Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กันยายน 2537








 
นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2537
"มหาวิทยาลัยธุรกิจดีที่สุดของเอเชีย"             
 

   
related stories

"เอ็มบีเอ. บันไดสู่ความสำเร็จในโลกธุรกิจ"

   
search resources

MBA




ทุกวันนี้ ดูเหมือนว่านักเศรษฐศาสตร์ทุกคนมีความต้องการจะให้โลกได้เรียนรู้ถึงเศรษฐกิจของเอเชียตะวันออก แต่ประเทศในเอเชียตะวันออกเองกลับไม่สามารถสร้างโรงเรียนบริหารธุรกิจที่มีมาตรฐานสากลขึ้นมาได้ จึงไม่น่าแปลกใจที่จะไม่มีมหาวิทยาลัยของเอเซียที่ติดอันดับ 25 โรงเรียนบริหารธุรกิจชั้นยอด ในสายตาของนักธุรกิจและผู้บริหารชาวเอเซียด้วยกันเลย

ประวัติศาสตร์จะบอกได้ว่าเหตุใดมาตรฐานของมหาวิทยาลัยธุรกิจของภูมิภาคนี้จึงด้อยกว่าโลกตะวันตก

มหาเศรษฐีของอเมริการุ่นแล้วรุ่นเล่า มีความคิดว่าเป็นการคุ้มค่า ที่จะให้การสนับสนุนทางการเงินแก่สถาบันการศึกษา การจัดตั้งกองทุน มูลนิธิ ให้ทุนการศึกษาทั้งแก่ผู้ที่ต้องการเรียน และผู้ทำการสอนและงานวิจัย ซึ่งตรงกันข้ามกับผู้มั่งมีจากเอเซียที่ไม่ค่อยจะมีความคิดเช่นนี้

ประเด็นทางวัฒนธรรมก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่ง ชนชั้นนำซึ่งเป็นชนชั้นปกครอง ในสังคมเอเชียตะวันออก ทนไม่ได้กับการท้าทายจากผู้ที่บังอาจตั้งคำถามต่อจารีตหรือความเชื่อดั้งเดิม สิ่งสำคัญเหนืออื่นใดคือ ระบบสังคมของเอเซียได้รับอิทธิพลจากคำสอนของขงจื้อไม่ใช่โสเครติส การศึกษาส่วนใหญ่ก็ใช้วิธีการท่องจำเป็นหลัก

ทว่าในภาวะการแข่งขันของธุรกิจโลกปัจจุบันที่รุนแรงขึ้น การศึกษาด้านธุรกิจแบบตะวันตกที่อาศัยกรณีศึกษาเป็นหลัก ซึ่งลูกศิษย์มีหน้าที่ถกเถียงกันเอง และโต้แย้งกับอาจารย์เป็นวิธีการที่ได้ผลกว่า ไม่จำเป็นต้องจดจำสูตรคำนวณที่ซับซ้อนเพราะใช้เครื่องคิดเลขได้ สิ่งที่ต้องทำก็คือ รู้จักประยุกต์ใช้สูตรที่เหมาะสมกับการตัดสินใจที่ดีที่สุด ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของการสอนโดยใช้กรณีศึกษา

ระบบการศึกษาแบบเปิดกว้างนี่แหละ คือความสำเร็จของหลักสูตรเอ็มบีเอ. ชั้นยอด ไม่ใช่จำนวนหนังสือในห้องสมุดหรือจำนวนคอมพิวเตอร์

สำหรับในเอเชีย กระบวนการศึกษาที่ดีที่สุดยังคงไม่เปลี่ยนแปลงไปจากวิธีการดั้งเดิมมากนัก ในอดีตซินแสพเนจร เดินทางไปทั่วแผ่นดิน เพื่ออบรมบ่มความรู้แก่คนหนุ่ม ที่มีแววว่าจะก้าวไปเป็นขุนนางในเมืองหลวงได้ในอินเดียยุคโบราณมหาวิทยาลัยนาลันทะเลและตักศิลา คือขุมทรัพย์ทางปัญญาที่ดึงดูดผู้ไฝ่รู้ทุกสารทิศ ปัจจุบันสถาบันการศึกษาในภูมิภาคนี้ ใฝ่ฝันที่จะมีมนต์คาถาเรียกนักศึกษาให้หลั่งไหลมาเรียนมาก ๆ แบบนี้เหมือนกัน

คนที่มีหน้าที่สรรหาบุคลากรบางคนยืนยันว่า หลักสูตรการศึกษาของเอเชียนั้น จะมีความได้เปรียบสำหรับการทำงานในเอเชีย อย่างเช่น พรเลิศ รัตนันท์ กรรมการผู้จัดการของบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ เอสซีเอฟ จำกัด ซึ่งได้เอ็มบีเอ. จากโคลัมเบีย แต่เขาเห็นว่าเอ็มบีเอ. ที่ได้จากสถาบันศศินทร์เป็นสิ่งที่มีค่าสำหรับการทำธุรกิจในประเทศไทย เขาบอกว่า "ในเอเชียนั้น 'KNOW WHO' สำคัญกว่า 'KNOW HOW' คนที่จบจากศศินทร์เข้าใจเรื่องนี้ดี และมีเครือข่ายสายสัมพันธ์ที่ดีกว่า"

โปรแกรมเอ็มบีเอ. ที่ดีที่สุดในเอเชียคือที่ INTERNATIONAL UNIVERSITY OF JAPAN ที่เมืองนิกะตะ ซึ่งมีโครงการร่วมกับ AMOS TUCK SCHOOL OF BUSINESS ADMINISTRATION ของมหาวิทยาลัยดาร์ทเมาท์ของสหรัฐฯ ด้วย ที่นี่สอน เอ็มบีเอ. ทั้งแบบอเมริกา และญี่ปุ่น แต่ค่าเรียนค่อนข้างแพงไม่แพ้มหาวิทยาลัยดัง ๆ ของสหรัฐ ตกปีละประมาณ 17,370 เหรียญ หนึ่งในสามของนักศึกษาจะมาจากประเทศต่าง ๆ ในเอเชีย

สำหรับ ASIAN INSTITUTE OF MANAGEMENT (AIM) ที่มนิลา ฟิลิปปินส์ ดูจะเป็นมหาวิทยาลัยธุรกิจที่มีชื่อเสียงที่สุดในภูมิภาคนี้ สำหรับโปรแกรมการเรียนเมื่อเปรียบเทียบกับอเมริกาแล้ว วอชิงตัน ซีซิบ ประธานของสำนักตรวจบัญชีเอสจีวีที่ฟิลิปปินส์ กล่าวว่า "เอไอเอ็มให้ความรู้ด้านเครือข่ายในเอเชียได้เป็นอย่างดี ซึ่งเป็นประโยชน์สำหรับคนที่ทำงานในแถบนี้" นอกจากนั้นค่าเรียนยังถูกกว่า เพียง 6,100 เหรียญต่อปีเท่านั้น

ส่วน INDIA INSTITUTE OF MANAGEMENT ที่เมืองอาเมดาบัด ก็เช่นเดียวกับประเทศอินเดียที่พยายามนำพาตัวเองเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของระบบเศรษฐกิจโลก แต่ด้วยข้อจำกัดที่รับนักศึกษาได้เพียง 180 คนต่อปี จึงมีที่ให้นักศึกษาจากต่างประเทศได้ไม่กี่คน แม้ว่าค่าเรียนจะถูกเป็นอย่างมากเพียง 1,445 เหรียญต่อปีก็ตาม บริษัทข้ามชาติบางแห่งนิยมรับมหาบัณฑิตจากที่นี้เข้าไว้ในสังกัด

ในเมืองไทย ศศินทร์มีก้าวย่างการพัฒนาที่น่าทึ่ง นับแต่เริ่มก่อตั้งเมื่อปี 1982 โดยร่วมมือกับวาร์ตัน ของมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย แต่ค่าใช้จ่ายในการเรียนของศศินทร์ค่อนข้างแพงตกปีละ 16,710 เหรียญ

สุดท้าย ก็มีเอ็มบีเอแบบอเมริกาที่เปิดขึ้นที่ CHINESE UNIVERSITY OF HONH KONG แต่จะรับนักศึกษาเต็มเวลาเพียง 45 คนต่อปีเท่านั้น ค่าเล่าเรียนปีละ 3,100 เหรียญ ซึ่งนับว่าถูกมาก โดยเฉพาะเมื่อคิดถึงผลตอบแทนที่จะกลับคืนมาจากเครื่องจักรปั๊มเงินที่มีอยู่ดาษดื่นในฮ่องกง หลังจากเรียนจบแล้ว

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us