Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน2 ตุลาคม 2549
ธปท.ชี้อสังหาฯยังชะลอตัวต่อ             
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารแห่งประเทศไทย

   
search resources

ธนาคารแห่งประเทศไทย
Real Estate




แบงก์ชาติเผยธุรกิจอสังหาฯล่าสุดเดือนกรกฎาฯยังชะลอตัวต่อเนื่อง ยอดที่อยู่อาศัยสร้างเสร็จและจดทะเบียนเพิ่มในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลประเภทบ้านจัดสรรปรับตัวลดลงค่อนข้างมาก เหตุผู้บริโภคและผู้ประกอบการยังไม่มีความเชื่อมั่นจากปัญหาทางการเมือง

รายงานข่าวจากธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) แจ้งว่า เครื่องชี้อสังหาริมทรัพย์ล่าสุดในเดือนกรกฎาคม 2549 มีหลายรายการยังแสดงให้เห็นว่าความต้องการที่อยู่อาศัยยังชะลอตัวอย่างเนื่อง โดยมูลค่าการซื้อขายที่ดินทั้งประเทศในเดือนนี้มีอยู่ 47,316 ล้านบาท หรือลดลงถึง 4,466 ล้านบาท เมื่อเทียบกับเดือนก่อน และลดลง 0.2% เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน ขณะที่จำนวนรายการซื้อขายที่ดินทั้งประเทศก็ลดลงอยู่ที่ 64,586 รายการ หรือเมื่อเทียบกับเดือนก่อนกลับลดลงถึง 10,586 รายการ และลดลง 9.2% เมื่อเทียบระยะเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้ สาเหตุหลักเนื่องผู้บริโภคและผู้ประกอบการยังไม่มีความเชื่อมั่นจากปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองในประเทศ

สำหรับพื้นที่รับอนุญาตก่อสร้างในเขตเทศบาลในเดือนกรกฎาคมมีอยู่ 1,269 พัน ตร.ม. หรือลดลง 144 ตร.ม. เทียบกับเดือนที่แล้ว และลดลง 20.8% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และมีที่อยู่อาศัยสร้างเสร็จจดทะเบียนเพิ่มในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑลอยู่ 4,891 หน่วย เทียบกับเดือนที่แล้วลดลงถึง 3,378 หน่วย ซึ่งเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อนกลับลดลง 13.4% ถือเป็นเดือนแรกที่ลดลงนับจากเดือนกุมภาพันธ์ 2549 ที่ผ่านมา

ทั้งนี้ ที่อยู่อาศัยสร้างเสร็จและจดทะเบียนเพิ่มในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลประเภทบ้านจัดสรรปรับตัวลดลงค่อนข้างมาก โดยมีจำนวนเพียง 1,451 หน่วย เทียบกับจำนวนเฉลี่ย 2,995 หน่วยต่อเดือนในปีก่อน ขณะเดียวกันแฟลตหรืออาคารชุดและบ้านสร้างเองก็ลดลงเช่นกัน ทำให้รูปแบบความต้องการที่อยู่อาศัยต้องปรับตัวตามสภาพแวดล้อมที่อัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับสูงและอำนาจซื้อที่ลดลง แม้ว่าในเดือนนี้ภาวะเงินเฟ้อจะเริ่มชะลอลงและอัตราดอกเบี้ยเริ่มทรงตัวแล้วก็ตาม

ด้านผู้ประกอบการได้ตอบสนองความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไปด้วย โดยหันมาเน้นการพัฒนาที่อยู่อาศัยประเภทอาคารชุดตามแนวรถไฟฟ้าทั้งที่มีอยู่เดิมและที่กำลังขยายเส้นทางจากสถานีตากสินถึงเพชรเกษม เพื่อตอบสนองความต้องการของกลุ่มลูกค้าระดับกลางและระดับล่างที่ต้องการความสะดวกในการเดินทาง นอกจากนี้ ใบอนุญาตจัดสรรที่ดินในเขตกรุงเทพฯ ในเดือนนี้เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อน 18.8% ส่วนใหญ่เป็นการจัดสรรประเภททาวน์เฮ้าส์

ส่วนยอดการจำหน่ายปูนซีเมนต์ค่อนข้างทรงตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยในเดือนกรกฎาคม 2549 มีปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ 2,269 พันตัน ลดลงจากเดือนก่อน 112 พันตัน แต่เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อนกลับเพิ่มขึ้น 0.9% เป็นสัญญาณที่ดีว่าเครื่องชี้การลงทุนในหมวดการก่อสร้างเริ่มปรับตัวดีขึ้น

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในช่วงเดือนกันยายนที่ผ่านมาได้เกิดเหตุการณ์ปฏิรูปการปกครอง อาจทำให้ประชาชนและผู้ประกอบการเริ่มมีความเชื่อมั่นมากขึ้นในการประกอบธุรกิจด้านต่างๆ มากขึ้น ซึ่งรวมไปถึงการลงทุนในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ด้วย และหากการเมืองมีความชัดเจนมากขึ้น อาจทำให้โครงการขนาดใหญ่ของภาครัฐ(เมกะโปรเจกต์) มีส่วนได้เป็นตัวกระตุ้นให้ผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์มีแรงจูงใจให้ลงทุนมากขึ้น เช่นเดียวกับภาคประชาชนก็หันมาใช้จ่ายมากขึ้น หลังจากก่อนหน้านี้ต้องระมัดระวังในการใช้จ่าย นอกจากนี้ในส่วนของราคาน้ำมันและอัตราดอกเบี้ยก็เริ่มทรงตัวและมีแนวโน้มอาจลดลงได้ในอนาคต ถือเป็นสัญญาณที่ดีในการลงทุนที่ดี   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us