Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กันยายน 2537








 
นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2537
"หวั่งหลีสูญเสีย "สุวิทย์" จุดเปลี่ยนแปลงสำคัญใน 123 ปี"             
 


   
search resources

สุวิทย์ หวั่งหลี




นับตั้งแต่ปี 2414 จวบจนถึงปัจจุบัน 123 ปีแห่งตำนานเก่าแก่ของคนในตระกูลหวั่งหลีได้เริ่มต้นเมื่อ "ตันฉื่อฮ้วง" บรรพบุรุษต้นตระกูลหวั่งหลีคนแรก ได้เดินทางมาติดต่อค้าขายและลงหลักปักฐานในเมืองไทย กิจการส่งออก-นำเข้า และโรงสีที่ใหญ่ที่สุดได้กลายเป็นฐานเงินทุนที่สั่งสมให้คนรุ่นหลังในครอบครัวใหญ่เช่นนี้ได้ดำรง รักษาสถานภาพทางสังคมและเศรษฐกิจไว้อย่างเป็นปึกแผ่นมั่นคง

สุวิทย์ หวั่งหลี เกิดและตายในห้วงเวลาที่สำคัญของการเปลี่ยนแปลงของคนในตระกูลหวั่งหลี สุวิทย์เป็นคนหวั่งหลีในรุ่นที่สี่ เป็นบุตรชายคนโตของตันซิวเม้งและทองพูน

ช่วงเวลาที่สุวิทย์ยังเยาว์เหตุการณ์ผันแปรทางการเมืองไทยที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงการปกครองของคณะราษฎร์และในปี 2488 ตันซิวเม้ง บิดาของสุวิทย์ต้องถูกปองร้ายถึงชีวิตในสงครามต่อต้านญี่ปุ่นในฐานะผู้นำชาวจีนโพ้นทะเลในไทย

นี่คือสาเหตุสำคัญที่สุดที่ทำให้คนในตระกูลหวั่งหลีในรุ่นต่อมาไม่พยายามยุ่งเกี่ยวกับการเมือง

จวบจนกระทั่งวันศุกร์ที่ 19 สิงหาคม 2537 อุบัติเหตุเครื่องบินตกได้ปลิดชีวิตของสุวิทย์ไปอย่างไม่คาดคิด !! เป็นการสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ของคนตระกูลหวั่งหลีและเป็นโศกนาฏกรรมครั้งแรกของสมาคมสโมสรการบินพลเรือนในรอบ 14 ปี

ในปี 2520 สุวิทย์สมัครเป็นสมาชิกสมาคมสโมสรการเรียนขับเครื่องบินคอร์สพิเศษ คอร์สละ 40,000 บาทฝึกบินจนถึงระดับชั้นแนวหน้าที่มีเพดานบินกว่า 1,000 ชั่วโมงและเป็นอุปนายกสมาคมฯ

เมื่อปี 2534 รัฐบาลอนุญาตให้เอกชนมีเครื่องบินส่วนตัวได้สุวิทย์ดีใจมากและได้ซื้อพาหนะ คู่ใจ "TB 20/L" มูลค่าไม่ต่ำกว่า 5 ล้านบาทจากฝรั่งเศสมาทันที โดยมีเพื่อนเศรษฐีอีกไม่ต่ำกว่า 76 รายซื้อเช่นกันเช่น รชฎ กาญจนวณิชย์ ชาญ โสภณพานิช กฤษฎา อรุณวงษ์ และบุณยสิทธิ์ โชควัฒนาที่นิยมขับเครื่องบิน บินมาพบปะกันเสมอที่สนามบินบางพระ ศรีราชาและสนามบินบ่อฝ้าย หัวหิน

หนึ่งในหมู่มิตรสหายนักบินที่รักมานาน ก็คือวิลเลี่ยม แอลวู้ด แฮนเนคคี เจ้าของไมเนอร์กรุ๊ป ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นสำคัญของบริษัทสาธรธานีเจ้าของตึกสาธร ซึ่งเป็นศูนย์รวมกิจการของตระกูลหวั่งหลีและเป็นก้าวสำคัญของการพัฒนาที่ดิน เฮนเนคคีรักใคร่กลมเกลียวกับพี่น้องสุวิทย์มายาวนาน เมื่อทราบข่าวอุบัติเหตุครั้งรุนแรงนี้ เฮนเนคคีแทบช็อคและร่วมฝ่าอันตรายค้นหาสุวิทย์ ด้วยอุปกรณ์อันทันสมัยและมีประสิทธิภาพของเฮนเนคคี ทำให้ในอีกวันต่อมาจึงพบ

แต่ในวันมรณะนั้นสาเหตุของอุบัติเหตุครั้งนี้เกิดจากสภาพอากาศปิด ทัศนวิสัยเลวร้ายแถบเทือกเขาสูงพญาป่อ จังหวัดแพร่-อุตรดิตถ์ เป็นสิ่งที่นอกเหนือการควบคุม อีกสองวันต่อมาทีมค้นหาจึงพบซากเครื่องบินส่วนตัว TB 20/L กับศพผู้สวมเสื้อเชิ๊ตแขนสั้นสีขาว กระเป๋าด้านซ้ายปักชื่อย่อ "S.W"

สุวิทย์ได้จบชีวิตด้วยความรักในการบินและรับผิดชอบต่อภารกิจส่วนรวมในฐานะประธานสภาหอการค้าไทย ครั้งหนึ่งสุวิทย์เคยกล่าวว่า บินแล้วสนุกท้าทายและลืมเรื่องอื่นหมดสิ้น

"ปกติคุณสุวิทย์เป็นคนละเอียดถี่ถ้วน ก่อนบินจะมีช่างลงลายเซ็นดูแลเครื่องเมื่อตรวจสภาพเรียบร้อยแล้ว และก่อนที่จะขับเครื่องบินก็จะมาตรวจเช็คตามรายการที่กำหนดไว้ก่อนบินทุกครั้ง เขาเป็นคนที่มีความสามารถในเกณฑ์ที่ดี แม้จะมีอายุมากแล้วก็ตาม รวมทั้งมีความระลึกเสมอว่า ความสำคัญและความจำเป็นในวิชาชีพจะต้องเดินทางบ่อย ๆ ดังนั้นการบินทุกครั้งจะต้องมีครูฝึกเดินทางด้วยบ่อยๆ" น.ต. กระสินธุ์ นาคะอภิผู้อำนวยการการบินสมาคมสโมสรการบินพลเรือนเล่าให้ฟัง

สิ้นสุวิทย์ เช้าวันจันทร์ที่ 22 สิงหาคม วรวีร์ หวั่งหลี กรรมการผู้จัดการใหญ่กล่าวกับนักข่าวว่า "ขาดคุณสุวิทย์ ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญไป ย่อมได้รับผลกระทบบ้าง"

หากย้อนพิจารณาแนวการดำเนินธุรกิจของสุวิทย์ หวั่งหลี จะพบว่าความทะเยอทะยานทางธุรกิจของสุวิทย์มีน้อยมาก ๆ การบริหารงานที่เน้นความมั่นคงทำให้ถูกมองว่าเป็น "อนุรักษ์นิยม" โดยเฉพาะกิจการเก่าแก่อย่างธนาคารนครธนซึ่งสุวิทย์เปลี่ยนชื่อจากธนาคารหวั่งหลีในปี 2528

ภารกิจสร้างธนาคารนครธนในฐานะกิจการครอบครัวในยุคสุวิทย์ สามารถสร้างความเป็นปึกแผ่นของคนในตระกูลได้เมื่อสามารถดึง "หวั่งหลี" สายอื่น ๆ เข้ามาร่วม เช่น วรวีร์ หวั่งหลี ลูกชายของตันสิ่วติ่งได้ลาออกจากตำแหน่งผู้จัดการฝ่ายการตลาดของคาลเท็กซ์ ทำนุ หวั่งหลี ญาติผู้น้องซึ่งทำงานกับธนาคารฮ่องกง-เซี่ยงไฮ้

รากฐานโครงสร้างที่ปรับมาแล้วครั้งหนึ่งเมื่อเร็ว ๆ นี้สุวิทย์ได้ขึ้นเป็นประธานกรรมการเจ้าหน้าที่บริหารหรือ CEO ของแบงก์นครธน ทำให้วันนี้ วรวีร์ กรรมการผู้จัดการใหญ่จำเป็นต้องควบตำแหน่งรักษาการของสุวิทย์ไว้ก่อน รอจนกระทั่งสิ้นสุดการไว้ทุกข์ให้แก่สุวิทย์ จึงจะมีการปรับและแต่งตั้งผู้บริหารระดับสูงใหม่

อาณาจักรของหวั่งหลีในห้วงเวลานี้จึงตกอยู่ในห้วงเวลาอันโศกสลด ทุกธุรกรรมของทุกธุรกิจในสายที่สุวิทย์ หวั่งหลีสร้างสรรค์ขึ้นมาหยุดนิ่งประหนึ่งไว้อาลัย ไม่ว่าจะเป็นกิจการแบงก์นครธน บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์พูลพิพัฒน์ บริษัทนวกิจประกันภัย และกลุ่มบริษัทพูนผลที่แตกขยายไปทำธุรกิจพัฒนาที่ดินซึ่งตระกูลหวั่งหลีสายนายแม่ทองพูนครอบครองที่ดินย่านสำคัญๆ เช่น รังสิต ทุ่งมหาเมฆ ตรอกจันทร์ ย่านปู่เจ้าสมิงพรายไว้มากมาย

แต่ประสบการณ์ที่เคยผ่านการสูญเสีย ในช่วงเวลาอันยาวนานนับร้อยปีของตระกูลหวั่งหลี ได้หล่อหลอมให้กิจการในเครือฟื้นตัวให้พ้นจากความวิตกกังวลได้อย่างรวดเร็ว จากฐานธุรกิจอันแข็งแกร่งที่สุวิทย์ได้สร้างไว้รองรับคนรุ่นต่อไป แม้ว่ารุ่นที่ 5 จะมีทายาทธุรกิจน้อยกว่าบรรพบุรุษก็ตามที !!

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us