|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
โฆษณาเป็นเครื่องมือที่มีมานาน สำหรับการตลาดในโลกทุนนิยมที่ใช้กำไรเป็นตัวชี้วัดความสำเร็จ ไม่มีใครสงสัยว่าโฆษณาได้ผลหรือไม่ แต่ปัญหาที่เพียรถามกันอยู่ตลอดมาก็คือ ทำอย่างไรโฆษณาจึงจะได้ผลตามที่นักการตลาดปรารถนา
ถ้าเราจะนับว่าวิชาประเภทแพทย์ วิศวกรรม ทันตกรรม เป็นสิ่งที่พิสูจน์ได้ หรือเรียกว่าเป็นวิทยาศาสตร์ ผมก็ใคร่จะเรียกวิชาทางศิลปศาสตร์ โดยเฉพาะโฆษณาว่าเป็นไสยศาสตร์ หรือว่ามนต์ดำ ด้วยว่ามีผู้พยายามอธิบายอยู่ตลอดมา โดยอิงแนวคิดต่างๆมากมาย
แต่ก็ใช่ว่าจะประสบความสำเร็จทุกครั้งถ้าทำตามแนวคิดที่ว่า หรือร้ายกว่านั้นสินค้าถึงม้วยคามือไปก็หลายหน เปรียบได้กับการที่ไอน์สไตน์พยายามอธิบายจักรวาล ด้วยทฤษฎีสัมพันธ์ภาพเพียงทฤษฎีเดียว และไม่ประสบความสำเร็จ แต่ทฤษฎีควันตั้มที่ศึกษาความเป็นไปได้ที่มีนับคณา กลับสามารถอธิบายการเกิดขึ้นและดำเนินไปของจักรวาลได้ดีกว่า โฆษณาก็เช่นกัน การใช้แนวคิดเดียว ทฤษฎีเดียว หรือกรณีศึกษาเดียว มาเพื่ออธิบายการได้ผลของโฆษณา หรือแม้แต่รวมเอาทุกแนวคิดมาอธิบาย ก็ใช่ว่าจะได้ผล ด้วยเหตุเพราะพลวัตรของตลาด ซึ่งแน่นอนว่าผู้บริโภคเป็นตัวแปรที่สำคัญ อย่างที่พุทธเจ้าทรงตรัสรู้ไว้เมื่อ 2,500 ปีก่อนว่า 'อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา' สรรพสิ่งล้วนไม่เที่ยง
อย่างไรก็ตามวันนี้จะพยายามสร้างปัจจัยที่ควรพิจารณา เพื่อทำให้โฆษณาของคุณๆได้ผล หรืออย่างน้อยมีผลงานที่เป็นมาตรฐานหนึ่งที่พอรับได้ แต่ก่อนอื่นคุณๆต้องเข้าใจเสียก่อนว่า โฆษณามีเรื่องสองเรื่องที่ทับกันอยู่ นั่นคือ ตัวเนื้อสารกับช่องทางส่งสาร เนื้อสารหมายถึงเนื้อหาโฆษณา ที่คุณๆพยายามจะคุยกับผู้บริโภคให้ซื้อสินค้าหรือบริการของคุณ กับช่องทางส่งสารซึ่งก็คือ สื่อโฆษณาที่คุณเลือกให้เข้าถึงผู้บริโภคเป้าหมาย ดังนั้นเมื่อคุณจะพิจารณาปัจจัยที่จะทำให้โฆษณาได้ผล คุณจะต้องพิจารณาคู่ขนานพร้อมกันไปทั้ง 2 เรื่องเสมอ เอาล่ะครับเรามาว่าถึงปัจจัยที่ควรพิจารณาดังนี้
ปัจจัยที่หนึ่ง พฤติกรรมผู้บริโภคที่มีต่อสินค้าหรือบริการ ในประเภทสินค้าที่เราอยู่ในตลาดนั้นๆ หมายถึงก่อนที่คุณจะทำโฆษณา จะต้องทราบให้ถ่องแท้ซะก่อนทั้งสองแกน ทั้งแกนวิจัยเชิงปริมาณและแกนเชิงคุณภาพ ว่าผู้บริโภคมีความต้องการอย่างไร ชอบเนื้อสารแบบไหน บริโภคสื่อสารมวลชนแบบไหนอย่างไรบ้าง พูดไปทำไมมี ผมได้ไปเจอโมเดลที่เรียกว่าเป็นการวางแผนให้โฆษณาได้ผล ซึ่งเป็นของ Foote, Cone & Belding ที่ว่าถึงการมีส่วนร่วมของผู้บริโภคต่อสินค้า (Involvement) เป็นแกนหนึ่ง กับอีกแกนเป็นเรื่องของการแบ่งพฤติกรรมผู้บริโภคออกเป็นพวกใช้ความคิดกับใช้อารมณ์ ผมจะไม่อธิบายอะไรมาก เพราะแผนผังที่ว่าชัดเจนในตัวเองอยู่แล้ว แต่อย่างที่บอกไว้ตั้งแต่แรกว่าโฆษณาเป็นไสยศาสตร์ ซึ่งคาดผลอย่างแน่นอนแบบเชิงวิทยาศาสตร์มิได้ แต่ผมก็ค่อนข้างชอบโมเดลนี้ เพราะทำให้คิดต่อยอดได้พอควร กรุณาดูแผนผังประกอบคอลัมน์นะครับ
ปัจจัยที่สอง การสร้างสรรค์เนื้อสาร ในโมเดลที่ผมยกมาประกอบได้บอกไว้เป็นแนวทางบ้างเช่นกันว่า ถ้าเป็นผู้บริโภคที่ชอบข้อมูลมากๆ ในสินค้าประเภทรถยนต์ บ้าน ไปจนถึงสินค้าใหม่ (ข้อ 1 มุมบนซ้ายมือ) เนื้อสารควรเป็นข้อมูลที่จำเพาะเจาะจงที่แสดงให้เห็นได้ ซึ่งต้องใช้คำบรรยายความยาวๆให้เข้าใจ ดังนี้เป็นต้น แต่อย่างไรกันล่ะครับที่จะเป็นภาษาที่จะสื่อสารให้ได้ผล ตอบได้แบบกำปั้นทุบดินว่า ภาษาที่ผู้บริโภคสนใจฟัง สร้างความสนใจและสร้างแรงจูงใจไปพร้อมกัน ซึ่งถ้าคุณๆไม่แน่ใจเนื้อสาร ก็ขอให้ทดสอบกับกลุ่มย่อยก่อนการตัดสินใจ ก็จะสามารถลดความเสี่ยงได้
ปัจจัยที่สาม การงบประมาณ อันนี้เกี่ยวข้องกับสื่อโฆษณาโดยตรง ซึ่งถึงแม้เนื้อสารจะดี (ช่วยทุ่นค่าใช้จ่ายด้านสื่อโฆษณา) ก็ตาม แต่ถ้าไม่สามารถสื่อให้ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมาย ให้ได้มากที่สุดในจำนวนครั้งที่เหมาะสมก็เปล่าประโยชน์ แล้วแบบไหนจึงจะเหมาะสม เอาเป็นซัก 80% สำหรับการเข้าถึง และได้เห็น 4-10 ครั้งต่อเดือน ก็น่าที่จะพอเพียง แต่ก็มีตัวอย่างสินค้าในตลาดมากมายที่ไม่มีงบประมาณโฆษณา หรือมีแต่น้อย ยังสามารถเติบโตขึ้นมาได้ แต่เชื่อเถอะครับว่าจะโตได้เพียงระดับท้องถิ่น ซึ่งถ้าเล่นในสนามระดับชาติต้องประมาณที่ผมว่าล่ะครับ
สุดท้ายทั้งสามปัจจัยที่ว่า เป็นปัจจัยหลักใหญ่ที่จะทำให้โฆษณาได้ผล แต่ถ้าเป็นปัจจัยรองและรายละเอียดอื่นๆ จะว่าได้อีกกระบุงโกย แต่ส่วนใหญ่ก็ล้วนแล้วแต่เป็นแนวคิดที่พยายามจะทำให้เชื่อว่า ทำแบบนี้แล้วโฆษณาจะได้ผล แต่เชื่อเถอะครับ โฆษณาเป็นศิลปะแห่งการศึกษาพฤติกรรมมนุษย์ แม้แต่พระอินทร์ลงมาเขียวๆ บอกว่าทำโฆษณาแบบนี้จะได้ผล ผมว่านักการตลาดก็ยังคงบอกว่าไม่เชื่ออยู่ดี ฮ่า!
How Advertising Works : Planning Model
THINKING FEELING
- H I 1. INFORMATIVE (THINKER) 2. AFFECTIVE (FEELER)
- I N CAR-HOUSE-FURNISHINGS - JEWELRY-COSMETICS-FASHION
- G V NEW PRODUCTS APPAREL-MOTORCYCLES
- H O MODEL: LEARN-FEEL-DO MODEL: FEEL-LEARN-DO
- L (Economic?) (Psychological?)
- M TEST: Recall TEST: Attitude Change
- E Diagnostics Emotion Arousal
- N MEDIA: Long Copy Format MEDIA: Large Space
- T Reflective Vehicles Image Specials
CREATIVE: Specific Information CREATIVE: Executional Demonstration Impact
- L I 3. HABIT FORMATION (DOER) 4. SELF-SATISFACTION (REACTOR)
- O N FOOD-HOUSEHOLD ITEMS CIGARETTES-LIQUOR-CANDY
- W V MODEL: DO-LEARN-FEEL MODEL: DO-FEEL-LEARN
- O (Responsive?) (Social?)
- L Possible Implications Possible Implications
- V TEST: Sales TEST: Sales
- E MEDIA: Small Space Ads MEDIA: Billboards
- M 10 Second I.D.'s Newspaper
- E Radio: POS POS
- N CREATIVE: Reminder CREATIVE: Attention
T
|
|
|
|
|