน์สโตร์อาจลำบาก คนในเมืองก็ลำบากถ้าต้องเดินทางไปซื้อของไกลๆ เพราะฉะนั้นต้องหาจุดสมดุลร่วมกัน ทั้งนี้นอกจากจะกำหนดระยะห่างจากชุมชนแล้ว จำเป็นที่จะต้องพิจารณาด้านอื่นด้วยเช่น สภาพถนน ปัญหาการจราจรที่จะตาม ห้างใหญ่ ถนนเล็ก การจราจรติดขัด ไม่ควรอยู่ปากซอย รวมถึงเรื่องภาษีบำรุงท้องถิ่น ซึ่งที่ผ่านมา พวกห้างสรรพสินค้าไม่มีใครออกไป จะมีก็แต่ดิสเคาน์สโตร์ แต่ก็เหมือนน้ำท่วมปาก เขามองในเมืองยังมีศักยภาพเขาก็ลดขนาดเพื่อเลี่ยงกฎหมาย อย่างเช่นที่แม่สายมีการกำหนดให้ห้างที่มีพื้นที่ 10,000 ตารางเมตร หรือมีความสูงเกิน 10 เมตรต้องอยู่นอกเมือง เขาก็ทำให้สูง 9.90 เมตร ดังนั้นหน่วยงานบริหารส่วนท้องถิ่นจะต้องมีจิตสำนึกในเรื่องนี้ด้วย ไม่ใช่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนเนื่องจากบางกรณีปรากฏว่าดิสเคาน์สโตร์มีการเช่าหรือซื้อที่ดินจากนักการเมืองท้องถิ่นทำให้ได้รับอนุญาตโดยง่าย ส่วนการกำหนดความหนาแน่นของประชากรก็ต้องมาดูกันว่า 3.5 แสนคนนั้นใช่คำตอบสำหรับประเทศไทยหรือไม่
"เซ็นทรัลที่ว่าแข็งพอไปอยู่รอบนอกยังต้องเปลี่ยนเป็นบิ๊กซี อย่างย่านหัวหมาก รามอินทรา หรือกรณีของท็อปส์ ฟู้ดแลนด์ และตั้งฮั่วเส็งก็ดีเราไม่ขยายสาขาไปรอบนอกเพราะเราจับไลฟ์สไตล์คนเมือง ถ้าไปตั้งไกลๆก็ขายไม่ได้ ก็เลยกลายเป็นว่าข้อกำหนดระยะห่างชุมชน 15 กิโลเมตรนอกจากจะไม่ได้ช่วยโชห่วยแล้วยังทำให้ธุรกิจค้าปลีกขนาดกลาง-ใหญ่ของคนไทยถูกทำลายไปด้วย ที่สำคัญซูเปอร์มาร์เก็ตขนาด 1-2 พันตารางเมตรจะเอาอะไรมาดึงดูดลูกค้าได้ ในขณะที่ดิสเคาน์สโตร์ใช้พื้นที่เป็นหมื่นตารางเมตรย่อมมีแมกเนตในการดึงดูดลูกค้าได้มากกว่า" วิโรจน์ กล่าว
อย่างไรก็ดีเมื่อมีการออกกฎมาแล้วก็ควรจะต้องมีขั้นตอนของการทำประชาพิจารณ์ด้วย เช่นที่ญี่ปุ่นกำหนดรัศมี 500 เมตร โดยมี 3 ฝ่ายคือเจ้าหน้าที่รัฐ ร้านค้าย่อย และดิสเคาน์สโตร์ร่วมแสดงความเห็นกัน
ในช่วงปลายปีที่ผ่านมาวอลมาร์ทได้เข้าไปซื้อที่ดินในเมืองบอสตันเพื่อเปิดห้างที่มีขนาด 4,000 ตารางเมตร ซึ่งแต่เดิมวอลมาร์ททำธุรกิจค้าปลีกบนพื้นที่นับหมื่นตารางเมตร ต่อมาก็มีการย่อส่วนเหลือ 7,000 ตารางเมตร ตามความเหมาะสมในแต่ละพื้นที่ อย่างไรก็ดีการทำประชาพิจารณ์ในชุมชนที่ไม่สนับสนุนให้วอลมาร์ทมาตั้งในเมืองเพราะเห็นว่าคนบอสตันเป็นคนที่มีการศึกษาสูงมีไลฟ์สไตล์ที่ดี ควรมีห้างสรรพสินค้าเป็นแหล่งชอปปิ้งเพื่อเชิดหน้าชูตา ดีกว่าจะให้ไฮเปอร์มาร์ทเข้ามาตั้ง ซึ่งสุดท้ายวอลมาร์ทก็ต้องยอมถอยทั้งที่ซื้อที่ดินเรียบร้อยแล้ว
"การที่โลตัสเข้ามาตั้งในเมืองถือเป็นการทำลายวิถีชีวิตชาวบ้านจากเดิมที่เคยพึ่งพาซึ่งกันและกันคนโน้นซื้อของคนนี้คนนี้ก็ไปซื้อของของคนนั้น ร้านชำ ร้านก๋วยเตี๋ยว ร้านกาแฟ ร้านข้างแกง จากที่เคยมีเงินหมุนเวียนกันหลายรอบก็กลายเป็นว่าเงินหมุนอยู่แต่ในดิสเคาน์สโตร์รอบเดียว ในสมัยก่อนเราจะเห็นร้านทีวี วิทยุ อุปกรณ์กีฬา เครื่องเขียน ริมถนน แต่ปัจจุบันไม่ค่อยมีให้เห็น ภาพเหล่านี้ก็ถือเป็นผลกระทบจากดิสเคาน์สโตร์ที่ทำลายธุรกิจในรัศมีกว้าง ขณะที่คอนวีเนี่ยนสโตร์เป็นการกระบแบบตัวต่อตัว แต่ทั้งนี้ถ้าโชห่วยไทยห่างจากเซเว่นเกิน 100 เมตรก็อยู่รอดได้ แต่ก็ต้องมีการปรับตัวและภาครัฐก็ต้องให้ความช่วยเหลือด้วย
อย่างไรก็ดียังมีทางออกสำหรับผู้ประกอบการไทยเพราะมีเมืองใหม่ๆ ชุมชนใหม่ๆเกิดขึ้นมากมาย เช่นในอดีตเราเริ่มต้นจากย่านเยาวราช วังบูรพาขยายไปบางลำภู ประตูน้ำ สะพานควาย รามคำแหง เมืองขยายไปเรื่อยๆ การค้าก็ขยายตามไปด้วย โชห่วยก็อาจต้องหนีไปยังชุมชนใหม่เพราะถ้าติดอยู่ที่เดิมก็คงตาย อย่างน้อยความหนาแน่นของประชากรในชุมชนใหม่ๆคงไม่มากพอที่ดิสเคาน์สโตร์จะเข้าไปได้ นั่นก็เป็นหลักประกันได้ในระยะหนึ่ง
ดึงเงื่อนเวลาคุมดิสเคาน์ฯกินโชห่วย
ในแง่ความช่วยเหลือของภาครัฐก็มีให้เห็นมากมายในต่างประเทศอย่างเช่นที่เนเธอร์แลนด์มีการกำหนดห้ามขายราคาต่ำกว่าทุน ที่เยอรมันให้ขายราคาต่ำได้แต่ต้องขายราคานั้นตลอดทั้งปี ส่วนที่ฝรั่งเศสห้ามขายราคาต่ำกว่าอินวอย โดยมีการกำหนดโทษปรับ 2.5 ล้านฟรัง หรือในอังกฤษใครจำหน่ายสินค้า OTOP ก็จะได้รับการลดภาษี ขณะที่เมืองดับลินของไอร์แลนด์ ซึ่งมีประชากร 1 ล้านคนได้ให้อำนาจรัฐมนตรีวิ่งแวดล้อมในการออกกฎให้ดิสเคาน์สโตร์ออกไปตั้งนอกเมืองและห้ามใช้พื้นที่เกิน 3,000 ตารางเมตร
กรณีการเกิดขึ้นของดิสเคาน์สโตร์หรือไฮเปอร์มาร์เก็ตจะมีการพิจารณากันอย่างไรระหว่างห้างที่เกิดขึ้นแล้ว ลงเสาเข็มแล้ว ควรมีการควบคุมแค่ไหน
8-9 ปีก่อนที่ไต้หวันมีห้างแม็คโคร 2 สาขาในพื้นที่อุตสาหกรรมหรือ Industry Area เทศมนตรีไต้หวันมีมติให้แม็คโครย้ายไปตั้งในเขตการค้า Commercial Area ก็ยังทำกันได้ แต่ถ้าจะประนีประนอมก็อาจขอให้ดิสเคาน์สโตร์เหล่านั้นช่วยเหลือสังคม หรือกำหนดเวลาเปิดปิดให้เหมาะสม
ในบ้านเราช่วงที่มีการรณรงค์ประหยัดพลังงานและให้ห้างปิดไวขึ้นนั้นปรากฎว่ามีการกำหนดให้ดิสเคาน์สโตร์ปิด 4 ทุ่มจากเดิมที่ปิดเที่ยงคืน ห้างสรรพสินค้าปิด 2 ทุ่มจากเดิมที่ปิด 4 ทุ่ม ซึ่งหากพิจารณาพฤติกรรมของผู้บริโภคแล้วจะเห็นว่าไม่ใช่การกำหนดเวลาที่เหมาะสมเนื่องจากผู้บริโภคในเมืองทำงานเลิก 5-6 โมงเย็น ผู้หญิงที่จะไปเดินซื้อสินค้าในห้างสรรพสินค้าจะใช้เวลาในการเลือกซื้อนาน ลิปสติกต้องมีการทดลองหลายๆสี น้ำหอมก็ต้องทดลองหลายๆกลิ่น เสื้อผ้าก็ต้องลองหลายๆแบบ แต่ถ้าห้างปิด 2 ทุ่มแล้วกว่าจะเดินทางจากที่ทำงานมาถึงห้างก็เหลือเวลาไม่มากทำให้ผู้บริโภคเลือกที่จะไม่มาซื้อ ในขณะที่ดิสเคาน์สโตร์ไม่ได้เน้นวางสินค้าให้ลูกค้าได้ทดลองใช้มากมายนักเพราะเน้นการขาย อีกทั้งผู้บริโภคที่มาซื้อก็เน้นราคามากกว่าทำให้การใช้เวลาในการตัดสินใจซื้อสินค้าน้อยกว่าคนที่ซื้อในห้างสรรพสินค้า จึงกลายเป็นว่าห้างที่ใช้เวลาในการชอปปิ้งน้อยกลับเปิดได้นาน แต่ห้างที่ใช้เวลาในการชอปปิ้งนานๆกลับให้ปิดเร็ว ซึ่งหลังจากถูกวิจารณ์ทางภาครัฐก็ขยายเวลาปิดของห้างสรรพสินค้าออกไปอีก 1-2 ชั่วโมง อย่างไรก็ดีผู้ประกอบการก็ต้องศึกษาธรรมชาติของคนทำงานว่าเลิกงานกี่โมง กลับกี่โมง ใช้เวลาในการชอปปิ้งกี่โมง อย่างห้างสรรพสินค้าย่านวังบูรพาหรือย่านบางลำพู ถ้าให้เปิดถึง 4 ทุ่ม ก็คงไม่มีรายไหนเอาเพราะนอกจากจะไม่มีลูกค้าช่วงดึกๆแล้ว ยังต้องเสียค่าน้ำค่าไฟและค่าจ้างพนักงานซึ่งไม่คุ้ม
กรณีที่ดิสเคาน์สโตร์เข้ามาอยู่ในเมืองแล้วจะทำอย่างไร ก็มีตัวอย่างของการวางกรอบในการแบ่งการขายเช่นที่ฝรั่งเศสและเยอรมันอนุญาตให้สาขาของห้างที่อยู่ในเขตรถไฟฟ้าปิดห้างได้ถึง 4 ทุ่ม นอกนั้นให้ปิด 1 ทุ่ม ประเทศไทยเองให้เซเว่นอีเลฟเว่นเปิด 24 ชั่วโมง แต่เขามี 3 กะ จะให้ผู้ประกอบการไทยอยู่เฝ้าร้านจนตายก็ใช่ที่
"ดิสเคาน์สโตร์ที่เข้ามาตั้งสาขาในเขตชุมชนแล้วจะทำอย่างไร เราก็ควบคุมเวลาเปิดปิดของเขา ให้เขาหยุด 1 วันต่อสัปดาห์ ก็จะช่วยให้ค้าปลีกอื่นอยู่ได้ เป็นการแลกกับการได้ตั้งในเขตชุมชน ซึ่งในต่างประเทศก็ทำกันมาก่อนหน้านี้ แล้วทำไมจะต้องมากินรวบที่เมืองไทยด้วย" วิโรจน์ กล่าว
ซัปพลายเออร์อุ้มโชห่วยคานอำนาจค้าปลีกยักษ์
นอกจากนี้ควรมีการให้คำจำกัดความของดิสเคาน์สโตร์ว่าคืออะไร และแค่ไหนที่จะต้องอยู่นอกเมือง ส่วนซัปพลายเออร์เองก็ควรช่วยเรื่องราคาให้กับผู้ประกอบการรายย่อยด้วย
กรณีของ รวมค้าปลีกเข้มแข็ง หรือ ART ถ้าทำตามหลักการคือขายของให้ยี่ปั๊วในราคาถูกเพื่อที่ยี่ปั๊วจะได้ขายราคาถูกให้โชห่วยอีกทีซึ่งจะทำให้อยู่กันได้ทั้งระบบ แต่เวลาปฏิบัติกันจริงกลับขายราคาถูกไปถึงโชห่วยโดยตรง ยี่ปั๊วก็เลยไม่มีลูกค้ามาซื้อต่อเพราะโชห่วยซื้อตรงจาก ART แล้ว นอกจากนี้ยังมีเรื่องของการบริหารจัดการที่เกิดต้นทุน เช่นการติดตั้งคอมพิวเตอร์ ค่าวิทยากรซึ่งจริงๆเรื่องนี้ให้ยี่ปั๊วสอนโชห่วยก็ได้ ไม่ต้องเสียงบจ้างคนจบปริญญามาสอน
การออกคาราวานของยูนิลีเวอร์ถือได้ว่ามีส่วนช่วยโชห่วยได้บ้าง แต่พอยูนิลีเวอร์หรือซัปพลายเออร์รายอื่นคิดจะทำอะไรให้กับโชห่วย ทางฟากดิสเคาน์สโตร์ก็มักกดราคาซัปพลายเออร์โดยอ้างว่าสั่งสินค้ามากกว่าก็น่าจะได้สิทธิพิเศษกว่า ซึ่งยูนิลีเวอร์ก็มีการแก้เกมด้วยการออกสินค้าคนละรุ่นคนละไซส์ในการจำหน่ายในแต่ละช่องทาง
สิ่งต่างๆเหล่านี้ถือเป็นความจำเป็นที่ซัปพลายเออร์จะต้องให้ความช่วยเหลือโชห่วย หรือยี่ปั๊ว เพราะถ้าช่องทางเหล่านี้ลดน้อยหรือหายไปจากตลาดก็จะไม่มีใครคานอำนาจของดิสเคาน์สโตร์ได้ สุดท้ายซัปพลายเออร์เองก็ลำบากด้วย ทั้งนี้วิโรจน์ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับตัวเลขของร้านโชห่วยที่เคยมี 7-8 แสนรายเมื่อ 10 ปีที่แล้ว แต่ปัจจุบันลดเหลือไม่ถึง 3 แสนราย
ย้ำรัฐเพิ่มกฎตั้งสาขาผุด 100 สาขาก็ต้อง 100 ใบอนุญาต
สำหรับเงื่อนไขในการขออนุญาตเพื่อดำเนินธุรกิจค้าปลีกก็เป็นสิ่งที่ต้องพิจารณากันใหม่ อย่างที่ประเทศจีนเวลาจะเปิดแต่ละสาขาต้องขออนุญาตทั้งจากรัฐบาลท้องถิ่นและรัฐบาลกลาง ที่มาเลเซียก็กำหนดให้พื้นที่ใน 5 รัฐห้ามการตั้งธุรกิจค้าปลีกขนาดยักษ์เป็นเวลา 5 ปี และหลังจากนั้นจะต้องขออนุญาตการตั้งสาขาล่วงหน้า 2 ปี ในขณะที่อิตาลีต้องใช้เวลาขออนุญาติ 3 ปี แต่ก็จะมีการดึงให้ช้าออกไปอีก
"ข้อกำหนดที่ผู้ประกอบการขออนุญาตเพิ่มเวลามีการขยายรูปแบบร้านค้าปลีกใหม่ๆนั้นไม่ได้เป็นการชะลอการขยายตัวอขงธุรกิจขนาดใหญ่เหล่านี้เลย เนื่องจากใช้เวลาขออนุญาตไม่ถึงเดือน แต่ถ้าให้ขออนุญาตทุกครั้งที่มีการตั้งสาขาใหม่ก็จะเป็นการชะลอการเกิดขึ้นของแต่ละสาขาและทำให้ผู้ประกอบการท้องถิ่นได้มีเวลาปรับตัว"
นอกจากการปรับตัวในส่วนของห้างร้านแล้ว สินค้าที่จะนำมาจำหน่ายก็เป็นอีกปัจจัยที่ไม่ควรมองข้าม ซึ่งสินค้าโอทอปก็ถือเป็นอีกโอกาสหนึ่งในการสร้างความแตกต่างให้กับร้านค้าปลีกของไทย โอทอปดีๆทำให้แข่งกับดิสเคาน์สโตร์ได้ แต่ทุกวันนี้โอทอปดีๆถูกซื้อไปหมดแล้ว ดังนั้นภาครัฐก็ควรให้การสนับสนุนโอทอปของไทยให้สามารถพัฒนาสินค้าให้มีคุณภาพเป็นที่ยอมรับของตลาด รวมถึงการให้ความรู้ด้านการตลาดด้วย โอทอปบางรายอาจจะผลิตได้ไม่มาก สามารถจำหน่ายในห้างร้านคนไทย มีกำไรอยู่ได้ แต่ถ้าจะเข้าดิสเคาน์สโตร์หรือห้างใหญ่ๆก็ต้องเพิ่มกำลังการผลิตเพื่อป้อนดิสเคาน์สโตร์ให้ครบทุกสาขาแต่ก็มีค่าใช้จ่ายในการเข้าสู่ช่องทางดังกล่าวซึ่งท้ายที่สุดแล้วกำไรต่อหน่วยอาจจะน้อยกว่าตอนที่ผลิตน้อยๆ ขายผ่านห้างร้านของคนไทยก็ได้ สิ่งเหล่านี้ต้องถ่ายทอดให้โอทอปได้พิจารณา
|
|
|
|
|