หลังคอมมิวนิสต์ล่มสลาย บริษัท และรัฐบาลต่างๆ ซึ่งกำลังอยู่ในอารมณ์ปลาบปลื้มยินดีกับชัยชนะของตลาดเสรี
ต่างรีบเร่ง "รุกทั่วโลก" กันขนานใหญ่ ต่อไปนี้คือเหตุการณ์สำคัญต่างๆ ในช่วงเวลาสิบปีแห่งความหวานชื่นของโลกาภิวัตน์
9 พ.ย.1989
กำแพง Berlin พังทลาย
ตลาดเสรีผงาดอย่างผู้มีชัย รัฐบาลต่างพังกำแพงการค้าและส่งเสริมธุรกิจขนาดใหญ่
ธ.ค.1992
NAFTA ถือกำเนิด
ทำให้เม็กซิโก สหรัฐฯ และแคนาดากลายเป็นเขตการค้าเสรีขนาดใหญ่ แต่สหภาพเกลียด
NAFTA
ธ.ค. 1994
วิกฤติการณ์ค่าเงินเปโซ
เม็กซิโกลดค่าเงินเปโซ นักลงทุนต่างชาติพากันเทขาย คำเตือน : ตลาดโลกไม่ได้มีเสถียรภาพตลอดเวลา
1997-98
วิกฤติการณ์การเงินเอเชีย
เกิดขึ้นเมื่อเงินทุนระหว่างประเทศไหลออกจากไทยอย่างรวดเร็ว ลามไปถึงรัสเซีย
1998
Daimler ผนวก Chrysler
Daimler ซื้ออเมริกา นักวิเคราะห์พากันชื่นชมการรวมกิจการข้ามชาติครั้งใหญ่สุดครั้งแรกของยุคโลกาภิวัตน์
1 ม.ค.1999
เงินยูโร คลอด
สกุลเงินใหม่เอี่ยมที่มีเป้าหมายเพื่อรวมยุโรปเป็นหนึ่งเดียวและมีเศรษฐกิจที่ทรงพลังขนาดเป็นคู่แข่งกับสหรัฐฯ
ได้
ธ.ค.1999
จลาจลที่ Seattle
จลาจลที่การประชุมสุดยอดการค้าโลกทำเอาผู้สนับสนุนโลกาภิวัตน์ตัวกลั่นอย่าง
Bill Clinton และ Tony Blair ถึงกับก้นร้อน
มี.ค.2000
Vodafone
นี่คือยอดสูงสุดของคลื่นแห่งการรวมกิจการเมื่อ Vodafone ยักษ์ใหญ่สัญชาติอังกฤษเริ่มการครอบงำกิจการแบบปรปักษ์มูลค่ามหาศาลถึง
180 พันล้านดอลลาร์กับ Mannesmann ของเยอรมนี
11 ก.ย.2001
วินาศกรรมสหรัฐฯ
หลังเหตุการณ์ ทุกฝ่ายต่างทำนายว่า โลกาภิวัตน์เองก็ตกเป็น "เหยื่อ" รายหนึ่งของวินาศกรรมครั้งนี้
พ.ย.2001
ประชุมสุดยอด Doha
เริ่มการเจรจาการค้าเสรีรอบใหม่ ซึ่งมีประเด็นใหม่ๆ อย่างเรื่องทรัพย์สินทางปัญญา
ธ.ค. 2001
Enron ล้มทั้งยืน
ทำให้เกิดเสียงเรียกร้องหามาตรฐานการทำธุรกิจเพื่อป้องกันกลโกงของบริษัทยักษ์ใหญ่ขี้ฉ้อ
ก.ค. 2002
ลาก่อน Messier
CEO สไตล์อเมริกันที่มีชื่อเสียงที่สุดของยุโรปถูกไล่ออก ทำให้เขากลับกลายเป็นสัญลักษณ์ของการคลายมนต์ขลังของโลกาภิวัตน์ไป