|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
กรณีปมปัญหาของอาณาจักรแสนล้าน อุตสาหกรรมปิโตรเคมีกัลไทย หรือ ทีพีไอ ซึ่งพลิกผันจากธุรกิจเอกชนเข้าสู่องค์กรของรัฐ “กระทรวงการคลัง” ภายใต้คำถามต่างๆ มากมายถึงความชอบธรรม โดยเฉพาะการเย้ยคำสั่งศาล และกฎหมายบริษัทมหาชนชิงจัดประชุมผู้ถือหุ้นยึดอำนาจจากผู้ถือหุ้นเดิม เมื่อระบอบทักษิณถูกโค่นลงน่าสนใจติดตามเป็นอย่างยิ่งว่า ทีพีไอจะได้รับการจัดการอย่างไร
บอร์ดทีพีไอนัดแรกเย้ยอำนาจศาล-โมฆะ
พลันที่ศาลล้มละลายกลางได้มีคำสั่งให้ทีพีไอออกจากกระบวนการฟื้นฟูกิจการ เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2549 และในช่วงเวลาแค่ชั่วข้ามคืนคณะผู้บริหารแผนฟื้นฟูกิจการทีพีไอ ที่มีนายทหารพาณิชย์อย่าง “พล.อ.มงคล อัมพรพิสิฏฐ์” รีบจัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นทีพีไอทันทีในวันถัดมาหรือในช่วงเช้าของวันที่ 27 เมษายน 2549 ที่ห้องประชุมกองทัพอากาศดอนเมือง ซึ่งนายทหารพาณิชย์คนนี้ได้สร้างประวัติศาสตร์หน้าใหม่ให้กับบริษัทมหาชนจำกัดอย่างท้าทายกฎหมายบ้านเมือง
ไล่ตั้งแต่การจัดประชุมผู้ถือหุ้นบริษัทมหาชนในกองทัพอากาศหรือในเขตทหารเป็นครั้งแรก โดยมีกำลังตำรวจนับ 100 นาย พร้อมรถยนต์สำหรับกักขังผู้ต้องหาจอดเรียงรายอยู่หน้าห้องประชุมกองทัพอากาศ ที่มี พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส จเรตำรวจแห่งชาติและกรรมการบริหารของบอร์ดทีพีไอเป็นผู้นั่งบัญชาการ
เป็นที่น่าสังเกตว่า พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส นายตำรวจน้ำดีของวงการตำรวจไทย และเจ้าของฉายา “วีระบุรุษนาแก” มีเหตุผลอะไรที่ต้องตัดสินใจเข้ามาร่วมเป็นกรรมการกับขบวนการปล้นกลางแดดทีพีไอ จึงมีคำถามว่า มีผลประโยชน์ล่อใจหรือไม่จึงกล้าท้ายทายต่อการกระทำผิดตามกฎหมายตำรวจ ที่ห้ามข้าราชการทำตรวจนั่งบริหารในกิจการของเอกชน!
แต่สิ่งสำคัญที่สุดที่เกิดขึ้นในวันประชุมผู้ถือหุ้นทีพีไอในวันนั้น เห็นจะเป็นการจัดการประชุมที่เย้ยฟ้าท้าดิน “กฎหมายบ้านเมืองและอำนาจศาลจังหวัดนนทบุรี” โดยข้อเท็จจริงการจัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปีของทีพีไอครั้งที่ 1/2549 ที่ห้องประชุมกองทัพอากาศ ดอนเมือง ในวันที่ 27 เมษายน 2549 เวลา 9.00 น.นั้น หากยึดหลักความถูกต้องของบทบัญญัติของกฎหมายบ้านเมือง ถือว่า “ผู้ถือหุ้นเดิมทีพีไอ” หรือเจ้าของผู้ก่อตั้งอาณาจักรทีพีไอชุดเดิมอย่าง “ประชัย เลี่ยวไพรัตน์” ยังคงมีหน้าที่เป็นประธานกรรมการในที่ประชุมผู้ถือหุ้นอย่างแท้จริง
เนื่องจากหลังจากที่ศาลล้มละลายกลาง ได้มีคำสั่งยกเลิกการฟื้นฟูกิจการของทีพีไอ เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2549 ย่อมส่งผลให้อำนาจจัดการกิจการและทรัพย์สินของทีพีไอกลับคืนมาเป็นของผู้บริหารของลูกหนี้เดิม (กลุ่มนายประชัย) หรือต้องคืนอำนาจให้กรรมการของทีพีไอทันที ซึ่งถือว่าผู้ถือหุ้นเดิมของบริษัทกลับมามีสิทธิตามกฎหมาย แต่ข้อเท็จจริงคณะผู้บริหารแผนฟื้นฟูกิจการทีพีไอกลับตัดชิงอำนาจไปอย่างหน้าด้าน โดยไม่ยอมส่งมอบทรัพย์สิน ดวงตรา สมุดบัญชีและเอกสารเกี่ยวกับทรัพย์สินของทีพีไอคืนให้กับกรรมการของบริษัททีพีไอชุดเดิมหรือกลุ่มนายประชัย โดยผู้บริหารแผนฯ ชุดนายทหารพาณิชย์เป็นประธานกลับตะแบงว่า การจัดประชุมผู้ถือหุ้นทีพีไอในครั้งนั้น เป็นการดำเนินการตามข้อบังคับของบริษัทหมวดเฉพาะกาลที่ผู้บริหารแผนได้ทำการแก้ไขเพิ่มเติมใหม่แล้ว
แต่ข้อเท็จจริงในเรื่องนี้ได้ปรากฏชัดแล้วว่า เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2549 ศาลอาญากรุงเทพใต้ได้ประทับรับฟ้องกรณีที่บริษัท น้ำมันทีพีไอ จำกัด (ทีพีไอออยล์) นายประชัย เลี่ยวไพรัตน์ และนายประทีป เลี่ยวไพรัตน์ ในฐานะโจทก์ได้ยื่นฟ้องผู้บริหารระดับสูงของทีพีไอและทีพีไอออยล์ ประกอบด้วย นายวชิรพันธ์ พรหมประเสริฐ นางไตรทิพย์ ศิวะกฤษณ์กุล และนายเฉลิมชัย สมบูรณ์ประกรณ์ ในฐานะจำเลย ในข้อกล่าวหา “ยักยอกทรัพย์สินทีพีไอ” ซึ่งจำเลยทั้งสามดังกล่าวไม่ยอมคืนทรัพย์สินของทีพีไอ ทั้งบัญชีทรัพย์สิน ดวงตราประทับและทรัพย์สินอื่น ๆ และในที่สุดศาลอาญากรุงเทพใต้ชี้ชัด “คดีมีมูลความผิดและเป็นคดีอาญาและออกหมายเรียกให้ผู้ถูกกล่าวหาทั้ง 3 ราย มาแก้ข้อกล่าวหาในวันที่ 13 พฤศจิกายน 2549 นี้” โปรดติดตามผลของคดีชนิดอย่ากระพริบตา!
อย่างไรก็ตามหากพิจารณาตามข้อเท็จจริง ผู้บริหารแผนฯ จะต้องดำเนินการให้เป็นไปตามบทบัญญัติของพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ.2535 และที่สำคัญกว่านี้เมื่อศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งยกเลิกการฟื้นฟูกิจการทีพีไอแล้ว ผู้บริหารแผนฯ ต้องหมดหน้าที่ไปโดยปริยายและคณะกรรมการบริษัททีพีไอชุดของกลุ่มผู้ถือหุ้นเดิม (กลุ่มนายประชัย) จะต้องมารับไม้ต่อในการบริหารกิจการของทีพีไอแทนทันที
ดังนั้นการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นของทีพีไอนัดแรกในวันที่ 27 เมษายน 2549 จึงส่อแวว “โมฆะ” ซ้ำร้ายยังไม่สามารถจัดการประชุมได้เพราะวันเดียวกันนั้นทนายความผู้ได้รับมอบอำนาจจากนายประชัย เลี่ยวไพรัตน์ และกลุ่มผู้ถือหุ้นทีพีไอเดิม ได้ส่งมอบหมายศาลจังหวัดนนทบุรี ในคดีหมายเลขดำที่ ส543/2549 ลงวันที่ 26 เมษายน 2549 โดยในหมายศาลฯ ระบุชัดเจนว่า “ในคดีความแพ่งระหว่างนางอรพิน เลี่ยวไพรัตน์ ในฐานะโจทก์และกระทรวงการคลังกับพวก 2 คน ในฐานะจำเลย โดยโจทก์ (นางอรพิน) ได้ยื่นคำฟ้องขอให้ศาลจังหวัดนนทบุรี มีคำสั่งห้ามจำเลยที่ 1 คือกระทรวงการคลังกับพวก 2 คน ดำเนินจัดการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปีของทีพีไอ ครั้งที่1/2549 ที่ห้องประชุมกองทัพอากาศไว้ชั่วคราว จนกว่าศาลจังหวัดนนทบุรีจะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น
ซึ่งศาลจังหวัดนนทบุรีมีคำสั่งอนุญาตตามคำขอคือ “ห้ามกระทรวงการคลังและพวกรวม 2 คนดำเนินการประชุมดังกล่าว”
ลิ่วล้อทักษิณโยนทิ้งคำสั่งศาลนนทบุรี
ภายหลังจากที่ “ประชัย” และกลุ่มผู้ถือหุ้นเดิมทีพีไอ ได้แสดงคำสั่งศาลจังหวัดนนทบุรีให้ระงับหรือชะลอการจัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นทีพีไอดังกล่าวออกไปก่อนจนกว่าศาลฯ จะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น โดยได้แสดงคำสั่งของศาลฯ ต่อที่ประชุมและแสดงต่อ พล.ต.อ.เสรีพิศุทธิ์ เตมียาเวส จเรตำรวจแห่งชาติ (ยศในช่วงนั้น) และกรรมการบริการทีพีไอ ซึ่งในเสี้ยววินาทีนั้น พล.ต.อ.เสรีพิศุทธิ์ได้โยนคำสั่งของศาลจังหวัดนนทบุรีทิ้งอย่างไม่ยำเกรงกฎหมายบ้านเมืองและไม่เคารพต่อคำสั่งของศาลฯ ถือว่าเป็นวางกรามท้าทายอำนาจของศาลฯ อย่างร้ายแรง
ถัดจากนี้เหตุการณ์ที่ไม่มีใครคาดคิดก็เกิดขึ้น นายตำรวจใหญ่ได้สั่งให้บรรดาลิ่วล้อตำรวจด้วยกันเองขึ้นไปเวทีที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นทีพีไอในวันนั้น โดยได้เข้าไปหิ้วปีก “ประชัย เลี่ยวไพรัตน์” ในฐานะผู้ก่อตั้งอาณาจักรอุตสาหกรรมปิโตรเคมีแสนล้านอย่างทีพีไอ และในฐานะผู้มีอำนาจอย่างแท้จริงในการเป็นประธานในที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นทีพีไอ ครั้งที่ 1/2549 ซึ่งภาพที่ผู้บริหารระดับสูงของบริษัทมหาชนจำกัดซึ่งกระจายหุ้นซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ต.ล.ท.) ถูกหิ้วปีกและไล่ออกจากห้องประชุมฯในวันนั้น เป็นภาพที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในบรรยากาศของการจัดประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทมหาชนจำกัด
|
|
|
|
|