Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์25 กันยายน 2549
สินเชื่อบ้านครึ่งปีแรกหดรอฟื้นตัวเมื่อรัฐบาลชัดเจน             
 


   
search resources

Loan




ภาวะตลาดอสังหาริมทรัพย์โดยรวมที่ผ่านมาอยู่จังหวะชะลอตัว เนื่องมาจากการกำลังซื้อของผู้บริโภคลดลงจากปัจจัยลบต่างๆ ที่มากระทบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอัตราดอกเบี้ย MLR ที่เพิ่มสูงขึ้นไปตามการปรับตัวของธนาคารกลางสหรัฐ (FED) กลายเป็นภาระที่หนักอึ้งเพิ่มขึ้นของคนที่กำลังผ่อนบ้านอยู่แล้ว ต้องผ่อนค่างวดต่อเดือนเพิ่มขึ้น รวมถึงผู้ที่คิดจะซื้อบ้านต้องคิดหนักขึ้นว่าจะรับภาระไหวหรือไม่

ศูนย์วิจัยกสิกรไทยสรุปภาวะสินเชื่อที่อยู่อาศัยว่า ในครึ่งปีที่ผ่านมาการเติบโตของสินเชื่อที่อยู่อาศัยมีความผันผวนมาก โดยในไตรมาส 1 ทั้งระบบมีการปล่อยสินเชื่อเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วเพียง 0.45% สาเหตุมาจากภาครัฐวิสาหกิจ คือ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ และธนาคารออมสินมีการปล่อยสินเชื่อเพิ่มขึ้น 3% ในขณะที่ธนาคารพาณิชย์มียอดการปล่อยสินเชื่อเพียง -1.89% ต่ำกว่าปีที่ผ่านมา จึงทำให้อัตราการเติบโตทั้งระบบลดลง ทั้งนี้การมาจากผู้บริโภคอยู่ในภาวะช็อคจากการปรับตัวขึ้นของราคาน้ำมันและอัตราดอกเบี้ย ทำให้ไม่สามารถคาดการณ์อนาคตได้ รวมทั้งได้รับผลกระทบจากความไม่แน่นอนทางการเมือง

ส่วนในไตรมาสที่ 2 ของปีนี้อัตราการปล่อยสินเชื่อที่อยู่อาศัยเพิ่มสูงขึ้นเล็กน้อย เนื่องจากผู้บริโภคได้มองเห็นว่าอัตราดอกเบี้ยขึ้นมาถึงจุดสูงสุดแล้ว ประกอบกับการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันเริ่มชะลอตัว ทำให้ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคกลับคืนมา ส่งผลให้มีการตัดสินใจซื้อบ้านมากขึ้น บวกกับมีกระตุ้นตลาดที่อยู่อาศัยด้วยการจัดงานมหกรรมบ้านและคอนโด การจัดแคมเปญทางการเงินของสถาบันการเงิน เพื่อเร่งยอดขายก่อนปิดบัญชีงวดครึ่งปีให้ได้ตัวเลขที่ดี

การคาดการณ์ต่อจากนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า ทิศทางของอัตราดอกเบี้ยได้ขั้นมาถึงจุดสูงสุดแล้ว โดยคาดว่าทั้งปีนี้จะขยายตัว 12% ลดลงจากปีที่แล้วซึ่งอยู่ในอัตรา 15.9% เนื่องมาจากในไตรมาสแรกมียอดที่ตกต่ำค่อนข้างมาก ในแง่ของส่วนแบ่งตลาดสินเชื่อที่อยู่อาศัยของธนาคารพาณิชย์จะขยายตัวอีก 11% ใกล้เคียงกับอัตราการเติบโตของทั้งระบบ

ชาติชาย พยุหนาวีชัย ผู้อำนวยการฝ่ายอาวุโส ฝ่ายบริหารผลิตภัณฑ์และการตลาดสินเชื่อผู้บริโภค ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ในอนาคตส่วนแบ่งตลาดสินเชื่อที่อยู่อาศัยระหว่างธนาคารพาณิชย์และธนาคารของรัฐน่าจะอยู่ในสัดส่วนใกล้เคียงกัน แต่ทั้งนี้ต้องรอดูว่ามาตรการอัตราสินเชื่อคงที่ 20 ปีของ ธอส. ที่กระทรวงการคลังจะมีความคิดจะนำมาใช้เพื่อช่วยให้คนได้มีบ้านหลังแรกจะทำให้ส่วนแบ่งตลาดของ ธอส.สูงขึ้นกว่าธนาคารพาณิชย์หรือไม่

ส่วนสถานการณ์ในปีหน้าของสินเชื่อที่อยู่อาศัยน่าจะอยู่ในภาวะที่ไม่น่าหนักใจ เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยที่เริ่มคงที่ อัตราดอกเบี้ยนโยบายและ FED จะลดลง ซึ่งจะเป็นปัจจัยบวกต่อธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ แต่ทั้งนี้คงต้องรอให้สถานการณ์ทางการเมืองมีความแน่นอน มีการเลือกตั้ง ได้จัดตั้งรัฐบาล จะทำให้บรรยากาศการลงทุนดีขึ้น โดยปีหน้าภาวะเศรษฐกิจจะทรงตัวไปจนถึงไตรมาส 2 ซึ่งคาดว่าจะเป็นช่วงที่จำนวนสินเชื่อที่อยู่อาศัยจะตกต่ำที่สุด และจะค่อยเติบโตขึ้นในปี 2551-2552 ภาคอสังหาริมทรัพย์จะเติบโตขึ้นชัดเจนอย่างค่อยเป็นค่อยไป และจะเป็นการเติบโตจากผู้ที่มีความต้องการที่อยู่อาศัยที่แท้จริง มากกว่าในปี 2544-2545 ที่เป็นการเติบโตจากนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐบาล

ส่วนในด้านนโยบายของกระทรวงการคลังที่จะช่วยเหลือผู้มีบ้านหลังแรก จะไม่เป็นกระตุ้นตลาดบ้านในระดับกลางที่มีราคาไม่เกิน 3 ล้านบาทได้มากนัก เนื่องจากเป็นนโยบายช่วยเหลือประชาชนในระดับรากหญ้าซึ่งไม่ใช่กลุ่มเป้าหมายของตลาดอสังหาริมทรัพย์ในขณะนี้ที่ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มคนที่มีฐานะปานกลาง

กิตติ พัฒน์พงศ์พิบูล ประธานสมาคมสินเชื่อที่อยู่อาศัย กลับมองต่างไปว่าสถานการณ์สินเชื่อที่อยู่อาศัยน่าจะซบเซายาวถึงสิ้นปี 2550 คนจะกู้วงเงินได้น้อยลง 15-20% นโยบายของรัฐบาลควรจะเป็นเชิงรุกมากกว่าเชิงรับ เพื่อไม่ให้สถานการณ์เลวร้ายไปกว่านี้ หากจะรอให้ฟื้นในปีหน้า หรือเมื่อได้ตั้งรัฐบาล และได้ใช้มาตรการการคลังมากระตุ้นก็อาจจะช้าเกินไป และมีความไม่แน่นอนสูง แม้ว่าปีหน้าจะมีโครงการบ้านเอื้ออาทรที่จะทยอยเสร็จอีกหลายยูนิตมาเพิ่มปริมาณสินเชื่อ แต่ก็มีสัดส่วนมูลค่าที่น้อยมาก   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us