หลังจากเก้าอี้สุงสุดของชินวัตร และห่างหายจากวงการเกือบ 8ปีในที่สุดเชิดศักดิ์
กู้เกียรตินันท์ ก็หวลกลับสู่วงการ
เชิดศักดิ์ เป็นอดีตผู้บริหารคนสำคัญของกลุ่มชินวัตร คอมพิวเตอร์ แอนด์
คอมมิวนิเคชั่น จำกัด ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น ชินคอร์ปอเรชั่น จำกัด และนับได้ว่าเขาเป็นผู้มีส่วนร่วมในการสร้างการเติบโตของกลุ่มชินวัตรในช่วงเริ่มแรก
เชิดศักดิ์เริ่มงานครั้งแรก ที่การรถไฟแห่งประเทศไทย จากนั้น มาร่วมงานกับกลุ่มชินคอร์ปในปี
2526 ทำได้ 3 ปี ก็ลาออกไปทำงานในบริษัทข้ามชาติอย่างบริษัทเอที แอนด์ที
และฮาน่า อินดัสตรีส์ จำกัด จากนั้น ดร.ทักษิณ ก็ชักชวนกลับมาร่วมงานในชินวัตรอีกครั้งในปี
2534 เพราะเป็นช่วงเวลา ที่ชินวัตรกำลังขยายกิจการด้านสือสารทั้งงานประมูล
และโครงการสัมปทาน โครงการดาวเทียมไทยคม สัมปทานโทรศัพท์มือถือ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเข้าตลาดหุ้นของกลุ่มชินวัตร
ปี 2536 เขาได้รับโปรโมทให้เป็นกรรมการผู้อำนวยการ ถือว่าเป็นตำแหน่งสูงสุดของชินคอร์ป
และลาออกในปีเดียวกัน
โครงการที่เชิดศักดิ์เป็นผู้ผลักดัน และสร้างปัญหาให้กับเขาในเวลาต่อมา
ก็คือ สัมปทานสมุดหน้าเหลือง ที่เอทีแอนด์ทีโอนให้กลุ่มชินวัตรดำเนินการ และสามารพลิกฟื้นจากธุรกิจ ที่เคยขาดทุนมามีกำไร
แต่ปรากฎว่าหลังจากสัมปทานหมดอายุลง ชาติชาย เย็นบำรุงผู้บริหาร บริษัทชินวัตรไดเรคเทอรีส์
ซึ่งเป็นลูกน้องเก่าของเชิดศักดิ์ ตั้งแต่สมัยทำงานอยู่เอทีแอนด์ที กลับลาออกไปจัดตั้งบริษัททีพีพี
เพื่อประมูลโทรศัพท์หน้าเหลืองแข่งกับกลุ่มชินวัตร และยังเสนอราคาสูงสุดสร้างความไม่พอใจให้กับดร.ทักษิณ
เป็นอย่างมาก จนกระทั่งต้องล้มประมูล และต่อมาชินวัตรก็คว้าสัมปมทานไปในที่สุด
หลังจากออกจากชินวัตรเชิดศักดิ์ ไม่ได้ไปเป็นมืออาชีพในบริษัทสื่อสารโทรคมนาคม ที่ไหน
แต่ผันตัวเองมาทำธุรกิจรับพัฒนา ที่ดิน และเป็นที่ปรึกษาธุรกิจ โดยรับจ้างเข้าไปฟื้นฟูกิจการที่ประสบปัญหาจากนั้น ก็จะนำบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหุ้น
ในช่วงตลาดหุ้นบูมมากๆ มีหลายกิจการเคยใช้บริการของเขา แต่แล้วก็ได้มีชื่อเข้าไปพัวพันกับกลุ่มของราเกซ
สักเสนา ที่ถูกคดีปั่นหุ้น
เขาก็เงียบหายไปจากวงการอีกครั้ง โดยหันไปทำธุรกิจเป็นตัวแทนวิ่งงานประมูลติดตั้งระบบสื่อสารให้กับหน่วยงานของภาครัฐ
อย่างองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย(ทศท.) และการสื่อสารแห่งประเทศไทย หลายคนเรียกเขาว่า
ล๊อบบี้ยิสต์
ล่าสุดก่อนจะมาร่วมงานกับเอชพี เชิดศักดิ์ลงขันถือหุ้นในบริษัทอินเทลลิเจ้นท์
เทเลคอม (ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น โกลบอล ครอสซิ่ง ซิสเต็มส์ ร่วมกับภูษณ
ปรีย์มาโนช อดีตผู้บริหารของแทค และพนักงานเก่าของยูคอม เพื่อทำธุรกิจให้บริการเครือข่ายความเร็วสูง
ซึ่งภูษณไปซื้อกิจการต่อมาจากตะวันเทเลคอม ซึ่งได้รับสัมปทานมาจากการสื่อสารแห่งประเทศไทย
(กสท.)
นอกจากนี้เขายังมีหุ้นในบริษัท วินสตาร์ คอมมิวนิเคชั่น และบริษัทเซเว่น
เทล (ประเทศไทย) ทำกิจการด้านสื่อสาร และโทรคมนคม
หลายคนเชื่อว่า การหวลคืนสู่การเป็นมืออาชีพด้านไอที เพื่อต้องการล้างภาพของล๊อบบี้ยิสต์
และเตรียมตัวสำหรับการแข่งขันในอนาคต แต่คำตอบของเชิดศักดิ์ในเรื่องนี้อยู่ ที่
อี-บิสซิเนส ซึ่งเอชพีเป็นธุรกิจ ที่ให้ความสำคัญกับธุรกิจด้านนี้มาตลอด
ก่อนหน้านี้เขาทำงานสอนหนังสือ เป็นผู้อำนวยการสาขาการจัดการสำหรับผู้ประกอบการ
โครงการวิทยาลัยการจัดการมหาวิทยาลัยมหิดล เป็นช่วงเวลาของการเตรียมตัวกลับเข้าสู่วงการไอที
"2 ปีในในการที่สอนหนังสือ เป็นช่วง ที่ผมเตรียมตัว ที่จะกลับมาในวงการนี้อีกครั้ง
ช่วงนั้น ผมสอนหนังสือวิชากลยุทธการแข่งขัน และการแข่งขันในธุรกิจใหม่บน อี-บิสซิเนส
ที่จะมีความสำคัญมากในอนาคต และเป็นเรื่อง ที่ทุกธุรกิจต้องไป"
จากผู้รับการคัดเลือก 7 คน และหนึ่งในนั้น ก็มีคนของเอชพีเองด้วย ใช้เวลา
3 เดือน ในการสัมภาษณ์ 6 รอบ ในที่สุดเชิดศักดิ์ ได้รับเลือกให้เป็น กรรมการผู้จัดการที่เป็นคนไทยคนแรกของบริษัทฮิวเลตต์
แพคการ์ดแล้ว เขายังเป็นกรรมการผู้จัดการ คนเกือบท้ายสุด ที่เป็นคนท้องถิ่น
เชิดศักดิ์ เชื่อว่า ข้อได้เปรียบของเขาอยู่ ที่ ประสบการณ์ในธุรกิจไอที
และผู้บริหาร ที่ดูแลบริษัทคู่ค้าของเอชพี ล้วนแต่เป็น เพื่อนรุ่นเดียวกัน
ซึ่งจัดเป็นผู้บริหารยุคที่ 2 ของธุรกิจไอที ทำให้การพูดคุย และทำตลาดร่วมได้ง่ายขึ้น
และเป้าหมายของเอพี จะให้ความสำคัญกับพันธมิตรมากขึ้น เหมือนกับในหลายๆองค์กรไอทีวีเวลานี้
จุดลงตัวสำหรับเชิดศักดิ์ยังอยู่ ที่นโยบายใหม่ของเอชพี ประเทศไทย ที่ต้องการสร้างการเติบโตในภูมิภาคนี้
และการเอาจริงเอาจังนี้ ทำให้บทบาทของ่กรรมการผู้จัดการจะมีบทบาทมากขึ้นไม่ใช่แค่การเป็นพ่อบ้าน
ส่วนร่วมในการกำหนดดนโยบายทิศทาง และในการทำตลาดของเอชพี ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างใหม่
จากเดิมผู้บริหาร ที่รับผิดชอบสินค้าแต่ละรายจะขึ้นตรงกับบริษัทแม่ แต่จากนี้จะต้องขึ้นตรงกับกรรมการผู้จัดการในไทย
"ถ้าเป็นงานพ่อบ้าน และไม่มีความท้าทายแล้ว ผมก็ไม่ทำ แต่งาน ที่เอชพีมีความซับซ้อนกว่ามาก"
คำกล่าวของเชิดศักดิ์
ที่มาของการเปลี่ยนแปลงนโยบาย มาจากการเปลี่ยนประธานกรรมการบริหารคนเดิมเป็น
คาร์ลี ฟีออรีน่า ลูกหม้อเก่าเอทีแอนด์ที เธอเป็นประธานฝ่ายธุรกิจผู้ให้บริการของลูเซ่น
ในช่วง ที่ถูกแยกกิจการออกจากเอทีแอนด์ที และประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี การได้คาร์ลี
ฟีออรีน่ามาเป็นผู้บริหารระดับสูง สร้างความเชื่อว่า จะสามารถปรับทิศทางการตลาดให้มีความชัดเจน
และเหมาะสมสำหรับการแข่งขันของเอชพีนับจากนี้เป็นต้นไป
ในด้านของเอชพีเอง ถึงแม้ว่า เอชพีจะมีความพร้อมในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของเทคโนโลยี
ที่เอชพีสามารถพัฒนาตัวเอง จากผู้ผลิตฮาร์ดแวร์ไปสู่ การมีอี-เซอร์วิส เป็นตัวนำหน้า
และระบบอุปกรณ์เทคโนโลยีด้านข้อมูล และโครงสร้างพื้นฐานบนอินเทอร์เน็ต แต่สิ่งที่ขาดไม่ได้ก็คือ
สายสัมพันธ์ของธุรกิจ ทั้งในการหาพันธมิตร และการเข้าถึงลูกค้า และเป็นสิ่งที่เอชพียังขาดในส่วนนี้
เพราะ ที่ผ่านมาเอชพี ประสบการณ์ และสายสัมพันธ์ของเชิดศักดิ์ บวกกับความรู้ของเขาในด้านการเงิน
และไอที คือ สิ่งที่เอชพีเชื่อว่าจะเติมเต็มสิ่งเหล่านี้
ผลประกอบการที่ผ่านมาของเอชพี มียอดขายกว่า 25,000 ล้านบาท จาก 3 ธุรกิจ
การจัดจำหน่ายสินค้า และบริการ 5 พันล้านบาท การส่งออกสินค้า ที่ผลิตจากไทย
ที่เป็นพรินเตอร์บางรุ่นมูลค่า 10,000 ล้านบาท และการส่งออกอะไหล่อีก 10,000
ล้านบาท
เป้าหมายต่อไป ก็คือ การปรับเปลี่ยนผลิตภัณฑ์ให้สนับสนุนโครงสร้างพื้นฐานของอินเทอร์เน็ตมากขึ้น
นอกเหนือจากการมีผลิตภัณฑ์ 4 ประเภท คือ เครื่องเซิฟเวอร์ขนาดใหญ่ระบบยูนิกส์
และเอ็นที พีซี พรินเตอร์ โดยจะเพิ่ม 2 ธุรกิจ คือ งานบริการ และงาน ที่ปรึกษาธุรกิจ
ซึ่งเวลานี้เอชพีกำลังเจรจาซื้อธุรกิจที่ปรึกษาจากไพรซ์ วอเตอร์เฮาส์ คูเปอร์ส
"การทำงานในเอชพีไม่มีเทอม อยู่ ที่ผลงาน จะเป็นตัวชี้วัดผมจะอยู่ในเอชพีนานแค่ไหน"
เชิดศักดิ์ บอก