Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กุมภาพันธ์ 2546








 
นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2546
อดีต "ยุคทอง" ของกลุ่มชาญอิสสระ             
โดย อรวรรณ บัณฑิตกุล
 

   
related stories

ได้เวลา CI เดินหน้าเข้าตลาดหลักทรัพย์
อีกก้าวหนึ่งของสงกรานต์ อิสสระ

   
search resources

ชาญอิสสระ ดีเวล็อปเมนท์, บมจ.




4 กุมภาพันธ์ ปี 2528 "ชาญ อิสสระ ทาวเวอร์ 1" ได้ผงาดขึ้นบน ถนนพระราม 4 อย่างสง่างามและ ได้สร้างภาพลักษณ์ที่สำคัญให้กับกลุ่มชาญอิสสระว่าเป็นอีกกลุ่มหนึ่งที่มีเงินหนา แล้วยังมองการณ์ไกลเพราะชาญอิสสระ ทาวเวอร์ 1 เป็นอาคารสำนักงาน และศูนย์การค้าสูง 22 ชั้น ที่ก่อสร้างเสร็จเป็นโครงการอาคารชุดสำนักงาน และศูนย์การค้าเพื่อขาย ให้เช่า เป็นโครงการแรกๆ บนถนนพระราม 4 เป็นตึกที่ทันสมัยมากในเวลานั้น ร้านหรู แบรนด์ดังต่างๆ เกิดขึ้นครั้งแรกที่ตึกแห่งนี้

ปี 2531 ได้เข้าไปพัฒนานิคม อุตสาหกรรมลาดกระบังเฟส 3 และสามารถขายได้หมดภายในเวลาไม่ถึง 1 ปี ในช่วงเวลาที่กองทัพนักลงทุน ตามแห่ไปสร้างโครงการคอนโดมิเนียมชายทะเลที่พัทยา (ก่อนที่จะกลายเป็นโครงการคอนโดมิเนียมร้างริมหาดพัทยาอยู่หลายปี) กลุ่มนี้กลับเบนเข็มไปก่อสร้างโครงการที่อำเภอชะอำแทน และชะอำบีชคอนโดมิเนียมก็ได้ก่อสร้างเสร็จเมื่อปี 2536 พร้อมๆ กับการก่อสร้างคอนโด มิเนียม ชายทะเล ชาญก็ได้ส่งสงกรานต์ เข้าไปประมูลที่รถไฟ 86 ไร่ ใจกลางกรุงเทพฯ บนถนนพระราม 9 มีค่าย ซี.พี.เป็นคู่แข่งที่สำคัญ โดยได้พัฒนาเป็นศูนย์การค้ารูปลักษณ์ใหม่ที่สุด ในเอเชียและกลายเป็นโครงการที่ดังที่สุดในกรุงเทพฯ

ยุคต่อมาคือโครงการ "รอยัล ซิตี้ อเวนิว" หรือเป็นที่รู้จักกันในชื่อ RCA

กลุ่มอิสสระ ใช้เงินเพียง 130 ล้านบาท ประมูลที่ดินแปลงนี้มา แต่สามารถขายโครงการในแผ่นกระดาษได้เป็นเม็ดเงินถึง 1 พันกว่าล้านบาท แม้โครงการนี้ไม่สามารถพัฒนาได้ครบถ้วนตามแผนที่วางไว้ เพราะประสบกับปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจที่กระหน่ำเข้ามา แต่ก็สร้างกำไรมาก่อนหน้านี้แล้ว

เมื่อ 10 ปีก่อนนั้น ดูเหมือนจะเป็นยุคทองของกลุ่มนี้อย่างแท้จริง เพราะได้มีการพัฒนาหลายโครงการพร้อมกัน บ้านสวนเพชร คอนโดมิเนียมสูง 30 ชั้น บนถนนสุขุมวิท 36 ก็ได้ก่อสร้างเสร็จกลางปี 2536

โครงการชาญอิสสระ ฟาร์มฮิลล์ กลางหุบเขาที่ มวกเหล็กก็ได้พัฒนาในช่วงเวลานั้น เช่นเดียวกับโครงการชาญอิสสระ ซิตี้โฮม และ 14 กุมภาพันธ์ 2536 อาคารชาญอิสสระทาวเวอร์ 2 ศูนย์การค้าและสำนักงานสูง 35 ชั้นก็ได้ตระหง่านขึ้นบนถนน เพชรบุรี ก่อนที่จะปิดฉากยุคที่รุ่งเรืองที่สุดไว้ที่โครงการนี้

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us