Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน2 ตุลาคม 2549
บังคับคดีโยกอสังหาฯ4หมื่นล้านพักนอกบัญชีเป้าขายทรัพย์ปี'50-เหตุระบายยาก             
 


   
www resources

โฮมเพจ กรมบังคับคดี

   
search resources

กรมบังคับคดี
Real Estate




กรมบังคับคดีปรับสูตรการขายทรัพย์ปีงบประมาณ 50 เสนอกระทรวงขอตัดทรัพย์ที่ขายยากกว่า 40,000 ล้านบาท มาพักไว้ต่างหากกับเป้าการขายทรัพย์ที่วางไว้ 1.9 แสนล้านบาท ส่งผลตัวเลขที่ต้องผลักดันทรัพย์ประมาณ 1.4-1.5 แสนล้านบาท ซึ่งอยู่ในวิสัยที่กระทำได้ ระบุปีงบประมาณ 49 คาดทำได้ตามเป้า 1.8 แสนล้านบาท เดินหน้าสื่อมวลชนสัญจร ครั้งที่ 4 จ.ภูเก็ต เพื่อส่งเสริมทรัพย์เด่นให้แก่นักลงทุน

นายสิรวัต จันทรัฐ อธิบดีกรมบังคับคดี เปิดเผยถึงแนวทางการผลักดันทรัพย์สินของกรมฯว่า ขณะนี้ทางกรมฯพยายามดำเนินการผลักดันทรัพย์สินอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ได้ตามเป้าหมายที่วางไว้ตลอดทั้งปีงบประมาณ 2549 (ต.ค.48- ก.ย.49) ที่ 1.8 แสนล้านบาท(เป้าดังกล่าวรวมถึงการจำหน่ายสิทธิเรียกร้องลูกหนี้ของสถาบันการเงิน ที่มีกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินเป็นเจ้าหนี้รายใหญ่ ) โดยคาดว่าจะสามารถดำเนินการได้ตามที่วางนโยบายไว้ ซึ่งในช่วง 10 เดือนแรกของปีงบประมาณ 49 มีการผลักดันทรัพย์สินออกไป 1.6 แสนล้านบาท แต่ที่สามารถขายได้ในช่วงระยะ 10 เดือนจำนวน 40,705 คดี ราคาประเมิน 63,384.18 ล้านบาท ราคาที่ขายได้ 48,386.69 ล้านบาท (พิจารณาตารางประกอบ)

ส่วนที่ไม่สามารถขายได้ ก็จะคงค้างมายังปีงบประมาณ 2550 (ต.ค.49-ก.ย.50) ขณะเดียวกันในแต่ละเดือนจะมีคดีเกิดขึ้นเข้าสู่กรมบังคับคดี แต่ในช่วง1-2 ปีที่ผ่านมา ตัวเลขไหลเข้ามามีปริมาณไม่มากเท่ากับกับในช่วงปี 2547 ถอยไป เนื่องจากในตอนนั้นธนาคารพาณิชย์ต่างเร่งดำเนินการคดีกับลูกหนี้ ประกอบกับนโยบายของกระทรวงการคลัง ได้กำชับให้เร่งจำหน่ายคดีออกไป ส่งผลให้การผลักดันทรัพย์มีตัวเลขค่อนข้างสูง เช่น ตามรายงานสถิติการผลักดันทรัพย์ประจำปีงบประมาณ 2548 (ต.ค.47-ก.ย.48) ผลักดันทรัพย์ได้ 95,699 คดี ราคาประเมิน 205,262.2 ล้านบาท

"เราต้องเร่งรัดขายทรัพย์สินออกไป เพื่อให้ทรัพย์เหล่านั้นมีการหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจให้มากที่สุด ขณะเดียวกันยังช่วยลดความสูญเสียให้แก่เจ้าหนี้ แต่ก็มีทรัพย์บางรายการที่ประมูลเกินกว่า 6 ครั้งแล้ว ก็ยังไม่สามารถผลักดันออกไปได้ ทางกรมบังคับคดีคงต้องหาวิธีที่จะลดปริมาณทรัพย์ประเภทดังกล่าว ซึ่งเมื่อรวมทรัพย์สินที่ขายลำบากสะสมกันแล้วมีไม่ต่ำกว่า 40,000 ล้านบาท ส่วนนี้คงต้องทำเรื่องให้แก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมกับบริษัท ทริสเรตติ้ง จำกัด ที่จะเข้ามาประเมินผลงานของกรมฯให้เข้าใจ"นายสิรวัตกล่าว

โดยตามแผนของการผลักดันทรัพย์ในปีงบประมาณ 50 ได้ตั้งเป้าหมายไว้ที่ 196,000 ล้านบาท แต่เนื่องจากในส่วนนี้มิได้ตัดทรัพย์สินที่ขายลำบากออกไป ดังนั้นทางกรมฯจะเสนอเป้าหมายการผลักดันทรัพย์สินใหม่อยู่ที่ 140,000-150,000 ล้านบาท แทน แต่ทั้งนี้ คงต้องรอให้มีการอนุมัติก่อน คาดว่าจะใช้เวลาไม่นาน

ก่อนหน้านี้ ทางกรมฯได้จัดรายการสื่อมวลชนสัญจร 3 ครั้ง เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของแผนการประชาสัมพันธ์ทรัพย์ที่เด่นให้แก่ผู้ที่สนใจได้รับทราบ และในครั้งสุดท้ายจะเป็นการสัญจรไปยังจังหวัดภูเก็ต ซึ่งเป็นจังหวัดที่มีศักยภาพและเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของเมืองไทย โดยมีการลงทุนจากภาคเอกชนไทยทั้งจากส่วนกลางและท้องถิ่น รวมถึงนักลงทุนจากต่างประเทศ เข้ามาลงทุนอย่างต่อเนื่อง

สำหรับความคืบหน้าของการแก้กฎกระทรวง เพื่อให้เอกชนสามารถขายทรัพย์ที่กรมบังคับคดีได้ ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการพิจารณาของกฤษฎีกา ซึ่งได้เรียกกรมบังคับคดีเข้าชี้แจงรายละเอียดของร่างดังกล่าวในวันที่31 สิงหาคมนี้ หลังจากนั้นจะเข้าสู่ขั้นตอนการพิจารณาและสามารถประกาศใช้เป็นกฎกระทรวงได้ แต่ยังไม่สามารถระบุได้ว่าจะแล้วเสร็จและประกาศใช้ได้เมื่อใด ทั้งนี้ หากกฎกระทรวงดังกล่าวประกาศใช้ก็เชื่อว่าจะทำให้กรมบังคับคดีสามารถระบายทรัพย์ออกไปได้มากกว่าที่เป็นอยู่

อนึ่ง ในช่วงที่ผ่านมา มีกระแสข่าวจากธนาคารพาณิชย์ในฐานะเจ้าหนี้ ยื่นเรื่องต่อสมาคมธนาคารไทย เพื่อให้ประสานกับกรมบังคับคดี เกี่ยวกับชำระหนี้จากการขายทรัพย์สินได้ ซึ่งทางธนาคารมองว่าเป็นความสูญแก่ธนาคาร ขณะที่ทางกรมฯต้องใช้เวลาในการพิจารณาความถูกต้องของการชำระคืน และความชัดเจนจากฝ่ายบัญชี อย่างไรก็ตาม อธิบดีฯได้มีการกำชับให้แต่ละภาคเร่งรัดกระบวนการชำระคืนรายได้จาการจำหน่ายทรัพย์สินให้แก่เจ้าหนี้โดยเร็ว ก่อนหน้านี้ ทางอธิบดีกรมบังคับคดีฯระบุว่า ทางกรมฯมีเงินที่ได้จากการจำหน่ายทรัพย์ รายได้จากค่าธรรมเนียมการเบิกถอนคดีและอื่นๆ รวมเป็นเงินหลายหมื่นล้านบาท ที่วางไว้กับธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us