Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ตุลาคม 2549








 
นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2549
มาเลียนแบบ private bank สวิสกันเถอะ             
 


   
search resources

Cash Management




สิงคโปร์ตั้งเป้าจะเป็นศูนย์กลาง private banking และการบริหารจัดการสินทรัพย์ของเอเชีย ด้วยการเลียนแบบสวิตเซอร์แลนด์ เจ้าตำรับ private banking

เอเชียผลิตเศรษฐีใหม่อย่างรวดเร็วมาก ทำให้ธุรกิจจัดการบริหารสินทรัพย์เติบโตอย่างรวดเร็วตามไปด้วย จนกระทั่งเกิดการขาดแคลนเจ้าหน้าที่ที่เชี่ยวชาญในด้านนี้ ซึ่งเรียกว่า private bankger การขาดแคลนวิกฤติถึงขั้นที่ธนาคารในสิงคโปร์ ต้องรับช่างทำผมและเซลส์ขายรถ มาฝึกให้เป็น private banker และเกิดการขโมยตัวบุคลากรด้านนี้จากธนาคารคู่แข่ง จนเกิดการร้องเรียนไปถึงเจ้าหน้าที่ด้านการเงินของสิงคโปร์เป็นจำนวนมาก ในขณะที่ลูกค้าของธนาคารก็ร้องเรียนปัญหาในการรับบริการเช่นกัน

รัฐบาลสิงคโปร์ซึ่งเป็นรัฐบาลที่เอาอกเอาใจภาคเอกชนอย่างยิ่ง ตัดสินใจแก้ปัญหาดังกล่าว ด้วยการเปิดหลักสูตรปริญญาโท 1 ปีที่มหาวิทยาลัย Singapore Management University (SMU) ขึ้นในปี 2004 เพื่อไว้สำหรับผลิต private banker โดยเฉพาะหลักสูตรนี้ไม่เพียงสอนความรู้พื้นฐานด้านการเงินอย่างเศรษฐกิจมหภาค และการวิเคราะห์เชิงปริมาณเท่านั้น แต่ยังสอนเรื่อง "soft skill" ทั้งหลาย ซึ่งได้แก่การสร้างความสัมพันธ์ ทักษะในเชิงสังคม รวมทั้งมารยาทในการเข้าสังคมต่างวัฒนธรรมต่างๆ เพื่อให้สามารถสร้างและรักษาความสัมพันธ์กับลูกค้าระดับเศรษฐี ซึ่งมักจะเรียกร้องสูง

ด้วยเหตุนี้ นักศึกษาในหลักสูตรนี้จึงถูกสอนว่า เมื่อไปงานวันเกิดของชาวจีนจะต้องไม่แต่งชุดดำ และคนไทยถือว่าศีรษะเป็นของสูงและไม่ชอบให้ใครมาถูกศีรษะ บัณฑิตที่ประสบความสำเร็จของสถาบันแห่งนี้จะมีลักษณะนอบน้อมถ่อมตน และรู้จักสร้างความสัมพันธ์กับคนอื่น

หลักสูตรที่ SMU ดังกล่าวยังสะท้อนถึงความมุ่งมั่นของสิงคโปร์ ที่ต้องการจะเป็นศูนย์กลาง private banking แข่งกับสวิตเซอร์แลนด์ให้ได้

หลายปีก่อน บรรดาผู้นำสิงคโปร์เริ่มตระหนักว่า แม้ว่าสิงคโปร์จะมีระบบกฎหมายที่โปร่งใส อัตราภาษีที่ต่ำ ทั้งยังมีรัฐบาลที่มีเสถียรภาพ แต่สิงคโปร์ยังไม่ใช่ประเทศที่ใหญ่พอที่จะต่อกรกับฮ่องกงหรือญี่ปุ่นได้ ในฐานะของการเป็นศูนย์กลางการลงทุนและวาณิชธนกิจ (merchant banking) แต่เหตุใดสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งก็เป็นประเทศเล็กๆ ไม่ต่างจากสิงคโปร์เช่นกัน กลับสามารถผงาดขึ้นเป็นเจ้าแห่งธุรกิจ private banking ได้ และทำไมสิงคโปร์จะทำเช่นนั้นไม่ได้ในเอเชีย

ตั้งแต่นั้นมา สิงคโปร์ก็เริ่มศึกษาสวิตเซอร์แลนด์อย่างจริงจัง และได้พยายามลงมือสร้างบรรยากาศให้สิงคโปร์สามารถดึงดูดเศรษฐีทั่วโลก ให้เคลื่อนย้ายทรัพย์สินไปยังสิงคโปร์ ซึ่งรวมถึงการแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับกองทุนจัดการมรดก (family trust) เพื่อให้การเคลื่อนย้ายถ่ายโอนทรัพย์สินไปสู่ทายาททำได้ง่ายขึ้น และทำให้สิงคโปร์เป็นแหล่งที่พักพิงสำหรับเศรษฐีที่ไม่ต้องการจะเสียภาษีอสังหาริมทรัพย์ในอัตราที่สูงลิ่วในสหรัฐฯ และยุโรป

นอกจากนี้ สิงคโปร์ยังแก้ไขกฎเกณฑ์คุ้มครองความลับของลูกค้าให้เข้มงวดขึ้น โดยการเปิดเผยข้อมูลการเงินส่วนตัว จะได้รับโทษปรับสูงสุด 78,000 ดอลลาร์ และโทษจำคุกสูงสุด 3 ปี ซึ่งเป็นโทษที่โหดกว่าโทษสูงสุดของสวิตเซอร์แลนด์เสียอีก

แต่มีสิ่งหนึ่งที่สิงคโปร์ตั้งใจที่จะไม่เลียนแบบสวิตเซอร์แลนด์ นั่นคือ การเพิ่มภาษีด้วยแรงกดดันจากสหภาพยุโรป (EU) ทำให้สวิตเซอร์แลนด์ต้องเริ่มเก็บภาษีหัก ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 15 จากรายได้จากดอกเบี้ยที่ผู้ฝากเงินเป็นพลเมือง EU ตั้งแต่เมื่อปีกลาย (และอัตราภาษีนี้จะค่อยๆ เพิ่มขึ้นจนถึงระดับร้อยละ 35 ในปี 2011)

ตรงข้าม สิงคโปร์กลับลดภาษีให้ต่ำลง ผู้ฝากเงินในธนาคารสิงคโปร์ที่มิได้เป็นพลเมืองสิงคโปร์ไม่ต้องเสียภาษีใดๆ ถ้าหากเงินนั้นเป็นรายได้ที่เกิดนอกสิงคโปร์ และรายได้ที่ได้จากการลงทุนในสิงคโปร์ (เช่นจากหุ้น) ก็ได้รับยกเว้นภาษีเช่นเดียวกัน

ประโยชน์ใหญ่หลวงที่สิงคโปร์ได้รับจากนโยบายภาษีเช่นนี้คือ การดึงดูดสินทรัพย์จากประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคเดียวกัน เข้ามาสู่สิงคโปร์อย่างมหาศาล

อย่างไรก็ตาม หนทางยังอีกยาวไกลนักกว่าสิงคโปร์จะสามารถอ้างได้อย่างเต็มปากว่า ตนเป็นนครหลวงแห่งการบริหารจัดการสินทรัพย์ ที่เทียบชั้นกับสวิตเซอร์แลนด์ได้ ตัวเลขจากหน่วยงานของรัฐบาลสิงคโปร์ระบุว่า สินทรัพย์ที่อยู่ภายใต้การจัดการของ private bank ของสิงคโปร์ มีทั้งสิ้นเพียงประมาณ 2 แสนล้านดอลลาร์ ในขณะที่สินทรัพย์ที่อยู่ภายใต้การจัดการของ private bank ในสวิตเซอร์แลนด์ มีมูลค่าสูงถึง 3.71 ล้านล้านดอลลาร์ เมื่อสิ้นปี 2005

อย่างไรก็ตาม สินทรัพย์ภายใต้การจัดการของ private bank ในสิงคโปร์ กำลังขยายตัวในอัตราร้อยละ 20 ต่อปี ซึ่งทำให้สิงคโปร์กลายเป็นตลาด private banking ที่มีอัตราการเติบโตรวดเร็วที่สุดในโลก และสถาบันการเงินที่จัดได้ว่าเป็นระดับยักษ์ใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งรวมถึง HSBC, UBS และ Cititgroup ต่างก็กำลังขยายธุรกิจในสิงคโปร์

ในขณะที่ Credit Suisse มีเจ้าหน้าที่ private banker อยู่ในสิงคโปร์แล้วประมาณ 500 คน ซึ่งเป็นจำนวนที่มากที่สุดนอกสวิตเซอร์แลนด์ และยังมีแผนจะเพิ่ม private banker อีก 100 คนในปีนี้ ส่วน Bank Julius Baer ซึ่งเป็น private bank ที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของสวิตเซอร์แลนด์ ก็กำลังจะทำให้สิงคโปร์เป็นตลาด private banking ที่ใหญ่เป็นอันดับสองรองจาก Zurich ในสวิตเซอร์แลนด์   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us