Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ตุลาคม 2549








 
นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2549
โรงงาน TEA ที่ไม่ผลิตชา             
 


   
www resources

โฮมเพจ บริษัท ปตท.เคมิคอล จำกัด (มหาชน)

   
search resources

Chemicals
ปตท. เคมิคอล, บมจ.
ไทยเอทานอลเอมีน, บจก.




ปตท.ปิโตรเคมีคอล (PTTCH) เพิ่งจะประกาศตั้งบริษัท ไทยเอทานอลเอมีน หรือ TEA เพื่อผลิตสารโมโนเอทานอลเอมีน ไดเอทานอลเอมีน และไตรเอทา นอลเอมีน เมื่อช่วงต้นปีก่อน จนมาถึงปลายเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา PTTCH จึงได้ตกลงเลือก Huntsnan Pretrochemical Corporation บริษัทสัญชาติอเมริกันเข้าทำหน้าที่ออกแบบเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับก่อสร้างและการเดินเครื่องในโรงงานให้ TEA โดยงานนี้มีค่าใช้จ่ายประมาณ 35-45 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ

สำหรับสารเอทานอลเอมีน เป็นสารที่นำไปใช้ในการผลิตสินค้าประเภทแชมพู สบู่เหลว น้ำยาล้างจาน น้ำยาซักล้างทั้งในครัวเรือนและอุตสาหกรรม ปัจจุบันในประเทศไทยยังไม่มีผู้ผลิตสารชนิดนี้ได้เอง ค่ายผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ดูแลสุขภาพอนามัยส่วนบุคคลแต่ละค่าย อย่างเช่น ยูนิลีเวอร์ จึงต้องนำเข้าปีๆ หนึ่งคิดเป็นมูลค่ารวมกันได้ราว 200 ล้านบาท

ยังเป็นที่คาดหมายจาก PTTCH ฐานะที่เป็นบริษัทแม่ TEA ว่า การก่อสร้างโรงงานผู้ผลิตเอทานอลเอมีนรายแรกในประเทศ บนเนื้อที่ 20 ไร่ในอำเภอมาบตาพุด จังหวัดระยอง ซึ่งจะมีกำลังการผลิตรวมกัน 50,000 ตันต่อปี น่าจะเริ่มลงมือได้ราวปลายๆ ไตรมาส 4 ของปี 2549 และเริ่มเดินเครื่องได้ในไตรมาสแรกของปี 2551

โดยในกำลังการผลิตรวมที่สูงถึง 50,000 ตันต่อปี ซึ่งจะแบ่งเป็นการสารโมโนเอทานอลเอมีน ไดเอทานอลเอมีน และไตรเอทานอลเอมีน ในสัดส่วนที่เท่าๆ กัน คืออย่างละ 16,650 ตันต่อปี ไม่ได้มีไว้เพื่อรองรับความต้องการแต่เฉพาะจากในประเทศ ซึ่งมีดีมานด์อยู่ 8,000-10,000 ตันต่อปีแต่เพียงอย่างเดียว

แต่ยังเป็นการกำหนดขนาดกำลังการผลิตที่มองถึงภาพรวมดีมานด์ในผลิตภัณฑ์สารเอทานอลเอมีน ซึ่งนำไปใช้ผลิตสินค้าสุขอนามัยส่วนบุคคลภายในตลาดเอเชีย ซึ่งขยายตัวสูงถึง 14% ในเวลานี้ โดยเฉพาะตลาดใหญ่อย่างจีน ซึ่งถือเป็นแหล่งที่ PTTCH กำลังหมายตาว่าจะให้ TEA ส่งสินค้าของเครือเข้าไปเปิดตัวที่นั่น

ทั้งนี้ TEA มีทุนจดทะเบียน 900 ล้านบาท และเป็นผู้ถือหุ้นในโรงงานเอทานอลเอมีน 100% โดยโครงการผลิตสารเอทานอลเอมีน ของ TEA จะสามารถรับวัตถุดิบ EO ได้โดยตรงจากโรงงาน EO/EG 1 ของบริษัท ทีโอซี ไกลคอล ซึ่งถือหุ้นโดย PTTCH ด้วย

ส่วนตัว PTTCH นั้น เป็นบริษัทซึ่งเกิดจากการควบรวมกิจการเข้าบริษัท ปิโตรเคมีแห่งชาติ หรือ NPC และบริษัท ไทยโอเลฟินส์ หรือ TOC เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2548 ในปัจจุบัน PTTCH เป็นผู้ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์โอเลฟินส์ และผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีต่อเนื่องอื่นอย่างครบวงจร มีกำลังการผลิต 1,523,000 ตันต่อปี และเป็นผู้ผลิตโอเลฟินส์รายใหญ่เป็นอันดับ 3 ในภูมิภาคเอเชีย

โดยธุรกิจในเครือประกอบไปด้วย 5 กลุ่มหลัก คือ

1. ธุรกิจโอเลฟินส์

2. ธุรกิจผลิตภัณฑ์ที่ต่อเนื่องในเม็ดพลาสติกชนิดหนาแน่นสูงและหนาแน่นเบา รวมถึงผลิตภัณฑ์ อีโอ/อีจี EO Derivatives ซึ่งมีผลิตภัณฑ์หลักอยู่ในรูป MEG ที่เป็นวัตถุดิบใช้ผลิตเส้นใยเครื่องนุ่งห่ม โพลีเอสเตอร์ และบรรจุภัณฑ์ขวดพลาสติกใสหรือพลาสติก

3. ธุรกิจผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์สาธารณูปการ เช่น ไฟฟ้า ไอน้ำ และน้ำต่างๆ ที่ใช้ในอุตสาหกรรม ซึ่งประกอบด้วยน้ำใส น้ำประปา และน้ำปราศจากแร่ธาตุ

4. ธุรกิจให้บริการท่าเทียบเรือและขนถ่ายเคมีภัณฑ์

5. ธุรกิจให้บริการบำรุงรักษาโรงงานและบริการอื่นๆ   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us