|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
เอซีนีลเส็น เผยผลสำรวจพบผู้บริโภคไทยติดอันดับหนึ่งในเรื่องของการออมเงินที่เหลือจากการใช้จ่ายสิ่งของที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต ซึ่งส่วนหนึ่งเกิดจากความเชื่อมั่นของผู้บริโภคไทยที่ลดลงจากระดับ 96 เป็น 95 จุด เมื่อเทียบกับหกเดือนที่ผ่านมา ขณะที่ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคทั่วโลกยังคงอยู่ในระดับเดิมจากปี 2548 แต่ทั้งนี้ผู้บริโภคไทยยังเชื่อมั่นว่าสถานะทางการเงินของตนเองจะดีขึ้นในปีหน้า โดยสินค้าที่ได้รับความสนใจจากผู้บริโภคจำนวนมากคือการท่องเที่ยว เทคโนโลยี และเสื้อผ้า
"สาเหตุที่ผู้บริโภคมีความต้องการที่จะออมเงินมากในภาวะนี้ อาจจะอธิบายได้จากความกังวลที่เพิ่มมากขึ้นเกี่ยวกับโอกาสในด้านการงาน และความลังเลในการตัดสินใจซื้อสินค้าที่ตนเองต้องการภายในอีก 12 เดือนข้างหน้า" จันทิรา ลือสกุล กรรมการผู้จัดการ เอซีนีลเส็น (ประเทศไทย) กล่าว
การสำรวจความเชื่อมั่นและความคิดเห็นออนไลน์ของผู้บริโภคทั่วโลกของเอซีนีลเส็น ที่จัดทำขึ้นในช่วงปลายเดือนพฤษภาคมถึงต้นเดือนมิถุนายนในปี 2549 เพื่อสำรวจระดับความเชื่อมั่น, พฤติกรรมและแนวโน้มการใช้จ่ายของผู้บริโภคทั่วโลก จากผู้ใช้อินเตอร์เน็ตประมาณ 21,780 คน ใน 40 ประเทศ จากทวีปยุโรป เอเชียแปซิฟิค อเมริกาเหนือ
ผู้บริโภคชาวอินเดียครองแชมป์ระดับความเชื่อมั่นสูงสุด
ประเทศอินเดียยังคงติดอันดับแรกของโลก ด้วยคะแนนสูงสุดที่ 131 เป็นปีที่สามติดต่อกันตั้งแต่มีการจัดทำการสำรวจความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเมื่อต้นปี 2548 ตามมาด้วยกลุ่มชาวสแกนดิเนเวียน โดยชาวนอร์เวย์ที่มีความเชื่อมั่นเป็นอันดับสองของโลกโดยมีคะแนนอยู่ที่ระดับ 130 และชาวเดนมาร์กเป็นอันดับที่สามโดยมีคะแนนอยู่ที่ระดับ 127 ตามลำดับ
ขณะที่ความกังวลเกี่ยวกับโอกาสในการได้งานทำมีสูงขึ้นทั้งผู้บริโภคไทยและทั่วโลก โดยอัตราความกังวลเพิ่มมากขึ้น จากการสำรวจในเดือนพฤศจิกายน ปี 2548 ที่ผู้บริโภคคิดว่า "ไม่ค่อยดี" จาก 55% เพิ่มเป็น 62% แต่กว่าครึ่งของผู้บริโภคชาวไทยเชื่อมั่นในสถานภาพทางด้านการเงิน ส่วนผู้บริโภคในเอเชียแปซิฟิคจัดอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีความระมัดระวังทางด้านการเงินมากที่สุดในโลก ซึ่งจะเห็นได้จากจำนวนกว่าครึ่งของผู้บริโภค 52% ที่มีความสบายใจในด้านสถานะทางการเงินของตนน้อยที่สุดในปีหน้า ลดลงถึง 9%จากการสำรวจครั้งที่ผ่านมา อย่างไรก็ตามผู้บริโภคชาวไทยกว่าครึ่งหรือคิดเป็น 57% มีความมั่นใจกับสถานะทางการเงินของพวกเขาในอีก 12 เดือนข้างหน้า
ชาวไทยตื่นตัวในการออมมากที่สุดในโลก
ประเทศไทยจัดอยู่ในลำดับแรกของโลกที่มีจำนวนนักออมมากที่สุดถึง 70% โดยเพิ่มขึ้นถึง 15% จากการสำรวจครั้งก่อนในเดือนพฤศจิกายน ปี 2548 ส่วนผู้บริโภคในฟิลิปปินส์มีสถิติการออม 63% สิงคโปร์ และไต้หวัน 60% ซึ่งถือเป็นนักออมลำดับต้นๆของโลก ทั้งนี้หากมองภาพรวมในระดับภูมิภาคแล้วจะพบว่าเอเชียแปซิฟิคมีผู้บริโภคมากถึง 54% ที่เก็บเงินออมในส่วนที่เหลือจากการใช้จ่ายที่จำเป็น เมื่อเทียบกับทวีปอเมริกาเหนือมีเพียง 37% ส่วนยุโรปมีแค่ 29% เท่านั้น
"ปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจและการเมืองยังคงเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการออมของผู้บริโภคชาวไทยในระดับที่สูงกว่าประเทศอื่นในโลก และด้วยความกังวลเกี่ยวกับเศรษฐกิจและความไม่มั่นคงทางการเมือง การเก็บเงินที่เหลือหลังจากใช้จ่ายสิ่งที่จำเป็นน่าจะเป็นทางเลือกที่ปลอดภัยที่สุดสำหรับผู้บริโภคในภาวะเช่นนี้" จันทิรา กล่าว
ผู้บริโภคมากกว่าครึ่งจากทั่วโลก รวมทั้งผู้บริโภคไทยที่เชื่อว่าในช่วง 12 เดือนนับจากนี้ไม่ใช่เวลาที่เหมาะสมในการซื้อสินค้าที่ตนต้องการ มีเพียงชาวยุโรป 40% และผู้บริโภคในเอเชียแปซิฟิค 34% ที่คิดว่าเป็นเวลาที่เหมาะสมในการซื้อ ขณะที่ทวีปอเมริกาเหนือ 48% คิดว่าเป็นเวลาที่เหมาะกับการจับจ่าย ทั้งที่มีความกังวลเกี่ยวกับหนี้สินส่วนบุคคลเพิ่มขึ้น รวมถึงราคาน้ำมันที่แพงขึ้น นอกจากนี้ผู้บริโภคจำนวนมากยอมรับว่าไม่มีเงินเหลือเก็บเมื่อเทียบกับการสำรวจรอบที่แล้ว
ทั้งนี้ผู้บริโภคจาก เดนมาร์ก 74% นอร์เวย์ 65% และอินเดีย 61% ยังเป็นผู้ที่สนุกสนานกับการจับจ่ายใช้สอยในอีก 12 เดือนข้างหน้ามา สำหรับเอเชียแปซิฟิค ผู้บริโภคมากกว่าครึ่งใน ฮ่องกง 54% ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ 52% ต่างก็คิดว่าเป็นเวลาดีที่จะสนองความต้องการของตนเองในการจับจ่ายใช้สอยเพื่อความเพลิดเพลิน
ท่องเที่ยว รายจ่ายยอดฮิตของผู้บริโภคไทย
ผู้บริโภคในเอเชียแปซิฟิคมีการใช้จ่ายเพื่อการท่องเที่ยวและพักผ่อนหย่อนใจ 37% และถือเป็นทางเลือกลำดับต้นๆที่ผู้บริโภคนิยมมาโดยตลอด ทั้งนี้ประเทศไทยได้รับการจัดให้อยู่ในลำดับสูงสุดของทวีปเอเชียแปซิฟิค และอันดับสองของโลกที่นิยมใช้จ่ายในด้านการท่องเที่ยวโดยมีผู้บริโภคไทยมากถึง 58% ที่ใช้จ่ายเพื่อการท่องเที่ยว ส่วนทางเลือกอื่นพบว่าผู้บริโภคกว่า 30% นิยมใช้จ่ายไปกับความบันเทิงนอกบ้าน และ 28% ใช้จ่ายเพื่อซื้อเสื้อผ้าใหม่ ส่วนสินค้าเทคโนโลยีมีผู้บริโภคให้ความสนใจ 24%
คนเอเชีย สนใจลงทุนธุรกิจการเงิน
การสำรวจทั่วโลกยังพบอีกว่าประเทศในแถบเอเชียแปซิฟิคสนใจการลงทุนในธุรกิจการเงินมากกว่าประเทศในภูมิภาคอื่น โดยเห็นได้จากผู้บริโภคหนึ่งในสี่คนเลือกที่จะลงทุนในหลักทรัพย์ และกองทุนรวม โดยประเทศในกลุ่มเอเชียแปซิฟิค 7 ประเทศได้รับการจัดอันดับให้อยู่ในสิบอันดับแรกของโลกที่สนใจการลงทุนด้านการเงิน นำโดยประเทศไตหวัน 42% ฮ่องกงและอินเดีย 40%
|
|
|
|
|