Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ตุลาคม 2549








 
นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2549
สุดคุ้ม!!!             
โดย น้ำค้าง ไชยพุฒ
 


   
www resources

โฮมเพจ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน)

   
search resources

เจริญโภคภัณฑ์อาหาร, บมจ.




คนส่วนใหญ่ที่คิดว่าสำหรับเจริญโภคภัณฑ์อาหาร ซึ่งมียอดขายรวมถึงปีละ 1 แสนล้านบาท หากคิดลงทุนติดตั้งระบบอะไรก็ตาม เพื่อประหยัดพลังงาน และควบคุมคุณภาพการผลิต คงต้องลงเงินในหลัก 10 หรือหลัก 100 ล้านบาทขึ้นไป คงต้องคิดผิด

เพราะเมื่อคิดรวมตัวเลขเม็ดเงินในการนำระบบจีพีเอสเข้ามาใช้กับคาราวานรถขนส่งอาหารสัตว์ เฉพาะในกลุ่มอาหารสัตว์บก ซึ่งมีจำนวนรถประมาณ 100 คัน วงเงินค่าใช้จ่ายรวมทั้งหมด ไม่เกิน 5 ล้านบาทเท่านั้น

ค่าใช้จ่ายในการติดตั้งอุปกรณ์จีพีเอสของโรงงานอาหารสัตว์ ในเครือเจริญโภคภัณฑ์อาหารทั้งหมดอยู่ที่ 16,500 บาทต่อคัน สำหรับบริการติดตามรถแบบออฟไลน์ ถ้าให้ดูแลอุปกรณ์ให้ คิดอีกคันละ 2,600 บาทต่อปี โดยติดตั้งอุปกรณ์ครั้งเดียวไม่เสียค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด ไม่นับรวมกับค่าแผนที่ดิจิตอลรวมซอฟต์แวร์ประมาณ 20,000 บาท

สำหรับระบบออนไลน์คิดเพิ่มต่อคันอีก 10,000 บาท และเสียค่าบริการรายเดือนสำหรับซิมการ์ดโทรศัพท์มือถือซึ่งทำหน้าที่ในการส่งข้อมูลแบบออนไลน์มายังสำนักงานใหญ่อีกเดือนละ 599 บาทต่อคันต่อเดือน

ดังนั้นเมื่อเทียบกับจำนวนเที่ยวในการขับที่มากขึ้น การใช้รถได้จำนวนมากคันเพราะไม่ต้องหยุดซ่อม การเสียค่าประกันจากการเกิดอุบัติเหตุที่สูงมาก และระดับน้ำมันที่ใช้ไปในแต่ละเที่ยว เพราะควบคุมการใช้รถของพนักงานขับไม่ได้ การลงทุนเพียงไม่กี่หมื่นบาทต่อคัน ก็นับเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าอย่างปฏิเสธไม่ได้   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us