|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
กรุงไทยเดินหน้าขยายฐานสินเชื่อปลายปีทุ่มงบ 1.6 พันล้านบาทปล่อยกู้อบจ.-เทศบาล 20 แห่ง ระบุที่ผ่านมาปล่อยไปแล้ว 62 แห่งยังไม่มีเอ็นพีแอล มั่นใจสิ้นปีปล่อยสินเชื่อแก่หน่วยงานรัฐและรัฐวิสาหกิจได้ตามเป้า 15,000 ล้าน
นายปรีชา ภูขำ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการอาวุโส ผู้บริหารสายงาน สายงานธุรกิจภาครัฐ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ในช่วงที่เหลือของปีนี้ธนาคารมีแผนที่จะปล่อยกู้ให้กับองค์การบริหารส่วนจังหวัด หรือ อบจ.และเทศบาล ประมาณ 20 แห่ง คิดเป็นเม็ดเงินในการปล่อยทั้งสิน 1,600 ล้านบาท โดยแต่ละแห่งเฉลี่ยมีความจำเป็นในการใช้เงินประมาณ 70-80 ล้านบาท ซึ่งหากธนาคารสามารถปล่อยกู้ได้ตามแผนที่วางไว้ ก็จะทำให้ภายในสิ้นปีนี้จะสามารถปล่อยกู้ให้กับ 2 หน่วยงานดังกล่าวรวมกัน 82 แห่งจากก่อนหน้านี้ได้ปล่อยไปแล้ว 62 แห่ง เม็ดเงินรวมประมาณ 400-500 ล้านบาท
สำหรับหลักการปล่อยกู้ให้กับอบจ.และเทศบาลนั้น ธนาคารยึดหลักการปล่อยกู้เดียวกันกับการปล่อยกู้ให้กับภาคธุรกิจเอกชน โดยพิจารณากระแสเงินสด รายรับ รายจ่าย ความสามารถในการชำระหนี้ รวมทั้งทิศทางในการหารายได้ ซึ่งหน่วยงานนั้นต้องมีโครงการมานำเสนอให้กับธนาคารก่อน หากธนาคารพิจารณาแล้วว่าโครงการดังกล่าวมีความเป็นไปได้ ธนาคารก็จะพิจารณาอนุมัติเงินกู้ให้ ทั้งนี้จะทยอยให้หน่วยงานนั้นเบิกเงินกู้ โดยธนาคารจะไม่ให้หน่วยงานนั้นๆ ทำการเบิกเงินกู้ไปทั้งหมด สำหรับอัตราดอกเบี้ยนั้น จะถูกกว่าภาคเอกชนที่มาขอกู้เนื่องจากอบจ.และเทศบาลมีรายได้จากการจัดเก็บภาษีที่แน่นอนอยู่แล้ว แต่ทั้งนี้ไม่ได้หมายความว่าทุกอบจ.หรือทุกเทศบาลจะได้รับเงินกู้ เพราะทุกอย่างต้องขึ้นอยู่กับว่าผ่านคุณสมบัติที่ธนาคารกำหนดหรือไม่
“การปล่อยกู้อบจ.และเทศบาลนั้นจะเป็นในลักษณะคลีนโลน คิดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ12เดือนบวกอีก1.5% กำหนดชำระคืนสูงสุดไม่เกิน 20 ปี หากนำเงินฝากมาจำนำกับธนาคารธนาคารก็จะคิดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากตามประเภทที่หน่วยงานนั้นเคยฝากอยู่กับธนาคารว่าเป็นประเภท3เดือน 6เดือน 12เดือนหรือ 24เดือน แล้วก็บวกอีก1% กำหนดชำระคืนก็เท่ากันคือ20ปีสูงสุดแต่ก็ไม่ได้หมายความว่าทุกโครงการจะได้รับการผ่อนชำระคืนนานถึง20ปี ขึ้นกับแต่ละโครงการมากกว่าและที่สำคัญโครงการที่อบจ.และเทศบาลนำมาเสนอขอกู้เงินจากธนาคาร ต้องเป็นโครงการที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมหรือเป็นโครงการที่สามารถเพิ่มรายได้ให้กับอบจ.หรือเทศบาลเป็นหลัก ส่วนวงเงินสูงสุดไม่มีการกำหนดขึ้นอยู่กับแต่ละโครงการ “
ทั้งนี้จากคำประกาศของคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขนั้นไม่ได้ทำการยกเลิก อบจ.และเทศบาลทำให้การปล่อยสินเชื่อยังสามารถดำเนินได้อย่างต่อเนื่อง ธนาคารจึงเดินหน้าปล่อยสินเชื่อต่อให้กับ 2 หน่วยงานดังกล่าวต่อไปได้ ขณะที่ 62 แห่งที่ปล่อยสินเชื่อไปแล้วนั้นปรากฏว่าในปัจจุบันยังไม่พบเอ็นพีแอลเลย เนื่องจากอบจ.และเทศบาลมีรายได้จากการจัดเก็บภาษีเข้ามาในแต่ละเดือนแน่นอนและยังมีเงินสมทบจากรัฐบาลเข้ามาอีกด้วย จึงมั่นใจว่าเอ็นพีแอลจากการปล่อยสินเชื่อให้กับกลุ่มดังกล่าวไม่น่าจะเกิดขึ้น
“เอ็นพีแอลจากการปล่อยสินเชื่อให้กับหน่วยงานอบจ.และเทศบาล เป็นสิ่งที่ไม่น่าจะมี เพราะหน่วยงานดังกล่าวมีการจัดเก็บภาษีเข้ามาในแต่ละเดือน พร้อมทั้งยังมีเงินสมทบจากรัฐบาลเข้ามาจึงเชื่อว่าเอ็นพีแอลจากการปล่อยสินเชื่อนี้จะไม่มีปัญหา”
นายปรีชา กล่าวต่อว่า ตลาดอบจ.และเทศบาล ถือว่าเป็นตลาดที่ใหญ่และเป็นตลาดที่พึ่งเปิดมีความต้องการลงทุนในการขยายงานค่อนข้างมาก ณ ปัจจุบันทั่วประเทศมีอบจ.อยู่ 75 แห่ง และเทศบาลอยู่ 1,200แห่ง ซึ่งจากนี้ไปธนาคารจะใช้โอกาสที่มีอยู่ในการขยายตลาดในกลุ่มนี้ให้มากขึ้น เพราะถือว่ามีความคล่องตัวสูงเมื่อเทียบกับธนาคารัฐแห่งอื่นๆ ด้วยกัน
อย่างไรก็ตาม เป้าหมายการปล่อยสินเชื่อหน่วยงานภาครัฐและรัฐวิสาหกิจในปีนี้ยังยึดเป้าหมายเดิมที่ตั้งเอาไว้ 15,000 ล้านบาท ณ ปัจจุบันสามารถปล่อยไปได้แล้ว 11,000 ล้านบาท เพราะฉะนั้นเวลาที่เหลือคาดว่าจะสามารถปล่อยได้ตามเป้าหมายที่วางไว้ ทั้งนี้พอร์ตรวมของสินเชื่อภาครัฐและรัฐวิสาหกิจ ณ ปัจจุบันคิดเป็น 10%ของพอร์ตรวมสินเชื่อของธนาคารกรุงไทย สำหรับในปีหน้าคาดว่าสินเชื่อภาครัฐและรัฐวิสาหกิจจะเพิ่มเป็น 12%ของพอร์ตสินเชื่อรวมของธนาคาร ซึ่งในปีหน้าธนาคารจะเพิ่มให้ความสำคัญมากขึ้น
|
|
|
|
|