Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กันยายน 2537








 
นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2537
"สมาคมสื่อสารดาวเทียม แผนพิชิตกองทัพมด"             
 


   
search resources

สมาคมสื่อสารดาวเทียม
วีระยุทธ ภูวนเจริญ
Telecommunications




นับวันจานดาวเทียมจะเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของทุกคนมากขึ้น การแข่งขันในตลาดสินค้าประเภทนี้ก็ยิ่งเขม็งเกลียวตามไปด้วย และในเมื่อเป็นตลาดเสรี ก็เป็นธรรมดาอยู่เองที่แต่ละค่ายจานดาวเทียม จะต้องพยายามงัดเอาเขี้ยวเล็บต่าง ๆ ที่ตัวเองมีอยู่โดยเฉพาะกลยุทธ์ที่มีการเชือดเฉือนกันสุดขีดในช่วงที่แล้วมาจนมีที่เจียนไปเจียนอยู่ก็หลายราย

เมื่อผ่านช่วงนั้นมา ต่างฝ่ายต่างก็เริ่มตระหนักว่า จะมัวแต่ใช้กลยุทธ์ราคาเข้าห้ำหั่นกันอย่างเดียวเหมือนที่แล้วมาคงไม่ได้ เพราะจะยิ่งจะทำให้ภาพพจน์ของสินค้าตัวนี้จะยิ่งเสื่อมทรามลงไปทุกที สมควรเป็นอย่างยิ่งที่จะมาเรียกศรัทธาจากผู้บริโภค ด้วยการหันมาเน้นยกระดับคุณภาพของสินค้าให้สูงขึ้น

ดังนั้นจึงเป็นที่มาของ "สมาคมสื่อสารดาวเทียม" ความตั้งใจจริงของกลุ่มบุคคลในวงการที่เห็นพ้องต้องกัน โดยผู้บุกเบิกก่อตั้งสมาคมนี้ประกอบด้วย วิรุณ ตั้งศักดิ์สถิตย์ ดร. รักษ์ จิรา และวีรยุทธ ภูวนเจริญ ซึ่งเป็นผู้คร่ำหวอดในธุรกิจจานดาวเทียมมาเป็นเวลานาน โดยได้มีการจัดประชุมบริษัทผู้ผลิตจานดาวเทียมครั้งแรกในวงการเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2536 ซึ่งมีผู้เข้าร่วมประชุมในครั้งนั้นประมาณ 17-18 บริษัท ผู้เข้าร่วมประชุมในคราวนั้นประกอบด้วยรายใหญ่ ๆ อาทิเช่น ไทยเนทเวอร์ค เซนเตอร์, แอนเทค คอมมิวนิเคชั่น, ซีเวิลด์ เอนเตอร์ไพรส์ ล็อกซเลย์, เป็นต้น

ที่ประชุมครั้งนั้นยังมีมติร่วมกันที่จะประสานความร่วมมือกันที่จะประสานความร่วมมือในวาระแรก ด้วยการจัดตั้งเป็นชมรมก่อน โดยใช้ชื่อว่า "ชมรมพัฒนาธุรกิจจานดาวเทียม" ตามขั้นตอนของการแผ้วถางทางไปสู่การจัดตั้งเป็นสมาคมในอนาคตอันใกล้ และในที่สุด "สมาคมสื่อสารดาวเทียม" ก็ได้ก่อกำเนิดขึ้นในเมื่อต้นปีที่ผ่านมานี้เอง ในวาระนั้นก็ได้มีการเลือกตั้งตำแหน่งสำคัญของสมาคมไปพร้อมกันด้วย โดยมติของชมรมในขณะนั้น ได้มอบหมายให้ ดร. รักษ์จิรา ส่วนวิรุณ ได้รับตำแหน่งรองนายกสมาคมฯ และวีรยุทธรั้งเก้าอี้เลขาธิการ

เมื่อสมาคมเริ่มเป็นรูปเป็นร่างขึ้น มวลเหล่าสมาชิกและกรรมการก็ต้องมานั่งครุ่นคิดกันว่า อะไรคือปัญหาหลักใหญ่ในการยกระดับคุณภาพของธุรกิจจานดาวเทียมในปัจจุบัน และมีสิ่งใดบ้างที่สมาคมจะทำได้บ้าง โดยไม่ขัดต่อพื้นฐานของสมาคม ที่จะต้องไม่มุ่งหากำไร ซึ่งในที่สุดก็ได้ข้อสรุปว่า ปัญหาหลักใหญ่ของวงการธุรกิจจานดาวเทียมที่เกิดขึ้นในอดีตที่ผ่านมานั้น นอกจากการใช้สงครามราคาอย่างเต็มรูปแบบของทุกฝ่ายแล้วปัญหาที่รุนแรงพอ ๆ กันคือปัญหาของ "กองทัพมด" หรือผู้ประกอบการรายย่อยที่มีธุรกิจจานดาวเทียมเป็นงานกำบัง ซึ่งคอยกัดกินเอาส่วนแบ่งของค่ายใหญ่และค่ายระดับรองลงมาไปทีละเล็กละน้อย

วีรยุทธ เลขาธิการสมาคมฯ ได้พรรณาถึงความรุนแรงของปัญหา "กองทัพมด" ให้ฟังว่า นอกจากยอดขายของแต่ละค่ายใหญ่ที่ต้องตกต่ำลงไปเป็นจำนวนมาก ด้วยช่องทางสารพัดที่กองทัพมดจะพยายามสรรสร้างขึ้นมา ไม่ว่าจะเป็นการขายหลังร้าน หรือขายเหมาแบบยกล็อตแล้ว คุณภาพและการรับประกันต่อสินค้านั้น ที่พลอยตกต่ำไปพร้อมวิธีการของกองทัพมดเหล่านี้ ก็มีผลทำให้ผู้บริโภคที่ซื้อจานดาวเทียมจากกองทัพมดไป ก็จะเสื่อมศรัทธาสินค้าจากค่ายมีระดับไปด้วย

"ในช่วงนั้นค่ายดาวเทียมระดับแนวหน้าโดนผลกระทบจากกองทัพมดเป็นระนาว จนต้องใช้กลยุทธ์ตัดราคาลงมาอย่างเต็มที่เข้าสู้ ซึ่งช่วงนั้นก็พอดีกับค่ายใหญ่ในตลาดจานดาวเทียมค่ายหนึ่งก็หั่นราคาจานดาวเทียมแบบซี แบนด์ลงมาอย่างเต็มที่เช่นกัน อย่างรุ่น 6 ฟุตที่มีความนิยมกันมากก็ตัดราคาลงมาจาก 30,000 บาทลงมาเหลือเพียง 12,000 บาทเท่านั้น" วีรยุทธเล่า

ดังนั้นจึงได้มีแนวความคิดที่จะยุติปัญหากองทัพมดนี้มาตลอดเวลา ทั้งทางตรงและทางอ้อม แต่ก็ไม่ประสบผลสำเร็จแต่อย่างใด กลับดูเหมือนว่ายิ่งเข้าไปแก้ปัญหา ยิ่งทำให้คนทั่วไปยิ่งใฝ่รู้ว่าจะซื้อของจากกองทัพมดเหล่านี้ได้อย่างไร จนในที่สุดก็ได้ข้อยุติร่วมกันว่าน่าจะมีการใช้คุณภาพของสินค้าเป็นหัวหอกสำคัญที่ปราบปรามเหล่ากองทัพมดเหล่านี้

นั่นก็คือการยกระดับมาตรฐานให้กับสินค้าในมวลหมู่สมาชิกของสมาคมสื่อสารดาวเทียม ให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน โดยมาตรการขั้นแรกที่สมาคมกำหนดขึ้นมา ก็คือการตรวจสอบสินค้าในมวลหมู่สมาชิกทั้งหมด หากสินค้าใดได้ตามมาตรฐานที่ตั้งไว้ ก็จะมีการติดสติ๊กเกอร์รับรองให้โดยจะเป็นโลโก้ของสมาคมสื่อสารดาวเทียม

"มาตรการอันนี้เราจะเริ่มได้ในไม่ช้า เพราะขณะนี้เราได้ให้ศูนย์เทคโนโลยีอิเลคโทรนิคส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติหน่วยงานหนึ่ง ของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นผู้ตรวจสอบสินค้าของสมาชิกไปได้มากพอสมควรแล้ว และเท่าที่ได้สอบถามบรรดาสมาชิกที่มีอยู่ในปัจจุบัน 11 บริษัทต่างก็เห็นดีด้วยกับมาตรการอันนี้"

วีรยุทธได้ตั้งความหวังกับเครื่องรับรองมาตรฐานนี้พอสมควรเหมือนกับ "ยิงนัดเดียว ได้นกสองตัว" ที่จะทำให้ผู้บริโภคเกิดการไตร่ตรองมากขึ้นก่อนที่จะซื้อจานดาวเทียมแต่ละครั้ง เพราะนอกจากการรับรองมาตรฐานจากสมาคมที่มีให้ดังกล่าวแล้ว บริษัทผู้ผลิตจานดาวเทียมจากต่างประเทศที่นำเข้ามาก็ได้รับการรับรองมาตรฐานมาไว้ก่อนหน้าด้วย ในขณะที่บรรดากองทัพมดก็จะได้รับผลพวงในครั้งนี้ ทำให้ตลาดยากขึ้นไปด้วย

มาตรการขั้นต่อมาที่ทางสมาคมจะดำเนินการต่อไปคือ การกำหนดบทลงโทษกับบริษัทสมาชิกที่เข้าร่วมโครงการนี้ หากสินค้าที่ผลิตออกมาหลังจากได้มาตรฐานแล้ว ไม่ได้คุณภาพตามการตรวจสอบครั้งแรก ก็จะต้องมีการตักเตือนในวาระแรก และหากยังฝ่าฝืนอยู่ ก็จะต้องมีการพิจารณาขับออกจากสมาชิกภาพในโอกาสต่อไปแต่อย่างไรก็ตาม มาตรการใช้สติ๊กเกอร์ควบคุมมาตรฐานนี้

เป็นไปตามความสมัครใจของเหล่าสมาชิกว่า ใครใคร่ติดก็ติด ไม่มีการบังคับแต่อย่างใด
ความมุ่งหมายอีกประการหนึ่งของสมาคมที่ตั้งเป้าหมายไว้คือ จะต้องเร่งระดมชักชวนให้บริษัทผู้นำเข้าจานดาวเทียมในตลาดซึ่งมีอยู่ประมาณ 30-40 ราย เข้ามาร่วมเป็นสมาชิกของสมาคมให้มากกว่านี้ ซึ่งได้ตั้งเป้าหมายไว้ว่าก่อนสิ้นปีนี้น่าจะมีสมาชิกเข้ามาเพิ่มอีกเป็นทั้งหมด 20 รายเป็นอย่างน้อย

โดยเฉพาะอย่างยิ่งค่ายใหญ่ในวงการอย่างเช่นชินวัตรแซทเทลไลท์ ซึ่งเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ดาวเทียมไทยคม 1 และ 2 นั้น ก็ได้มีการติดต่อกับทางสมาคมสื่อสารดาวเทียมอย่างใกล้ชิด สายสัมพันธ์ของกลุ่มชินวัตรที่แนบแน่นกับทางสมาคมนั้น ทำให้วีรยุทธมีความเชื่อมั่นว่า หากใช้ความพยายามอีกสักนิด และทอดเวลาไปอีกสักระยะ ก็คงจะมีข่าวดีที่กลุ่มนี้จะเข้ามาร่วมงานกับทางสมาคม

"ส่วนค่ายใหญ่อีกรายในวงการ ที่มักจะมีข่าวขัดแย้งกับทางเราบ่อย ๆ นั้น ก็ยังไม่มีความเคลื่อนไหวแต่ประการใดจากทางเขา ว่าจะสนใจเข้ามาร่วมกับทางเราหรือไม่ ซึ่งหากเขาคิดจะจัดตั้งสมาคมของเขาขึ้นมาเองแล้ว ก็คงจะยาก เพราะสมาชิกรายใหญ่ในวงการ มาอยู่กับเราเกือบทั้งหมดแล้ว"

งานสำคัญอีก 1 งานที่รออยู่ข้างหน้าให้สมาคมสื่อสารดาวเทียมต้องฝ่าฟันไปคือการดำเนินการลดภาษีจานดาวเทียมซึ่งขณะนี้อยู่ในอัตรา 47% ให้ต่ำลงมาอยู่ในอัตราที่พอจะรับได้ซึ่งด้วยปัญหาภาษีที่ยังค่อนข้างแพงอยู่นี้ จึงทำให้ความเป็นเสรีของตลาดจานดาวเทียมไปได้ไม่เต็มที่เท่าที่ควร นอกจากนั้นแล้ว บริษัทผู้นำเข้าก็จำเป็นต้องแบกรับภาระค่าการตลาด (MARKETING COST) ไว้สูงเกินกว่าที่จะเป็น

และด้วยความเป็นสมาคม งานทางด้านการเผยแพร่ความรู้และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างมวลหมู่สมาชิกและผู้บริโภคทั่วไปนั้น เป็นงานที่ปฏิเสธไม่ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคที่มีแนวคิดจะผลักดันให้การสื่อสารทางด้านดาวเทียม นำมารองรับการศึกษาทั้งในภูมิภาคและชนบทมากขึ้น สมาคมฯ ก็ยิ่งปฏิเสธไม่ได้ที่จะเข้ามาร่วมไม้ร่วมมือในเรื่องนี้

โลกใบใหม่ของตลาดเสรีธุรกิจจานดาวเทียม คงจะมีโอกาสเชื่อมโยงความร่วมมือกันมากกว่านี้ พร้อมทั้งความยุติธรรมระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายที่ได้พัฒนาไปพร้อมกัน ซึ่งหากทุกอย่างก้าวไปตามที่ต้องการแล้ว

ก็จะต้องจารึกไว้ว่าความสำเร็จส่วนหนึ่งนั้นเนื่องมาจาก "สมาคมสื่อสารดาวเทียม" นี่เอง

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us