|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
สำนักวิจัยไทยธนาคารประเมินแนวโน้มเศรษฐกิจปี 50 ขยายตัว 3.1-4.1% ชะลอตัวจากปี 49 เล็กน้อย โดยภาคการส่งออกจะยังคงเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญ แม้เศรษฐกิจสหรัฐฯจะชะลอตัว ขณะที่อัตราเงินเฟ้อ-ดอกเบี้ยจะลดลงตามราคาน้ำมัน ทำให้เศรษฐกิจมีเสถียรภาพที่ดีขึ้น
สำนักวิจัย ธนาคารไทยธนาคารประเมินทิศทางเศรษฐกิจในปี 2550 จากเศรษฐกิจโลกที่ยังมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่องในระดับที่ใกล้เคียงกับปี 2549 เพราะปัจจัยแวดล้อมทางเศรษฐกิจที่เอื้ออำนวยมากขึ้น โดยเฉพาะราคาน้ำมันในตลาดโลกโดยเฉลี่ยจะอยู่ในระดับต่ำกว่าปี 2549 ขณะที่อัตราดอกเบี้ยมีแนวโน้มทรงตัวถึงปรับลดลง เนื่องจากการปรับลดลงของอัตราเงินเฟ้อ ประกอบกับระดับการเปิดเสรีทางการค้าระหว่างกันที่มีมากขึ้น เช่นการจัดทำ FTA ของประเทศต่างๆช่วยเพิ่มปริมาณการค้าของโลกให้ขยายตัวสูงต่อเนื่อง จะเป็นปัจจัยผลักดันเศรษฐกิจโลกในปี 2550 แม้ว่าเศรษฐกิจสหรัฐมีแนวโน้มชะลอตัวลงชัดเจน ส่วนเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาในเอเชียยังเป็นกลุ่มประเทศที่มีการเติบโตทางเศรษฐกิจสูงสุด โดยเฉพาะเศรษฐกิจจีนและอินเดียที่ยังเติบโตสูงต่อเนื่อง
นายอนุสรณ์ ธรรมใจ ที่ปรึกษาสำนักวิจัย ธนาคารไทยธนาคาร และ กรรมการผู้จัดการ บลจ.บีที จำกัด ประเมินว่า เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มชะลอตัวลงจากปี 2549 เล็กน้อย โดยคาดว่าจะขยายตัวประมาณ 3.1–4.1% ซึ่งเป็นอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่น่าพอใจ เพราะแม้ว่ามีเหตุการณ์รัฐประหารโดยไม่มีความรุนแรงในช่วงที่ผ่านมา แต่ก็จะมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศเพียงระยะสั้น ระยะกลาง ในขณะที่การเมืองมีเสถียรภาพมากขึ้น และงบประมาณรายจ่ายปี 2550 ที่จะมีการเบิกจ่ายงบประมาณได้เร็วกว่าเดิม ประกอบกับปัจจัยแวดล้อมที่เอื้ออำนวยมากขึ้น โดยเฉพาะราคาน้ำมันในประเทศที่จะต่ำกว่าราคาน้ำมันเฉลี่ยในปี 2549 รวมทั้งอัตราดอกเบี้ยมีแนวโน้มทรงตัวถึงปรับลดลง ช่วยสร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้บริโภคและนักลงทุนในประเทศระดับหนึ่ง
อย่างไรก็ตาม การรัฐประหารอาจทำให้การลงทุนของต่างชาติบางส่วนชะลอตัวออกไปก่อนจนกว่าจะได้รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง รวมทั้งมีการตัดงบประมาณความช่วยเหลือทางการทหาร และภาคส่งออกอาจจะเผชิญกับการกีดกันทางการค้ามากขึ้น มีความเป็นไปได้ที่เศรษฐกิจไทยจะเติบโตในระดับต่ำกว่า 4%
อย่างไรก็ตาม การส่งออกจะยังเป็นแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยที่สำคัญ เนื่องจากแนวโน้มการส่งออกที่ยังขยายตัวในระดับที่น่าพอใจ ประกอบกับการท่องเที่ยวฟื้นตัวชัดเจน ในขณะที่การบริโภคภาคเอกชนจะขยายตัวประมาณ 2.8–3.8% ใกล้เคียงกับปี 2549 โดยได้แรงหนุนจากราคาขายปลีกน้ำมันเฉลี่ยที่จะต่ำกว่าปี 2549 และอัตราดอกเบี้ยมีแนวโน้มทรงตัวถึงปรับลดลง ทำให้อัตราค่าครองชีพชะลอตัวลง
ด้านเสถียรภาพทางเศรษฐกิจโดยรวมของไทยในปี 2550 ปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องทั้งเสถียรภาพในประเทศและภายนอกประเทศ โดยที่อัตราเงินเฟ้อปรับลดลงตั้งแต่ปลายปี 2549 เนื่องจากราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศที่ปรับลดลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เดือนสิงหาคม และคาดว่าอัตราเงินเฟ้อจะอยู่ที่ระดับ 3.0–4.0% ในขณะที่ดุลการค้าจะเกินดุลเป็นปีแรกหลังจากที่ขาดดุลการค้าติดต่อกัน 2 ปีคือในปี 2548 และ 2549 โดยการเกินดุลการค้าดังกล่าว ประกอบกับการฟื้นตัวของการท่องเที่ยว อย่างไรก็ตาม ประเด็นปัญหาความขัดแย้งในภูมิภาคต่างๆที่อาจเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา และจะมีผลกระทบทำให้ราคาน้ำมันอาจปรับตัวสูงขึ้นอย่างรวดเร็วได้อีก เป็นประเด็นที่ผู้บริหารด้านเศรษฐกิจจะต้องเฝ้าติดตามอย่างใกล้ชิด และส่งสัญญาณเพื่อลดผลกระทบที่มีต่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของประเทศ
นายประธาน จิวจินดา หัวหน้าวิจัยเศรษฐกิจมหภาคและตลาดเงิน สำนักวิจัย ธนาคารไทยธนาคาร คาดว่า อัตราดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์จะทรงตัวในระดับที่ใกล้เคียงกับปี 2549 เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อที่ปรับลดลง ทำให้อัตราดอกเบี้ยนโยบายหรืออัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตร (อาร์/พี) ระยะ 14 วันของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) มีแนวโน้มทรงตัวถึงปรับลดลงในช่วงตั้งแต่ไตรมาส 1-2 ของปี 2550 ในขณะที่สภาพคล่องในระบบยังมีแนวโน้มทรงตัวในระดับสูง
|
|
|
|
|