Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ตุลาคม 2549








 
นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2549
Growth Opportunity at HSBC             
โดย สุจินดา มหสุภาชัย
 

   
related stories

แนวรบที่ "เปิด" แล้ว
อารยา ภู่พานิช คนไทยสู้เขาได้
Citiloan เจาะไข่แดงรากหญ้า

   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารเอชเอสบีซี ประเทศไทย

   
search resources

ธนาคารฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้แบงกิ้งคอร์ปอเรชั่น - HSBC
Banking
ธนาคารเอชเอสบีซี ประเทศไทย
อริสรา ตันสุทธพานิช
ธวัชชัย บดินทร์
วรรณภา นารทศรีสุข




ธนาคารฮ่องกงเซี่ยงไฮ้ คอร์ป หรือ HSBC เป็นธนาคารต่างชาติอีกรายในไทยที่ได้กำหนดให้มีโครงการเพิ่มโอกาสทางอาชีพระดับโลก ให้แก่พนักงานที่ประจำอยู่ตามสาขาท้องถิ่นของพวกตน

ธนาคารฮ่องกงเซี่ยงไฮ้ เป็นธนาคารต่างชาติรายเก่าแก่ที่ได้เข้ามาทำธุรกิจในประเทศไทย ตั้งแต่เมื่อปี 2431 โดยตั้งแต่ดั้งเดิมนั้นพื้นที่ธุรกิจ HSBC ยังจำกัดอยู่ที่การให้บริการแก่กลุ่มบริษัทต่างชาติที่เข้ามาตั้งฐานการทำธุรกิจในไทย ก่อนขยายไปสู่การให้บริการธุรกิจ retail baking ในกลุ่มบัตรเครดิตแก่ลูกค้ารายย่อยคนไทยตั้งแต่ระดับกลางขึ้นไป

จนมาในระยะหลังๆ เมื่อไม่กี่ปีนี้ HSBC จึงได้เริ่มขยายพื้นที่การให้บริการสินเชื่อบัตรเครดิตของธนาคารลงมายังกลุ่มลูกค้ารายย่อยระดับล่าง และเริ่มมีการเคลื่อนไหวเพื่อทำประชาสัมพันธ์สนับสนุนการทำตลาดลูกค้าในกลุ่มอย่างชัดเจนมากขึ้น

แต่การจะทำธุรกิจให้ดีนั้น ยังต้องมีกำลังพลที่เพียบพร้อมมาเป็นแรงหนุนอยู่เบื้องหลัง และการพัฒนาบุคลากรจึงถือเป็นอีกสิ่งที่จะขาดไม่ได้ด้วยเช่นกัน

HSBC ที่กำลังมีความเคลื่อนไหวทางด้านการพัฒนาบุคลากรคนไทยที่ถูกส่งไปตัวไปพอกพูนประสบการณ์ร่วมกับคนในสาขาต่างประเทศ และจากข้อมูลในเวปไซต์ของธนาคารยังได้ระบุด้วยว่านับตั้งแต่ปี 2544 เป็นต้นมา HSBC ได้ส่งผู้บริหารระดับสูงที่เป็นคนไทยออกไปพอกพูนประสบการณ์ในต่างประเทศมาแล้วประมาณ 10 คน

อย่างไรก็ตาม ธนาคารยังระบุเพิ่มเติมด้วยว่า HSBC ไม่เพียงแต่จะได้รับการโหวตจากนิตยสาร Banker Magazine ให้เป็นหนึ่งในกลุ่มธนาคารที่มีการบริหารจัดการองค์กรที่ดีที่สุดในโลก หรือได้รับการจัดอันดับให้เป็น 1 ใน 3 ของธนาคารที่ได้ผู้คนชื่นชอบสูงสุดในโลก แต่ยังเป็นบริษัทบริการด้านการเงินที่มีตำแหน่งเป็นหมายเลข 6 ในผลสำรวจ The Times Top 100 Graduate Employees โดยเป็นการเลื่อนขึ้นจากอันดับที่ 10 นับแต่ปีก่อน

รายละเอียดของโครงการการพัฒนาบุคลากรระดับ Inter ของที่นี่จะแบ่งย่อยออกเป็นหลายรูปแบบ ภายใต้โปรแกรมหลักๆ 2 อย่างคือ โปรแกรมสำหรับผู้อบรมด้านการบริหาร และโปรแกรมอบรมการบริหารกิจการเพื่อสนับสนุนทักษะและความรู้เฉพาะด้าน ตามฟังก์ชันตามสายงานธุรกิจที่ออกแบบมาเพื่อผู้บริหารระดับสูง โดยระยะเวลาการฝึกอบรมสำหรับผู้บริหารระดับสูงนี้จะนานประมาณ 30 เดือน

อริสรา ตันสุทธพานิช Vice President PFS Operations ของ HSBC ซึ่งได้เข้าร่วมโครงการ Management Trainee Program เมื่อปี 2545 ได้บอกเล่าประสบการณ์ของเธอไว้ในเว็บไซต์ของธนาคารว่า ความรู้และเครือข่ายถือเป็นหัวใจสำคัญต่อพัฒนาการและความสำเร็จที่ HSBC เนื่องจากหลายๆ ส่วนของโครงการการฝึกอบรมนี้ ไม่เพียงแต่ทำให้เธอมีโอกาสอันดีเยี่ยมที่จะได้พบแลกเปลี่ยนความคิดมุมมองต่างๆ ร่วมกับหลายคน อย่างเช่น ประธานและกลุ่ม CEO รวมถึงผู้ที่เข้าร่วมอีกจำนวนมากมายจากทั่วโลก แต่ยังทำให้เธอมีโอกาสเปิดตัวเองสู่ความเชื่อมต่ออันหลากหลายของธนาคารพาณิชย์ในระดับสากล และยังได้ร่วมอบรมการปฏิบัติงานจากความสัมพันธ์ ที่เชื่อมโยงกันระหว่างท้องถิ่นและระหว่างประเทศด้วย

ด้านธวัชชัย บดินทร์ Assistant Vice President Global Payments and Cash Management, Asia-Pacific ซึ่งเข้าร่วมโครงการฝึกอบรมกลุ่มผู้บริหารระดับสูงเมื่อปี 2547 บอกว่าการเข้าร่วมทีมในระดับภูมิภาคนั้น ทำให้เขามีโอกาสในการเรียนรู้ ซึ่งไม่ได้จะมาจากเพียงแค่เพื่อนร่วมงานในแผนก และผู้บริหารซึ่งเป็นผู้ดูแลเขาเพียงอย่างเดียว แต่ยังรวมถึงทุกคนในองค์กร ซึ่งได้ช่วยขยายมุมมองอันเป็นประโยชน์ในความรู้ความเข้าใจต่อประเด็นสำคัญๆ และเพื่อค้นหาทางออกในการแก้ไขปัญหาต่างๆ ซึ่งสิ่งนี้ได้ช่วยขยายพื้นที่ในการตระหนักรู้ซึ้งถึงความแตกต่างหลากหลายทางด้านประสบการณ์และวัฒนธรรมของเขาได้อย่างกว้างขวางยิ่งขึ้น

อีกทั้งเขาเองก็มีความสุขกับการทำงานกับคนเหล่านี้ ขณะที่ความสัมพันธ์ด้านอาชีพ และสัมพันธภาพส่วนตัวได้พัฒนาเติบโตอยู่นั้น ธวัชชัยบอกว่า กลุ่มคนทำงานระดับภูมิภาคกลุ่มนี้ยังถือได้ว่าเป็นหนึ่งในไฮไลต์สำคัญในชีวิตการทำงานของเขาอีกด้วย

ส่วนวรรณภา นารทศรีสุข ซึ่งร่วมในโครงการฝึกอบรมด้าน Treasury Service management ใน The Management Trainee Program ของ HSBC บอกว่าเธอได้เรียนรู้สิ่งใหม่มากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการที่ได้เรียนรู้เกี่ยวกับจุดแข็งและจุดอ่อนของตัวเองมากขึ้น และยังได้รู้ถึงขอบเขตพื้นที่ที่เธอจำเป็นต้องได้รับการพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น เมื่อเธอได้มีโอกาสสำรวจพื้นที่การทำงานในแผนกของเธอ ผ่านการหมุนเวียนหน้าที่ในการทำงานและการฝึกอบรม สิ่งเหล่านี้ทำให้เธอสามารถพัฒนาตัวเองได้ทั้งทักษะเชิงเทคนิค และทักษะเชิงการบริหารจัดการ รวมทั้งยังทำให้รู้ถึงวิธีที่จะทำงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นด้วย นอกจากนี้เธอยังได้กลายไปเป็นคนที่มีความมั่นใจมากขึ้นกว่าเดิม จากโปรแกรมการฝึกอบรม ซึ่งจะช่วยผลักดันเธอให้ประสบความสำเร็จในอาชีพที่ HSBC   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us