Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กันยายน 2537








 
นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2537
"ครั้งแรกในชีวิตโฆษิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ ลูกจ้างของแบงก์กรุงเทพ"             
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารกรุงเทพ

   
search resources

ธนาคารกรุงเทพ, บมจ.
โฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์
Banking




โฆษิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ก้าวเข้าเป็นประธานคณะกรรมการบริหารจัดการและวางแผนของธนาคารกรุงเทพอย่างเต็มตัวตั้งแต่วันที่ 1 กันยายนศกนี้ ตำแหน่งนี้เพิ่งตั้งขึ้นมาใหม่เพื่อปรับแต่งโครงสร้างองค์กรแบงก์เก่าแก่อายุ 50 ปีนี้ให้คล่องตัวมีความสามารถเชิงแข่งขันในอนาคต 5 ปีข้างหน้าและรองรับการเปลี่ยนแปลงใหม่ของทายาทผู้นำ

"ถ้าถามผมว่า คุณโฆษิตมีสิทธิ์ที่จะมานั่งเก้าอี้กรรมการผู้จัดการใหญ่แบงก์หรือไม่ ? ผมคิดว่ามีสิทธิ์ เพราะคุณโฆษิตเข้ามารับตำแหน่งที่สูงพอสมควร และเขาก็มีประสบการณ์ด้านการเงินจากลอนดอนประเทศอังกฤษ แต่ผมคิดว่าเขาเหมาะสมที่จะมานั่งฝ่ายวางแผนและควบคุมมากกว่า" บิ๊กบอสแห่งกรุงเทพ ชาตรี โสภณพานิชกล่าวอย่างหมายมาดตัวไว้แล้ว

ครั้งนี้นับว่าเป็นครั้งแรกในชีวิตของโฆษิตที่ก้าวเข้ามาเป็น 'ลูกจ้าง' ในภาคการบริหารธุรกิจธนาคารพาณิชย์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในอาเซียน หลังจากที่ครึ่งชีวิตที่ผ่านมานานนับ 27 ปีโฆษิตเป็นข้าราชการชั้นสูงที่ได้รับการยอมรับในแวดวงวิชาการและเทคโนแครต ประสบการณ์ที่สภาพัฒน์ในฐานะรองเลขาธิการฯ คีย์แมนสำคัญในการร่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ทำให้บทบาทเกี่ยวกับการพัฒนาชนบทโดดเด่น จนได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยฯ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในยุครัฐบาลอานันท์ ปันยารชุนและเลขาธิการสำนักนายกรัฐมนตรีในยุครัฐบาล พลเอกสุจินดา คราประยูร

"ผมไม่เคยสนใจการต่อสู้ทางการเมือง ด้วยเหตุนี้ผมจึงเลือกจะเป็นข้าราชการ เพราะไม่ว่ารัฐบาลจะเป็นอย่างไร ผมก็ทำงานได้หมด ผมเชื่อว่าเรื่องที่ผมเห็นสำคัญแม้ผมจะทำได้แค่ 1% ผมก็จะทำ นี่คือสาเหตุที่ทำให้ผมรักชีวิตข้าราชการ" นี่คือเลือดเนื้อและวิญญาณของโฆษิต

โฆษิตเป็นเทคโนแครตที่ได้รับการยอมรับในความสามารถ และประสานความคิดกับฝ่ายต่าง ๆ ได้ ทั้งยังเป็นนักปฏิบัติที่มีผลงานพัฒนาชนบทจนเป็นที่รู้จักในวงการเมืองในฐานะนักเศรษฐศาสตร์ที่มองระดับมหภาค เข้าใจปัญหาระดับโครงสร้างมากกว่าคนอื่น ๆ รวมทั้งสามารถวิพากษ์เศรษฐกิจและธุรกิจฟองสบู่ได้ถึงแก่น

กล่าวกันว่าการที่โฆษิตเดินเข้ามาอยู่ในห้วงเวลาอันเป็นทางสองแพร่งของชาตรี โสภณพนิชขณะนี้ ได้ทำให้โฆษิตถูกจับตามองบทบาทและภารกิจในฐานะ "คนนอก" คนใหม่

"ผมได้วางเป้าหมายไว้แล้วว่า อยู่ที่ไหนก็ตามเมื่อรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายสำเร็จแล้ว ก็คงต้องออกจากที่นั่น โดยในองค์กรแต่ละแห่งคิดว่าจะอยู่เพียง 2-3 ปีก็พอแล้ว แต่ในตำแหน่งดังกล่าวผมก็เคยคิดมานานแล้ว ว่าจะต้องทำให้ได้ เพราะผมอยากเข้ามาสัมพันธ์ในงานด้านนี้ ดังนั้นเมื่อมีผู้ชักชวน ผมใช้เวลาตัดสินใจไม่นานก็ตอบรับไป" อดีตรองเลขาธิการสภาพัฒน์ฯ ผู้ที่มาทำงานกับแบงก์กรุงเทพเล่าให้ฟัง

บางทีคำพูดข้างต้นของโฆษิตนี้อาจเป็นเบื้องลึกในใจของโฆษิตที่ตัดสินใจหันหลังให้ระบบข้าราชการไทยที่ยังมีลักษณะ "ล้อติดโคลน" มาสู่วังวนธุรกิจการธนาคารที่เป็นหัวใจของการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมของเศรษฐกิจ

จากสายสัมพันธ์เก่าแก่กับอาสา สารสิน ผู้ชักนำโฆษิต เข้ามาเริ่มต้นในฐานะรองกรรมการผู้จัดการที่บริษัท ผาแดง อินดัสทรี ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมรากฐานของประเทศ โฆษิตได้ถูกวางตัวขึ้นสู่ผู้บริหารระดับสูงที่ผาแดง

แต่เมื่อแบงก์กรุงเทพซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในผาแดงฯ ต้องการตัวโฆษิตไปทำงาน โฆษิตจึงได้ย้ายมาสวมหมวกใบใหม่ที่ใหญ่กว่าเดิมในฐานะประธานคณะกรรมการบริหารจัดการและวางแผน เป็นงานวิชาการที่ต้องใช้ความสามารถพิเศษในการเข้าใจพฤติกรรมขององค์กรแบบแบงก์กรุงเทพที่อุ้ยอ้ายที่มีพนักงานมากที่สุด และมีขั้นตอนมากคล้ายระบบราชการ

ดังนั้นงานยกเครื่องปรับตัวโครงสร้างองค์กรจึงเป็น "งานยักษ์" มาก ๆ สำหรับโฆษิต !! แม้ว่าโดยประสบการณ์โฆษิตจะเคยจับโครงการยักษ์ใหญ่ระดับชาติมาแล้วก็ตาม แต่อาจกล่าวได้ว่างานยักษ์ชิ้นใหม่นี้ โฆษิตไม่อาจเข้าไปถึงหัวใจของกิจการแบงก์พาณิชย์นี้ได้ หากไม่อาศัยบารมีบิ๊กบอสส์อย่างชาตรีและลูกหม้อเก่า

แต่โฆษิตมีแนวทางความคิดของตัวเอง ที่แตกต่างกว่าผู้บริหารแบงก์ในยุคทศวรรษที่แล้วอย่างวิระ รมยะรูปชัยรัตน คำนวณการบริหารสายสัมพันธ์ในแนวทางเก่าของธุรกิจหมุนกระดาษได้กลายเป็นสิ่งล้าสมัยไปแล้ว ภายใต้แรงกดดันจากสภาพแวดล้อมธุรกิจการทำกำไรของแบงก์สมัยใหม่ยุคโลกานุวัตรที่ธุรกิจไร้พรมแดน ไทยถูกบีบให้ต้องเปิดเสรีแก่แบงค์ต่างประเทศทำให้สงครามการแข่งขันดุเดือด

ศักยภาพของการแข่งขันของแบงก์กรุงเทพจะเข้มแข็งหรือไม่ในทศวรรษใหม่? จึงขึ้นอยู่วิสัยทัศน์และความสามารถของทายาทผู้นำอย่างชาติศิริ กับฝีมือการผ่าตัดโครงสร้างองค์กรแบงก์กรุงเทพของโฆษิต ให้แบงก์ไม่อุ้ยอ้ายและมีความคล่องตัวที่จะฉกฉวยโอกาสจากการเปลี่ยนแปลงใหม่ ๆ ได้เร็ว

ห้วงเวลาเดือนกรกฎาคม ขณะที่ "คนใหม่" อย่างเช่นโฆษิตก้าวเข้ามา "คนเก่า" อย่างวิชิต สุรพงษ์ชัยและไชย ณ ศีลวันต์พร้อมกับวาณิชธนกรอีก 9 คนก็เปิดหมวกอำลาไป ทำให้ส่วนของฝ่ายธุรกิจโครงการ ที่ไชยเคยรับผิดชอบและทำรายได้มหาศาลถึง 500 ล้านบาทในครึ่งปีนี้จากค่าธรรมเนียมในโครงการใหญ่ ๆ ฝ่ายธุรกิจโครงการนี้ต้องถูกยุบหน่วยงานไปรวมกับฝ่ายทุนธนกิจซึ่งชาติศิริทาบทาม 'คนใหม่' ศรีวิชัย ศรีสุวรรณ จากบริษัทไทยเชลล์เอ็กซพลอเรชั่น แอนด์ โปรดักชั่นเข้ามาดำรงตำแหน่งรองผู้จัดการฝ่ายทุนธนกิจ

การแก้ปัญหาเฉพาะหน้าที่เกิดขึ้น เป็นส่วนหนึ่งเล็ก ๆ ของการปรับตัวของแบงก์กรุงเทพยุคชาติศิริ ช่วงต้นปีหน้า 2538 เป็นที่คาดว่าโครงสร้างการบริหารใหม่จะนำมาซึ่งความโกลาหลเป็นข่าวใหญ่อีกระลอก เมื่อมีการสับเปลี่ยนโยกย้ายตำแหน่งผู้บริหาร

เมื่อถึงเวลานั้น โฆษิตคงจะต้องหาเกราะป้องกันตัวเองไว้ให้ดี มิฉะนั้นจะกลายเป็นแพะรับบาปไปในที่สุด !!

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us