Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กันยายน 2537








 
นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2537
"โปรปะกันดาไม่ต้องใหญ่แต่ขอให้เก่ง"             
 


   
search resources

โปรปะกันดา
ปุณลาภ ปุณโณทก
วิเชียร โต๋ว




เป็นเวลาสี่ถึงห้าปีมาแล้วที่ความสวยงามของหนังสือรายงานประจำปี ปฏิทินหรือหนังสือสรุปข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทที่เรียกว่า "คัมปะนีโปรไฟล์" (COMPANY PROFILE) ได้กลายเป็นหน้าตาบริษัทโดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อชิ้นงานเหล่านี้ได้รับรางวัลทางด้านการออกแบบที่จัดขึ้นโดยคนในธุรกิจโฆษณาอย่างเช่น "แบด อะวอร์ด" ทั้งบริษัท เจ้าของหนังสือและบริษัทที่เป็นผู้ออกแบบและผลิต ต่างก็มีภาพพจน์ที่ดีขึ้น

การประกวดรางวัลแบดอะวอร์ดปีนี้ หนังสือของบริษัทในเครือ เดอะ เอ็มกรุ๊ปและเครือบริษัทสามารถ คว้าไปเล่มละ 2 รางวัล เดอะ เอ็มกรุ๊ปนั้นได้รางวัลออกแบบตัวอักษรยอดเยี่ยม (BEST TYPOGRAPHY) และรูปเล่มดีเด่น (BEST BOOKLET) ส่วนของสามารถได้รางวัลภาพถ่ายยอดเยี่ยม (BEST PHOTOGRAPHY) พ่วงติดด้วยรางวัลออกแบบตัวอักษรยอดเยี่ยมเช่นเดียวกัน

หนังสือทั้งสองเล่มนี้น่าสนใจในเรื่องของความคิดสร้างสรรค์และสวยงาม แต่ที่น่าสนใจมากไปกว่านั้นคือ ผู้เป็นเจ้าของมันสมองในการสร้างสรรค์รูปลักษณ์หน้าตาของหนังสือ เป็นกิจการที่เพิ่งก่อตั้งได้ไม่ถึง 2 ปี

"PROPAGANDA" หรือ "โปรปะกันดา" คือชื่อของบริษัทนี้ แม้จะมีอายุไม่นานแต่สำหรับคนที่เป็นผู้สร้างแล้ว ไม่ใช่คนหน้าใหม่ ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัททั้งสามคือ สาธิต กาลวันตวานิช ปุณลาภ ปุณโณทก และวิเชียร โต๋ว คือทีมงานหลักที่เคยอยู่คู่กับ "สามหน่อ" บริษัทกราฟฟิค ดีไซน์ด้านสิ่งพิมพ์ชื่อดังของไทยมานานหลายปี

สาธิตนั้นเป็นหนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งสามหน่อ เขาทำงานกับสามหน่อมาร่วม 7 ปี ตำแหน่งสุดท้ายคือ ครีเอทีฟ ไดเรคเตอร์ ส่วนปุณลาภกับวิเชียรเคยเป็น กรุ๊ปเฮดของสามหน่อ ทั้งคู่เป็นนักออกแบบที่ทำงานเข้าขากับสาธิตนับตั้งแต่วิเชียร จบจากคณะคุรุศาสตร์ จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัยและปุณลาภจบจากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยี่พระจอมเกล้า วิทยาเขตเจ้าคุณทหาร ลาดกระบังเมื่อ 4 ปีที่แล้ว จนกระทั่งคว้ารางวัลแบด อะวอร์ดชิ้นแรกให้กับตัวเองในนามของสามหน่อคือ รายงานประจำปีของบริษัท ไทยออยล์ และหนังสือข้อมูลบริษัทของ บุญรอด บริวเวอรี่เมื่อปี 2534 ตามมาด้วยงานระดับรางวัลชิ้นอื่น ๆ เช่นปฏิทินของบริษัทเยื่อกระดาษสยามหนังสือข้อมูลบริษัทของธนาคารกรุงเทพพาณิชยการ เป็นต้น

ด้วยประสบการณ์ของทั้งสามคน จึงไม่น่าแปลกใจว่าโปรประกันดาที่มีอายุปีเศษ ๆ จะคว้ารางวัลแบด อะวอร์ดในปีนี้ไป 4 รางวัล ทั้งยังมีอีก 2-3 ชิ้นงานที่เข้ารอบแต่ไม่ได้รับรางวัล

โปรปะกันดา มีสาธิตเป็นกรรมการผู้จัดการ ส่วนปุณลาภและวิเชียรเป็นผู้อำนวยการฝ่ายออกแบบสร้างสรรค์หุ้นส่วนนอกเหนือจากทั้งสามแล้วยังมีบริษัทฟีโนมีน่า ของบุญเกียรติ กอสมาน เพื่อนร่วมรุ่นโรงเรียนสวนกุหลาบของสาธิตมาลงขันด้วย

"ฟีโนมีน่า เป็นโปรดักชั่นเฮ้าส์ทางด้านฟิล์ม ส่วนโปรปะกันดาเป็นบริษัทที่ทำกราฟฟิคดีไซน์ทางด้านสิ่งพิมพ์ มีคุณสาธิตเป็นเอ็มดี ในแง่ที่เป็นครีเอทีฟจริง ๆ ก็จะเป็นผมสองคน" ปุณลาภกล่าวถึงบริษัทที่ร่วมลงทุนด้วยทุนจดทะเบียนเพียง 1 ล้านบาท

ในส่วนของการทำงานแล้ว โปรปะกันดาเริ่มต้นที่ห้องหนึ่งห้อง คนสองคน อาศัยส่วนหนึ่งของโฟโนมีน่า งานชิ้นแรกก็เข้ามาทันทีที่บริษัททันทีที่บริษัทเปิดโดยการติดต่อของสาธิต เป็นเอกสารโครงการทางด้านอสังหาริมทรัพย์ "เอสจี สตาร์" ซึ่งนับเป็นงานชิ้นแรกของโปรปะกันดาที่ออกสู่วงการ

"งานที่โปรปะกันดา จะมีก็เพียงไทยออยส์เจ้าเดียวเท่านั้น ที่เป็นลูกค้าเก่าที่เราเคยทำงานให้กับเขาในนามของสามหน่อ ที่เหลือเป็นลูกค้าใหม่หมด คนในแวดวงเขารู้จักกันรู้จักฝีมือเรา เอเยนซี่ก็แนะนำลูกค้ามาหาเราเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเขารู้จักคุณสาธิต งานก็เลยอาจมาจากสาธิตมากหน่อย" วิเชียรกล่าว

จำนวนงานที่เพิ่มมากขึ้นบุคลากรของโปรปะกันดาก็เพิ่มมาเป็น 20 คนในปัจจุบัน ซึ่งก็เป็นเพียงบริษัทขนาดเล็กหากพิจารณาจากจำนวนคนเปรียบเทียบกับบริษัทอื่นในธุรกิจประเภทเดียวกัน เช่นบริษัทขนาดใหญ่ที่มีพนักงานร่วม 80 คน บริษัทขนาดกลาง ๆ ก็จะมีประมาณ 40 คนอย่างเช่นสามหน่อ เป็นต้น

ปุณลาภกล่าวว่า โปรปะกันดาพยายามจะรักษาขนาดของบริษัทให้อยู่ในระดับนี้ มีขีดความสามารถรับงานได้ประมาณ 30-40 ราย

"กำไรของธุรกิจนี้มาจาก 2 ทางคือ รับงานมากขึ้น หรือทำงานอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น มีคุณภาพมากขึ้น เราชอบที่จะใช้วิธีที่สองมากกว่า ถ้าเป็นทางเลือกแรกเราก็ต้องรับคนมาก ต้องมานั่งจัดคนกันอีกมันไม่สนุก เราเป็นบริษัทของคนออกแบบ เป็นงานที่เกี่ยวกับความคิด ทำงานกับคนที่มีคุณภาพ ไม่ต้องมีคนมากทำงานด้วยแล้วมีความสุขดี" ปุณลาภอธิบายแนวคิดเกี่ยวกับองค์กรของเขาให้ฟัง

การขยายตัวของสามหน่อโรงเรียนที่ให้โอกาสแก่สาธิต ปุณลาภ และวิเชียรได้มีประสบการณ์ทางด้านธุรกิจบริการออกแบบ จากพนักงาน 17 คน เพิ่มเป็น 23 จนถึง 45 คน การเปลี่ยนแปลงของ "คน" และ "ระบบ" ที่เกิดขึ้นในสามหน่อน่าจะมีส่วนสำคัญในการตัดสินใจกำหนดการสร้างองค์กรในสภาพแวดล้อม ที่ทั้งสามอยากจะให้เป็นขึ้นมาใหม่ โดยครั้งนี้ทั้งสามพยายามควบคุมการเติบโตของกิจการในแง่ของกำลังคน และหันมาเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของคนในองค์กรมากกว่า

ความคิดของพวกเขาเป็นแนวทางการบริหารธุรกิจที่กำลังได้รับการพูดถึงและหลาย ๆ องค์กรทำกำลังปรับมาใช้เพื่อ "ยกเครื่อง" องค์กรให้มีขนาดเล็กบาง คล่องตัว แต่มีประสิทธิภาพ

หลังจากที่ชื่อของโปรประกันดาปรากฏอยู่ในทำเนียบรางวัลต่าง ๆ แน่นอนว่างานที่จะเข้ามาก็ต้องมากขึ้น ผลประโยชน์ทางธุรกิจจะพิสูจน์ว่าโปรปะกันดาจะหนีวงจรของบริษัทขนาดใหญ่ ใช้คนมากไปได้หรือไม่

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us