|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ ฉบับ ตุลาคม 2549
|
|
แดน ศรมณี เข้ามารับตำแหน่งกรรมการผู้จัดการบริษัท ฟาร์อีสท์ ดีดีบี จำกัด มานานกว่า 9 เดือน แต่ยังไม่มีวาระเปิดตัวอย่างเป็นทางการให้ผู้คนนอกวงการโฆษณารู้จัก เพื่อบ่งบอกถึงแนวทาง และทิศทางต่อไปของบริษัทเสียที เขาให้เหตุผลว่าช่วงที่เข้ามารับตำแหน่ง ต้องใช้เวลาศึกษาข้อมูลและวางแผนการทำงานให้เรียบร้อยก่อน จึงไม่รู้ว่าจะพูดอะไร รอให้พร้อมแล้วพูดครั้งเดียวจะดีกว่า
เวลา 9 เดือนในการวางแผน กำหนดนโยบาย และทิศทางของบริษัท ถูกถ่ายทอดออกมาอย่างต่อเนื่องในงานแถลงข่าว ที่แดนยืน นั่ง เดิน พูด บนเวทีกว่า 1 ชั่วโมง เพื่ออธิบายว่าได้ทำอะไรไปบ้าง และคืบหน้าถึงไหน พร้อมกับใช้ชุดสูทสีขาว ขัดกับกฎระเบียบปฏิบัติของบริษัทโฆษณาทั่วไปว่า ต้องเป็นชุดสูทดำเท่านั้น
การเข้ามารับหน้าที่ผู้บริหารของฟาร์อีสท์ ดีดีบี ในช่วงนี้ของแดนท้าทายไม่น้อย เพราะการระมัดระวังในการใช้เงินของลูกค้า ซึ่งในความเป็นจริงต้องบอกว่าหยุดใช้เงินมากกว่า บริษัทโฆษณาจึงต้องหาแผนรับมือ และคาดว่าธุรกิจโฆษณาทั้งตลาดปีนี้จะอยู่ที่ 5%
เขาบอกว่า ในส่วนของบริษัทเองก็ต้องปรับตัวตามไปด้วย หลังจากนี้ไปต้องเน้นกลุ่มลูกค้าเก่าที่มีอยู่ให้ดีที่สุด ซึ่งในส่วนของฟาร์อีสท์ ดีดีบี มีลูกค้าจากบริษัทในเครือสหพัฒน์กว่า 40% ทำให้ไม่ได้รับผลกระทบมากนัก
การก้าวผ่านพ้นภาวะเงียบเหงาแบบนี้ แดนเลือกทำการปัดกวาดบ้านด้วยการปรับระบบการทำงาน ปรับโครงสร้าง เครื่องไม้ เครื่องมือ สถานที่ ให้รองรับการทำงานที่จะกลับมาบูมอีกครั้งในอนาคต เริ่มจากการปรับโครงสร้างการทำงานใหม่ ในแนวคิด Matrix Management ซึ่งทำให้ผู้บริหารระดับบนเข้ามามีส่วนช่วยเหลือทีมงานได้มากขึ้น ตามความถนัดของตัวเอง โดยไม่เกิดความขัดแย้ง และผลงานออกมาดี สามารถใช้ศักยภาพของบุคลากรที่มีอยู่ได้เต็มประสิทธิภาพ
"โต๊ะทำงานของผมเป็นโต๊ะกลม เราเรียกกันว่า โต๊ะพิซซ่า เพราะการประชุมรอบโต๊ะกลม จะไม่มีใครเป็นหัวโต๊ะ หรือเป็นประธาน ทุกคนสามารถแสดงความเห็นได้อย่างเต็มที่เท่าเทียมกัน เช่นเดียวกับบรรยากาศการทำงาน เราเปิด ดี๊ ด๊า บาร์ คาเฟ่ เป็นร้านกาแฟเล็กๆ มีเครื่องดื่ม ที่นั่ง เพื่อให้ทีมงานมีแรงบันดาลใจในการคิดงาน และสลัดความคิดในกรอบออกไป" แดนบอกถึงความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างหนึ่งของฟาร์อีสท์ ดีดีบี ในยุคนี้
สิ่งที่แดนลงมือทำขณะนี้ เขาเปรียบเทียบให้ฟังว่า ฟาร์อีสท์เหมือนร้านอาหาร มีเมนูอร่อยอยู่ 3 อย่าง ข้าวไข่เจียว ข้าวผัด ข้าวกะเพราหมู ทุกคนรู้จักและยอมรับ แต่หลังจากนี้ไปฟาร์อีสท์จะมีผัดมะกะโรนีมาให้บริการบ้าง คนกินก็จะรู้ว่าร้านนี้ทำอะไรอร่อยได้หลายอย่าง แต่ที่ผ่านมาไม่มีใครรู้
"ฟาร์อีสท์ทำแบบนี้ เพราะเชื่อว่าสินค้าหลายๆ ตัวในบ้านเรา สามารถออกไปเติบโตในต่างประเทศได้ และเราพร้อมให้บริการ ส่วนราคาค่าบริการ ผมไม่ต้องการให้คิดว่าเรามีบริษัทโฆษณาต่างประเทศร่วมด้วยจะคิดค่าบริการแพง เข้ามาคุยกันก่อน แล้วค่อยว่ากัน" แดนฝากถึงลูกค้าที่จะไปบุกตลาดต่างประเทศ
เหตุผลสั้นๆ ที่ฟาร์อีสท์ ดีดีบี เลือกทำแบบนี้ เพราะจากนี้ไป ภาพยนตร์โฆษณาที่ทำออกมา อาจจะถูกนำไปใช้ในประเทศอื่นๆ หากดูแล้วว่าน่าสนใจ และตรงกับความต้องการของลูกค้า ต่อไปอาจจะมีแนวคิด One movie One region เกิดขึ้นก็ได้ ซึ่งสินค้าไทยหลายๆ ตัวก็เริ่มออกไปแข่งขันในตลาดโลกมากขึ้น หากทำภาพยนตร์โฆษณาเรื่องเดียวฉายทั่วภูมิภาค ก็น่าจะคุ้มค่าในการลงทุน
สำหรับแดน ศรมณี ผ่านงานโฆษณาจากลินตาส และบีบีดีโอ โดยขึ้นเป็นกรรมการผู้จัดการบริษัท Batey redcell และมีประสบการณ์ทำงานด้านการตลาดกับบริษัทซีแกรม ผู้จำหน่าย ชีวาส รีกัล มาร์แทล เขานิยามตัวเองว่า เป็นนักการตลาดไม่ใช่ครีเอทีฟ
|
|
|
|
|