Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ตุลาคม 2549








 
นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2549
AJF กำลังจะกลับมา?             
โดย สุจินดา มหสุภาชัย
 


   
www resources

โฮมเพจ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน อยุธยาเจเอฟ จำกัด - เอเจเอฟ

   
search resources

อยุธยาเจเอฟ, บลจ.
Funds
ณสุ จันทร์สม
ฉัตรพี ตันติเฉลิม
ประภาส ตันพิบูลย์ศักดิ์
อาสา อินทรวิชัย




ภารกิจหลักของทีมบริหาร บลจ.เอเจเอฟชุดใหม่ คือการดึงความเชื่อมั่นของผู้ถือหน่วยลงทุนกลับคืนมาอีกครั้ง แต่การจะทำเช่นนั้นได้ สิ่งแรกที่ต้องรื้อก่อนเลย คือกระบวนการตัดสินใจนำเงินไปลงทุน ตั้งแต่เริ่มต้นวางนโยบาย กำหนดกลยุทธ์ จนถึงการเลือกหุ้น และตราสารอื่นๆ

ผู้ถือหน่วยลงทุนของเอเจเอฟ ที่เคยผิดหวังกับผลงานการบริหารกองทุนของบริษัท หลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) แห่งนี้โดยเฉพาะในช่วงหลังที่มูลค่าสินทรัพย์สุทธิ (Net Asset Value : NAV) หดตัวลงจากที่เคยมีอยู่ 8-9 หมื่นล้านบาท เหลือเพียง 3 หมื่นล้านบาท และขนาดของกองทุนในความรับผิดชอบที่เคยใหญ่เป็นอันดับ 2 ได้ตกลงมาอยู่ในอันดับ 10 อาจต้องกลับมาพิจารณาความไว้วางใจที่จะมอบให้กับ บลจ.รายนี้กันใหม่อีกครั้ง

หลังการเข้ามาของทีมงานบริหารชุดใหม่ที่พยายามสร้างความชัดเจน ทั้งในเรื่องนโยบายและกลยุทธ์การลงทุนของกองทุนทั้งในฝั่งตราสารทุน และตราสารหนี้

โดยเฉพาะกองทุนตราสารทุนที่ NAV ของบางกองทุน ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมา น่าจะเป็นสิ่งที่ยืนยันถึงความพยายามดังกล่าว

ทีมผู้บริหารใหม่ของเอเจเอฟ ประกอบด้วย ฉัตรรพี ตันติเฉลิม ประธานกรรมการบริหารและกรรมการผู้จัดการ ประภาส ตันพิบูลย์ศักดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่สายการลงทุน ณสุ จันทร์สม ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการสายการลงทุนตราสารทุน และอาสา อินทรวิชัย ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการสายการลงทุนตราสารหนี้ (รายละเอียดประวัติของแต่ละคน ดูในล้อมกรอบ personal profile)

"ทีมเก่าลงในหุ้นไว้เยอะ 50 ตัว ผมมาเอาออกไป 20 ตัวเหลือไว้ 30 แล้วเราก็ช่วยกันปรับสัดส่วนหุ้นในพอร์ตใหม่ บอกตรงๆ ตอนแรกที่เข้ามาดูมีหุ้นหลายตัวที่ผมเองก็ไม่เข้าใจ คือไม่รู้จริงๆ ว่าธุรกิจเขาเป็นอย่างไรหรือทำอะไรแน่ ลองถามคนเก่าที่นี่ดู ก็ไม่มีใครตอบได้ เมื่อไม่มีใครตอบได้เราจึงตัดสินใจเอาออกให้หมด" ณสุ จันทร์สม ซึ่งเคยเป็นผู้อำนวยการสายการลงทุนของ บลจ. อเบอร์ดีน บอก

ด้านประภาส ในฐานะประธานเจ้าหน้าที่สายการลงทุน ให้รายละเอียดเพิ่มเติมว่าหลังการฟอร์มทีมผู้บริหารใหม่เสร็จสิ้นลงเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา นโยบายการบริหารจัดการกองทุน ถือเป็นส่วนที่มีความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นค่อนข้างมาก จากที่พวกเขาได้ร่วมกันสร้าง Portfolio Model ขึ้นใหม่

โดยกำหนดไว้ว่าหุ้นที่เป็นตัวเลือกในการจัดพอร์ตลงทุน ซึ่งผู้บริหารจัดการกองทุน แต่ละคนกำลังดูแลอยู่นั้น 90% ต้องมาจากหุ้น 30 ตัวที่ถูกกำหนดขึ้นหลังการวิเคราะห์ร่วมกันในที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายการลงทุน (Investment Committee) เพื่อกำหนดความชัดเจนของสัดส่วนหุ้นแต่ละบริษัทที่ผู้บริหารจัดการกองทุนจะต้องนำไปใช้จัดพอร์ตในกองทุนแต่ละประเภท

ส่วนที่เหลืออีก 10% ให้เป็นสิทธิของผู้บริหารจัดการกองทุนที่จะตัดสินใจเลือกเองได้ว่า พวกเขาจะเพิ่มหรือจะลดน้ำหนักในหุ้นตัวใดที่ได้เคยลงไว้แล้วในพอร์ต หรือจะนำหุ้นตัวใหม่ที่ยังไม่เคยเลือกมาใส่เพิ่มเติมตามจังหวะและประเภทการลงทุนที่แตกต่างกันก็ได้ แต่ตัวเลือกใหม่นี้ยังคงต้องจำกัดอยู่แต่ในรายชื่อหุ้นทั้ง 30 ตัว ที่คณะกรรมการนโยบายการลงทุนได้เคยอนุมัติไว้แล้ว

การสร้าง portfolio model นี้อาจถือได้ว่าเป็นการกำหนดความชัดเจนอีกประการในนโยบายการรักษาวินัยการลงทุนของเอเจเอฟ หลังจากทีมผู้บริหารใหม่มีความชัดเจนแล้วว่า พวกเขาไม่มีนโยบายให้ผู้บริหารจัดการกองทุนตัดสินใจซื้อหรือขายหุ้นโดยใช้วิจารณญาณของตนเอง

แต่ต้องการให้เอเจเอฟหันมาเน้นสไตล์ การลงทุนแบบ Valued-Investor ที่ทีมผู้บริหารจัดการกองทุนต้องผ่านการทำงานกันมาอย่างหนัก เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลก่อนการคัดสรรหุ้นจากบริษัทที่มีคุณสมบัติสอดคล้องตามนโยบายใหม่ของผู้บริหาร ซึ่งเลือกลงทุนแต่เฉพาะในหุ้นที่มีปัจจัยพื้นฐานแข็งแกร่งในระยะยาว สามารถจ่ายเงินปันผลได้ในอัตราที่ค่อนข้างสูง และต้องมีการขยายตัวอย่างสม่ำเสมอในผลกำไรของกิจการ อีกทั้งต้องไม่ใช่ธุรกิจที่ซับซ้อนเกินกว่าพวกเขาจะทำความเข้าใจได้เองอย่างชัดเจนถึงในระดับโครงสร้างอุตสาหกรรม และธรรมชาติในตัวธุรกิจ

อย่างไรก็ตาม แม้ชื่อหุ้นบางตัวในสายตานักลงทุนทั่วไปอาจฟังดูน่าเบื่ออย่างหุ้น MBK แต่ตราบเท่าที่พวกเขายังมองเห็นแนวโน้มที่ชัดเจนว่า ผู้บริหารกิจการสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ธุรกิจของตัวได้เองในระยะยาว โดยไม่จำเป็นต้อง make story แล้ว ก็ถือเป็นหนึ่งในหุ้นบริษัทที่มีคุณสมบัติต้องตามนโยบายการลงทุนของเอเจเอฟเช่นกัน (โปรดอ่านรายละเอียดในเรื่อง "ตัวเลือกใหม่ของ AJF")

"สไตล์ของเราตอนนี้ เราเลือกลงทุนในบริษัทที่เติบโตสูงกว่าตลาดโดยรวมในระยะยาว จะสังเกตได้ว่าครึ่งปีนี้ตลาดประกาศว่าโต 7% แต่ EPS ติดลบซึ่งตอนนี้ยังไม่มีตัวเลขออกมาอย่างชัดเจนว่าจะเป็นเท่าไร ส่วน portfolio ของเราครึ่งปีแรก ถ้าใช้เฉพาะค่า EPS เราเติบโตเฉลี่ยกว่า 20% ในประมาณ 20 บริษัทที่เราเลือกลงทุน เราหวังว่าทั้งปีเราจะโตได้ 20% ขณะที่ตลาดคาดการณ์ว่าจะโตเพียง 3%" ประธานเจ้าหน้าที่สายการลงทุนบอก

ด้านการทำงานระดับคณะกรรมการนโยบายการลงทุน ถือเป็นอีกจุดที่ได้รับการปรับปรุง โดยประภาสได้ให้ภาพความแตกต่างในการทำบทบาทของคณะกรรมการฯ ใน 2 ยุค นี้ว่า แต่เดิมเอเจเอฟจะมีรายชื่อหุ้นที่เป็น universe จำนวนมาก แต่เนื้อหาสาระในการประชุมของคณะกรรมการนโยบายการลงทุนนั้น จะหนักไปในเป็นเรื่องสถานการณ์ในตลาดโดยทั่วไป และรับฟังมุมมองความเห็นจากผู้จัดการกองทุน แต่ขาดความชัดเจนทั้งในแง่การหารือเชิงนโยบายเพื่อกำหนดสัดส่วนการลงทุนในหุ้นแต่ละตัว และในเชิงการทบทวนภาพกลยุทธ์การลงทุนที่เหมาะในแต่ละช่วงเวลา

ผลลัพธ์จากความไม่ชัดเจนแบบนี้จึงสนับสนุนให้เกิดปัญหาการขาดวินัย และวิธีคิดที่ดีในการลงทุนกันอย่างกว้างขวางในกลุ่มผู้บริหารจัดการกองทุน ที่มีอิสระค่อนข้างมากในการตัดสินใจลงทุนได้เองโดยลำพัง และบ่อยครั้งที่การตัดสินใจของพวกเขาได้สร้างความเสียหายแก่เงินลงทุนขึ้น

"เมื่อก่อนเอเจเอฟจะมีแค่หุ้น universe แต่ไม่มี portfolio model พอ fund manager เดินออกจากที่ประชุม แล้วก็ไปทำในสิ่งที่ตัวเองอยากทำบนกรอบของ universe แบบลอยตัวในที่เราปรับใหม่ คือที่ประชุม Investment Committee นี้ต้องเป็นที่ที่ทีมผู้บริหารทั้ง 4 และ fund manager ทุกคนเข้ามาร่วมกันวิเคราะห์ข้อมูลหุ้นแต่ละตัว ก่อนจะมีมติกำหนดสัดส่วนลงทุนที่ชัดเจน ซึ่งก็คือหุ้น universe ทั้ง 30 ตัวที่เรามีอยู่ตอนนี้ เมื่อทุกคนเดินออกจากห้องไปแล้ว ก็ต้องไปทำตามมติที่เป็นเอกฉันท์แล้วว่าต้องลงกันแบบนี้ จะไปทำเป็นอย่างอื่นไม่ได้ โดยเฉพาะในส่วนที่เป็น 90% แต่หากบังเอิญใครจะมีหุ้นใหม่มานำเสนอก็ต้องบอกให้ได้ว่ามันน่าลงทุนยังไง หรือมันดีกว่าหุ้นตัวเก่าที่เรามีอยู่ตอนนี้ตรงไหน ส่วนจะ add เข้ามาหรือไม่ หรือควรให้เป็นเท่าไร ก็ต้องให้ที่ประชุมนี้มีมติร่วมกันก่อน" เป็นภาพการทำงานใหม่ในบอร์ด Investment Committee ที่ประธานเจ้าหน้าที่สายการลงทุนของเอเจเอฟได้กล่าวทิ้งท้าย   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us