|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
แบงก์กรุงไทยวางเป้า บล.ทีเอสอีซี มีกำไรในปี 50 พร้อมดันเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ภายใน 2 ปีข้างหน้า ยันคงถือหุ้นทรีนีตี้เหมือนเดิม “ชาญชัย” มั่นใจศักยภาพของผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ดันเป็นโบรกเกอร์ ติด 1 ใน 5 ที่มีมาร์เกตแชร์สูงสุด ภายใน 3 ปี มุ่งเน้นบริการครบวงจร ด้านผู้บริหารวาณิชธนกิจ หวังเทียบชั้นบล.ภัทร ในอนาคต
นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกรุงไทย (จำกัด) มหาชน หรือ KTB เปิดเผยว่า การที่ธนาคารเข้าถือหุ้นในบริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ทีเอสอีซี จำกัด ในสัดส่วน 50% ของทุนจดทะเบียน เนื่องจากมองว่าเป็นบริษัทหลักทรัพย์ที่มุ่งเน้นการทำธุรกิจกับนักลงทุนรายย่อยซึ่งเป็นสิ่งที่ธนาคารต้องการ ประกอบกับเป็น บล.ขนาดเล็กทำให้ใช้เงินลงทุนไม่มากนัก และการที่บล.ทีเอสอีซี อยู่นอกตลาด จึงสามารถสร้างผลตอบแทนที่ดีในอนาคต ซึ่งหวังว่าผลประกอบการของ บล.ทีเอสอีซี ในปีหน้า จะมีผลประกอบการที่มีกำไร จากปี 49 ที่มีผลขาดทุนลดลง โดยวางเป้าหมายว่า จะนำเข้าไปจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ภายใน 2 ปีข้างหน้า
ทั้งนี้ธนาคารต้องการที่จะผลักดันให้บล.ทีเอสอีซี ขึ้นเป็นโบรกเกอร์ขนาดใหญ่ในอนาคตซึ่งธนาคารพร้อมที่จะให้การสนับสนุนเต็มที่ โดยตั้งเป้าว่าหลังจากที่ธนาคารเข้ามาถือหุ้นเป็นเวลา 1 ปีแล้ว จะมีส่วนแบ่งการตลาด (มาร์เกตแชร์) 1-1.5% ในกลางปี 2550 จากปัจจุบันที่มีมาร์เกตแชร์อยู่ที่ 0.6%
สำหรับการลงทุนในบริษัท ทรีนีตี้ วัฒนา จำกัด (มหาชน) หรือ TNITY ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของบล.ทรีนีติ้ โดยธนาคารจะยังคงถือหุ้นประมาณ 10% เหมือนเดิมและคาดว่าลงทุนในระยะยาวคงจะไม่มีการขายหุ้นออกมา ซึ่งรวมถึงการถือหุ้นในบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม (บลจ.) กรุงไทย จำกัด ธนาคารก็ยังคงยืนยันที่จะถือหุ้นในสัดส่วน 100% เช่นเดิม เพราะมองว่าธุรกิจของบลจ.มีความเกี่ยวเนื่องกับธุรกิจของธนาคารอยู่แล้วจึงสามารถเกื้อหนุนกันได้
นายชาญชัย กุลถาวรากร ประธานกรรมการบริหาร บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ทีเอสอีซี จำกัด กล่าวว่า หลังจากที่ธนาคารกรุงไทยเข้ามาถือหุ้นของบริษัทนั้น บริษัทเตรียมที่จะเปลี่ยนชื่อเป็น บล.เคทีบี ซึ่งบริษัทจะได้ประโยชน์จากฐานทุนของธนาคารเข้ามาสนับสนุนธุรกิจนายหน้าค้าหลักทรัพย์ รวมถึงธุรกิจวาณิชธนกิจ นอกจากนี้ยังจะมุ่งเน้นในเรื่องการจัดทำบทวิเคราะห์ และการซื้อขายหลักทรัพย์ผ่านอินเตอร์เน็ต (อินเตอร์เน็ตเทรดดิ้ง)
ทั้งนี้บริษัทตั้งเป้าว่าภายในระยะเวลา 3 ปี จะขึ้นเป็นบริษัทหลักทรัพย์ที่มีมาร์เกตแชร์สูงสุด 1 ใน 5 จากปัจจุบันบริษัทหลักทรัพย์ที่มีมาร์เกตแชร์ติด 1 ใน 10 จะมีมาร์เกตแชร์อยู่ที่ 4-7% ซึ่งขณะนี้บริษัทมีมาร์เก็ตแชร์ 0.6-0.9% โดยบริษัทมั่นใจว่าจะสามารถทำได้ตามเป้าหมาย เพราะบริษัทมีแผนที่จะเพิ่มสัดส่วนลูกค้าสถาบันทั้งในประเทศและต่างประเทศเพิ่มขึ้น จากขณะนี้ที่บริษัทมีสัดส่วนลูกค้าเป็นนักลงทุนรายย่อยทั้งหมด
“ปัจจุบันบริษัทมีลูกค้ารายย่อยเปิดบัญชี 3,000 บัญชี ซึ่งมีการซื้อขายอย่างสม่ำเสมอ 30% ซึ่งในอนาคต บริษัทมีลูกค้าสถาบันเพิ่มขึ้น ก็ทำให้มั่นใจว่าจะทำได้ตามเป้าหมายที่แบงก์กรุงไทยกำหนดไว้ และแบงก์กรุงไทยก็ให้การสนับสนุน เช่น การเปิดสามารถ ไซเบอร์บาร์น ตามสาขาของธนาคาร รวมถึงจะมีการเปิดสาขาเต็มรูปแบบเพิ่มขึ้นอีก” นายชาญชัย
นายบุญชัย ศรีปรัชญาอนันต์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์ ทีเอสอีซี จำกัด กล่าวว่า บริษัทมีแผนที่จะเพิ่มพนักงานด้านวาณิชธนกิจให้มีความแข็งแกร่งและเป็นที่ยอมรับ โดยตั้งเป้าว่า ภายในเวลา 3 ปี จะเป็นบริษัทหลักทรัพย์ที่มีทีมวาณิชธนกิจชั้นนำของประเทศไทย เหมือนกับ บล.ภัทร ที่มีทีมวาณิชธกิจที่เป็นที่ยอมรับ โดยตนพร้อมที่จะนำประสบการณ์จากการเป็นผู้บริหารใน บล.ภัทร เข้ามาช่วยและยังได้รับการสนับสนุนจากธนาคารกรุงไทย ที่จะแนะนำลูกค้าให้ โดยคาดว่าจะเป็นที่ปรึกษาทางการเงินในการนำบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์บริษัทแรกในปีหน้า ทั้งนี้บริษัทที่เป็นกลุ่มเป้าหมายในการนำเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์จะมีขนาดตั้งแต่ 500 ล้านบาทขึ้น
นายไกรฤทธิ์ อุชุกานนท์ชัย ประธานกรรมการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม (บลจ.) กรุงไทย จำกัด กล่าวว่า หลังจากที่บล.ทีเอสอีซี เข้ามาเป็นบริษัทในเครือของธนาคารกรุงไทย เชื่อว่าความร่วมมือระหว่างบริษัทกับ บล.ทีเอสอีซี จะมีมากขึ้น โดยมีโอกาสที่ทางบลจ.กรุงไทย จะมีการส่งคำสั่งซื้อขายหลักทรัพย์ ผ่าน บล.ทีเอสอีซี
ทั้งนี้บล.ทีเอสอีซี จะต้องมีความพร้อมในแง่ของงานวิจัยที่จะนำเสนอให้กับบลจ. เหมือนกับบริษัทหลักทรัพย์อื่นๆ ที่มีงานวิจัยให้กับ บลจ.กรุงไทย ในฐานะที่เป็นลูกค้า เพราะบริษัทเองก็ต้องคำนึงถึงประโยชน์ของผู้ถือหน่วยลงทุนเช่นกัน โดยปัจจุบัน บลจ.กรุงไทย ก็มีการส่งคำสั่งซื้อขายหลักทรัพย์ให้กับบล.หลายแห่ง รวมถึง บล.ทรีนีตี้ ซึ่งเป็นบริษัทในเครือธนาคารกรุงไทยเช่นกัน
|
|
|
|
|