Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ตุลาคม 2549








 
นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2549
โฟชง (Fauchon)             
โดย สุภาพิมพ์ ธนะพรพันธุ์
 


   
www resources

Fauchon Homepage

   
search resources

Food and Beverage
Fauchon




เหนื่อยที่สุดคือการหาซื้อของฝากญาติมิตรทุกครั้งที่เดินทางกลับมาเยี่ยมบ้าน สาวใกล้ตัวทั้งสองเถาได้กระเป๋าเป็นของฝากจนล้นตู้ ทำให้ไม่ค่อยรู้ค่านักเพราะได้รับจนชินเสียแล้ว ค่าครองชีพที่สูงขึ้นสาเหตุจากราคาน้ำมัน ทำให้การมองหาของฝากยิ่งยากขึ้นไปอีก

ของฝากที่ถูกใจสมาชิกในบ้านมากที่สุดเห็นจะเป็นปลาแซลมอนรมควัน กินได้กินดี หากในครั้งนี้ได้รับการบอกกล่าวว่าหนุ่มใกล้ตัวเถาเล็กซึ่งเดินทางบ่อยซื้อปลาแซลมอนรมควันมาจนล้นตู้เย็น จึงไม่ต้องซื้อ

เนยแข็งก็เป็นของฝากที่ต้องใจ ทว่าเป็นเนยแข็งที่ไม่มีกลิ่นฉุนเฉียวอย่าง Camem-bert, Brie, และ Reblochon หรือเนยแข็งที่เข้ากระเทียมแบบ Gaperon หรือ Boursin ซึ่งเป็นเนยเทียม แต่รสชาติอร่อยถึงใจ อันที่จริง เนยแข็งที่ชอบที่สุดคือ Saint-Nectaire ซึ่งมีขนาดใหญ่ เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 20 เซนติเมตร เปลือกนอกเป็นสีเทาค่อนข้าง แข็ง หากเนื้อเนยแข็งนั้นนุ่มละมุนลิ้น ต้องซื้อ Saint-Nectaire fermier ทั้ง Gaperon และ Saint-Nectaire เป็นเนยแข็งของจังหวัดโอแวร์ญ (Auvergne) คราใดที่ไปเยือนญาติในเมืองแคลร์มงต์-แฟรองด์ (Clermont-Ferrand) จะซื้อติดมือกลับบ้านด้วยเสมอ แต่ เดิมนั้นหาซื้อ Saint-Nectaire ในกรุงปารีสไม่ค่อยได้ และแล้ววันหนึ่งเห็นร้านขายผลิตภัณฑ์จากโอแวร์ญที่สถานีรถไฟ Gare du Nord จึงไม่อดด้วยประการฉะนี้ แม้รสชาติ จะไม่อร่อยเท่าที่ซื้อมาเองจากโอแวร์ญก็ตาม

ชอบไปเดินเล่นที่ Lafayette Gourmet แผนกขายอาหารของห้างสรรพสินค้ากาเลอรีส์ ลาฟาแยต (Galeries Lafayette) เพราะมักมีอาหารจากทุกภูมิภาคของฝรั่งเศส เห็น Saint-Nectaire ที่แผนกเนยแข็ง และมี Gaperon ด้วย พบว่าเนยแข็งทั้งสองชนิดนี้รสนุ่มปากมาก นับแต่นั้นหากขี้เกียจแบกเนยแข็งจากโอแวร์ญ จะแวะเวียนไปซื้อจาก Lafayette Gourmet

ใครมาพักที่บ้าน เป็นต้องชมว่ากาแฟอร่อย ทั้งๆ ที่เป็นกาแฟชงธรรมดาๆ ไม่ใช่กาแฟต้ม ความอร่อยอาจอยู่ที่ยี่ห้อ เพราะซื้อ ยี่ห้อ Carte Noire จึงคิดว่าน่าจะเป็นของฝากที่ถูกใจคอกาแฟทั้งหลาย และไม่ผิดหวังเพราะญาติมิตรถามหากันหนาหู นอกจากกาแฟแล้ว ยังซื้อชาของร้าน Mariage Freres เพียงเพราะได้รับโทรศัพท์จากเพื่อนผู้พำนักอยู่ที่วอชิงตัน บอกว่าหาซื้อชารส Marco Polo ของ Mariage Freres ไม่ได้ เธอเดินทางกลับมาเยี่ยมบ้านในระยะเวลาเดียวกันจึงบอกเธอว่าจะซื้อมาให้ เป็นโอกาสให้ซื้อชารสอื่นๆ อีก ไม่ว่าจะเป็น Earl Grey หลาก ชนิด ชาจีนจากไต้หวันและประเทศจีน กลิ่นหอมยวนใจ หมายใจเป็นของฝากแม่ส่วนหนึ่ง เพราะแม่ไม่เคยดื่มน้ำเปล่า ดื่มแต่น้ำชาอย่าง เดียว แต่กลับพบว่าแม่เลิกดื่มชาเสียแล้วเพราะมีปัญหาท้องผูก

ตั้งใจจะหาซื้อ macarons จากร้าน Laduree เป็นของฝากผู้ใหญ่ ร้าน Laduree นั้นเป็นเจ้าแห่ง macarons เพราะอร่อยกว่าที่อื่นมากมายนัก หากได้รับการทัดทานจากเพื่อนๆ ว่า หากไม่ได้นำไปให้ทันทีที่ถึงกรุงเทพฯ macarons ที่แสนอร่อยจะกลับเหนียวแฉะไม่น่ากินเป็นอย่างยิ่ง จึงจำต้องตัดใจ สิ่งที่มองหาต่อไปคือ marrons glaces หรือเกาลัดเชื่อมนั่นเอง ตั้งใจว่าจะไปซื้อที่ร้านโฟชง (Fauchon) เท่านั้น ไม่ทราบว่าทำไมจึงเป็นอย่างนั้น

และแล้ววันหนึ่งจึงพากันไปยังร้าน Fauchon ในย่าน Place de la Madeleine ทันทีที่เข้าร้านไป ก็เห็นถาดใส่ marrons glaces ที่ตัดเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยพร้อมไม้จิ้มฟันสำหรับให้ลูกค้าชิม พลันที่ลิ้นได้สัมผัสเกิดความปีติทันใด เพราะเนื้อเกาลัดเหนียวนุ่มและหอมกลิ่นวานิลาน้อยๆ อร่อยอย่าบอก ใคร ไม่รีรอที่จะคว้าใส่ตะกร้าหนึ่งกล่อง กล่อง เป็นกระดาษแข็งสีชมพูช็อกกิ้งและดำ

เมียงมองเห็น pate กระป๋องเล็กๆเรียงรายเป็นหนึ่งแพ็ก คว้าติดมือมาหลายแพ็ก อันที่จริงในอดีตขนมที่ขึ้นหน้าขึ้นตาของ Fauchon คือ madeleine ขนมรูปรี นูนตรงกลาง Fauchon นำ madeleine บรรจุในกล่องสวย มีหรือจะไม่ซื้อ นอกจากนั้นยังไปเมียงมอง macarons ช็อกโกแลตและ pate de fruit เยลลีผลไม้เคลือบน้ำตาล เป็นขนมราคาแพงเอาการ และอาจไม่ถูกปาก ชาวไทยเพราะมีให้ลองลิ้มอยู่เนืองๆ

Fauchon มีขนมให้เลือกหลากหลาย อีกทั้งยังมีไวน์หลากชนิด วันที่ไปนั้นได้เวลาที่ beaujolais nouveau ไวน์แดงล็อตแรกของฤดูกาลออกวางตลาด จึงเลือกซื้อกลับบ้านหนึ่งขวด รสชาติฝาดเฝื่อน ไม่อร่อยเมื่อเทียบ กับ beaujolais nouveau ที่ซื้อจากซูเปอร์ มาร์เก็ตหน้าบ้าน

สินค้าทุกชิ้นที่ซื้อ หากต้องการเป็นของขวัญ เจ้าหน้าที่จะห่อให้ด้วยกระดาษสีขาวดำ พิมพ์ตัวอักษร Fauchon โก้เข้าตาทีเดียว

นอกจากนั้น Fauchon ยังมีผักผลไม้สดจากประเทศต่างๆ อาหารกระป๋อง เช่น ซุปชนิดต่างๆ หรืออาหารปรุงสำเร็จสำหรับซื้อกลับบ้าน มีบาร์ไวน์และร้านอาหารซึ่งเสิร์ฟน้ำชาตอนบ่ายด้วย

ในปี 2006 Fauchon มีอายุครบ 120 ปี

ย้อนกลับไปในปี 1886 ชาวนอร์มองดีชื่อโอกุสต์ เฟลิกซ์ โฟชง (Auguste Felix Fauchon) เข็นรถขายผักผลไม้ในย่าน Madeleine ถัดไปหนึ่งปี เขาเปิดร้าน ณ เลข ที่ 26 Place de la Madeleine ตรงข้ามกับร้าน Hediard ซึ่งขายของชำเช่นกัน กิจการของ Fauchon รุ่งเรืองจนโอกุสต์ โฟชง ต้องเปิดสาขาย่าน rue de la Comete ร้านขายไวน์ชื่อ Les Grandes Caves เขาซื้อไวน์มาเป็นถัง และนำมาบรรจุขวดเอง ในปี 1908 โฟชงมีไวน์ในสต็อกถึง 800,000 ขวดด้วยกัน มีทั้งไวน์ฝรั่งเศสและไวน์จากต่างประเทศ โอกุสต์ โฟชง ต้องเดินทางไปทั่ว เพื่อหาสินค้าแปลกและคุณภาพดีมาเข้าร้าน

ในปี 1895 Fauchon เปิดร้านน้ำชา สาวสังคมชั้นสูงของกรุงปารีสต่างพากันมาสังสรรค์ ณ ที่นี้ มีโอกาสสัมผัสประเพณีดื่มชาตอนห้าโมงเย็น เป็นเหตุให้หนุ่มๆ ตามมาด้วย ในยุคนั้นสาวผู้ดีจะไม่เข้าร้านกาแฟ เพราะถือเป็นสถานที่สำหรับผู้ชายเท่านั้น หากบังเอิญให้มีผู้หญิงในร้านกาแฟ ย่อมเป็นหญิงไม่ดี

ในทศวรรษ 30 Fauchon เริ่มผลิตสินค้าในชื่อของตนเอง โอกุสต์ โฟชง เสียชีวิตในปี 1945 ร้าน Fauchon ได้รับผลกระทบสูงจากการปันอาหารช่วงสงครามโลก ครั้งที่สองในปี 1952 จึงขายกิจการแก่โจเซฟ ปิโลซอฟ (Joseph Pilosoff) นักธุรกิจเชื้อสายบัลการี ซึ่งร่ำรวยจากการขายเสื้อผ้าราคาถูกยี่ห้อ Cent Mille Chemises เจ้าของ คนใหม่ร่วมทำงานกับเอ็ดมงด์ บอรี (Edmond Bory) ซึ่งรู้จักคนกว้างขวาง ทำให้ได้เซ็นสัญญากับสายการบินแอร์ฟรานซ์ขนส่งผักผลไม้จากแดนไกล หรือผลไม้นอกฤดูกาล

โจเซฟ ปิโลซอฟ ยังผลิตสินค้าใหม่ เช่น ชากลิ่นต่างๆ ส่วนเอ็ดมงด์ บอรี ชักพา ลูกค้าคนดังมาสู่โฟชง อาทิ แจ็คเกอลีน เคนเนดี้ มาดาม เดอ โกล ชาห์ แห่งอิหร่าน เป็นต้น

Fauchon กลายเป็นร้านหรูที่ตกเป็นเหยื่อของผู้นิยมฝ่ายซ้ายในปี 1970 เพื่อนำไปแจกแก่ผู้ด้อยโอกาส หลังจากที่โจเซฟ ปิโลซอฟเสียชีวิตในปี 1981 ร้านโฟชงถูกเพลิงเผาผลาญจนไม่เหลือซาก ในปี 1985 มาร์ตีน ปริมาต์ (Martine Primat) หลานสาวของโจเซฟได้รับมรดก เธอจึงพัฒนาFauchon ให้ความสำคัญกับการเปิดร้านอาหารและการขายอาหารสำเร็จเพื่อนำกลับบ้าน อีกทั้งรับจัดอาหารนอกสถานที่ ช่วงนี้เองที่ปิแอร์ แอร์เม (Pierre Herme) มาเป็นพ่อครัวด้านขนม และเป็นผู้ริเริ่มขนมชื่อ la cerise sur le gateau ในปี 1994

Fauchon ประสบปัญหาการเงินจนล้มละลายในทศวรรษ 80 หลังจากซื้อเรือยอชต์ เพื่อทำเป็นภัตตาคารลอยน้ำ โลรองต์ อะบรา โมวิช (Laurent Abramowicz) ซื้อกิจการของ Fauchon ในปี 1998 ซึ่งคงภาพลักษณ์ร้านของสังคมชั้นสูง ตกแต่งร้านใหม่ ทำแพ็กเกจจิ้งที่ดูเยาว์วัยขึ้น เปิดสาขาหลายแห่ง รวมทั้งที่นิวยอร์ก การตัดสินใจซื้อร้าน 12 ร้านของกลุ่ม Flo Prestige ทำให้ประสบปัญหาการเงินอีกครั้งหนึ่ง มิเชล ดูโครส์ (Michel Ducros) ซึ่งได้รับแต่งตั้งเป็นประธานของ Fauchon ในปี 2004 ตัดสินใจขายร้านอาหารเหล่านี้แก่กลุ่มเลอ โนทร์ (Lenotre) และมุ่งพัฒนาร้านที่ย่าน Madeleine อย่างเดียว   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us