Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กันยายน 2537








 
นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2537
"โครงการ 2 ล้านเลขหมาย ไม่ต้องขุดถนนก็ได้ แต่แพง !"             
 


   
search resources

เทเลคอมเอเซีย, บมจ.
อาชว์ เตาลานนท์
Telecommunications




ผิวถนนในกรุงเทพมหานครนั้น ไม่เคยว่างเว้นจากการถูกขุดเจาะจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กับระบบสาธารณูปโภคทั้งหลายไม่ว่าจะเป็นการไฟฟ้า การประปาหรือองค์การโทรศัพท์ ซึ่งต่างคนต่างทำ ไม่เคยมีการวางแผนประสานกันเลย จึงเกิดการขุดกันแล้วขุดกันอีก ชั่วนาตาปีและที่มีผลกระทบอย่างมากก็คือการจราจรที่ติดขัดอยู่แล้วยิ่งต้องเลวร้ายหนักลงไปอีก

ลูกคุณช่างขุดรายล่าสุดแห่งถนนเมืองกรุงก็คือ บริษัทเทเลคอม เอเซีย หรือทีเอ ที่กำลังเร่งการติดตั้งโทรศัพท์ 2 ล้านเลขหมายอยู่ทั่วเมืองในขณะนี้ จนกลายเป็นเป้าของการร้องทุกข์จากบรรดาผู้ใช้รถใช้ถนนที่ต้องเดือดร้อนจากการขุดถนนตามโครงการ 2 ล้านเลขหมาย

ร้อนถึงอาชว์ เตาลานนท์กรรมการผู้จัดการใหญ่ของทีเอต้องออกมาชี้แจงเป็นการด่วนว่าตระหนักในปัญหาที่เกิดขึ้นดีและได้มีการหารือกับ กทม. เพื่อประสานงานกันในการกวดขันกับผู้รับเหมาติดตั้งโทรศัพท์และได้มีการตั้งศูนย์รับการร้องทุกข์จากประชาชนรวมทั้งมีทีมม้าด่วน ในกรณีที่ต้องแก้ปัญหาเฉพาะหน้าอย่างฉับไว

"เรื่องนี้ผมต้องขอยอมรับและกราบขออภัยต่อประชาชน เรามีความตระหนักและสำนึกดีว่าต้องรีบเร่งวางข่ายสาย และดำเนินการบริการต่อประชาชนที่รอคอยอย่างรวดเร็วที่สุดพยายามเร่งรัดให้ได้มากและเร็วจึงจำเป็นอยู่เอง ไม่ว่าจะเป็นงานด้านสาธารณูปโภคทั้งการประปาฯ การไฟฟ้าฯ กทม. หรือทศท. ก็คงจะหลีกหนีไม่พ้นการขุดเจาะถนนสำหรับดำเนินงาน" เบอร์หนึ่งของ ทีเอ. กล่าวขอความเห็นใจ

ความจริงในตอนที่เริ่มต้นโครงการใหม่ ๆ ยังไม่มีการลงมือวางโครงข่าย ในสมัยที่ทองฉัตร หงส์ลดารมภ์เป็นหัวเรืออยู่ ทีเอ เคยคุยว่า จะนำเทคโนโลยีใหม่ ที่ไม่ต้องมีการขุดถนนมาใช้ เทคโนโลยีสำหรับวางข่ายสายตอนนอกที่ว่านี้เรียกว่า "ไมโครทันเนลลิ่ง" (MICRO TUNNELLING METHOD) หรือการขุดเจาะอุโมงค์ขนาดเล็ก ซึ่งวิธีนี้ทำให้ไม่ต้องขุดถนนเป็นระยะทางยาว ๆ เพียงแค่ขุดเปิดผิวหน้าดินประมาณ 2 เมตร เพื่อนำหัวเจาะระบบฉีดน้ำแรงสูงที่สามารถทำงานได้ในระยะทางประมาณ 200 เมตร (ทิศทางการเคลื่อนที่จะบังคับด้วยเครื่องบังคับทิศทาง ที่เรียกว่า "ทรานสมิตเตอร์" ถืออยู่ข้างบน) มุดลงดินไป เมื่อครบระยะทาง 200 เมตรหัวเจาะจะโผล่ออกที่ท่อพักสาย จากนั้นจะหมุนย้อนกลับมาจุดเริ่มต้นอีกครั้งหนึ่ง เพื่อพ่วงเอาท่อร้อยสายโทรศัพท์ที่มีสายอยู่ภายในเรียบร้อยแล้วกลับออกไปด้วยกินเวลาประมาณ 1 ชั่วโมงต่อ 10 เมตร (แบบขุดจะอยู่ในอัตรา 4-6 เมตร ต่อ 1 วัน) เพียงเท่านี้ก็สามารถวางท่อร้อยสายได้ถึงครั้งละ 200 เมตรต่อจุดเลยทีเดียว เป็นเช่นนี้ไปตลอดโครงการ

แน่นอนว่า วิธีนี้ย่อมต้องมีต้นทุนค่าใช้จ่ายแพงกว่าการขุดแบบธรรมดา ๆ ที่ทำกันอยู่ทุกวันนี้หลายเท่าตัวแน่นอนแม้ว่าเครื่องนี้จะให้ประสิทธิภาพสูงและช่วยร่นระยะเวลาทำงาน ลดปัญหาสิ่งแวดล้อมปัญหาจราจร และปัญหาข้างเคียงได้อย่างดี แต่มูลค่าของเครื่องมือนั้นค่อนข้างสูง คือประมาณ 5-20 ล้านบาท ต่อชุด ซึ่งทั้งโครงการ ทีเอ. จะต้องใช้ถึง 20 ชุด นั่นหมายถึงเงินที่จะต้องลงทุนในส่วนนี้กว่า 100-400 ล้านบาท

ไม่ใช่เงินมากมายอะไรนัก เมื่อเทียบกับมูลค่าของทั้งโครงการ แต่คนที่จะต้องลงทุนในส่วนนี้ก็คือ ผู้รับเหมาวางข่ายสายตอนนอกโครงการ 2 ล้านเลขหมายทั้ง 3 รายคือ เอ็นอีซี ซีเมนส์และเอที แอนด์ทีซึ่งหากซื้อเครื่องนี้มาใช้ เมื่อหมดจากงานวางสายโทรศัพท์แล้ว ก็ยังไม่รู้ว่าจะนำไปใช้กับงานอื่น ๆ ต่อไปได้หรือไม่ จึงมีปัญหาว่า การลงทุนกับเทคโนโลยีที่ว่านี้คุ้มหรือไม่

ดังนั้น แนวทางที่จะนำไมโครทันเนลลิ่งมาช่วยในการวางท่อร้อยสายก็ไม่มีทีท่าว่าจะนำมาใช้
กลับเป็นกระแสที่หายไปกับสายลมเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น จากเดิมที่ว่าจะใช้ไมโครทันเนลลิ่ง ก็กลับกลายมาเป็นวิธีใช้ท่อร้อยสายขององค์การโทรศัพท์ที่เดินฝังไว้นานแล้วและว่างอยู่มาใช้เป็นหลักทั้งหมด บางจุดที่ไม่มีท่อร้อยสายของ ทศท. เดินไว้ หรือท่อที่เดินไว้นานแล้วชำรุดใช้การไม่ได้ (ซึ่งก็มีมากมาย) ทีเอจะต้องใช้วิธีการขุดแบบเก่าเพื่อวางท่อร้อยสายลงไป ซึ่งในต่างประเทศอย่างสหรัฐอเมริกาหรือประเทศแถบยุโรปต่างเลิกใช้วิธีการขุดถนนเพื่อวางท่อร้อยสายนี้ไปนานแล้ว และหันมาใช้ระบบไมโครทันเนลลิ่งแทบทั้งนั้น เพราะแม้จะมีค่าใช้จ่ายสูง แต่ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ธุรกิจใกล้เคียง การจราจร ผิวถนน และอื่น ๆ แต่อย่างใด

ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการใช้วิธีการวางสายโทรศัพท์แบบดั้งเดิมของโครงการที่ได้ชื่อว่าทันสมัยที่สุด โครงการหนึ่งของโลกการสื่อสาร จึงถูกโยนให้เป็นภาระของผู้ใช้รถ ใช้ถนนในกรุงเทพที่จะต้องเสียผิดการจราจรที่มีน้อยอยู่แล้วลงไปอีกและเมื่อขุดกันเสร็จแล้วสภาพการกลบและซ่อมแซมก็ไม่ดีเหมือนเดิม

กรณีผิวถนนที่ถูกขุดเจาะจนเสียสภาพความเป็นถนนไปแล้ว มีคำชี้แจงจาก ทศท. ว่า ตามระเบียบกฎเกณฑ์ของ ทศท. สำหรับการขุดถนนเพื่อวางท่อร้อยสายโทรศัพท์นี้เมื่อวางท่อร้อยสายเสร็จแล้วในระเบียบกำหนดให้กลบอย่างถาวร จะต้องรอให้เจ้าหน้าที่มาตรวจ และเซ็นรับให้เสร็จเรียบร้อยเสียก่อนจึงจะอนุญาตให้กลบอย่างถาวรได้ ซึ่งหมายถึงจะต้องมีการขุดปรับผิวถนนเอายางมะตอยออก (การกลบชั่วคราวจะใช้ยางมะตอย) เพื่อทำการตรวจรับโดยเจ้าหน้าที่ ทศท. หลายคนที่ไม่ทราบกฎเกณฑ์ของรัฐที่มิเคยแจ้งให้ทราบนี้ จึงทึกทักว่า ทีเอไม่รับผิดชอบการขุดถนนไปโดยปริยาย ฉะนั้นปัญหาในที่นี้คือ ช่วงเวลาที่กลบชั่วคราวและรอเจ้าหน้าที่ ทศท. มาตรวจรับไปนั้นใช้เวลานานแค่ไหน ซึ่งหากเจ้าหน้าที่ละเลยการปฏิบัติงานหรือตรวจรับงานล่าช้า ปัญหาการจราจร ณ จุดนั้น ก็คงเกิดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และทีเอก็ต้องรับหน้าเสื่อไป

"จริง ๆ ต้องกลบให้เหมือนเดิมแน่นอน แต่ในช่วงระหว่างรอการตรวจก็ต้องมีการกลบแล้วก็มีการลาดยางมะตอยไว้เมื่อฝนตกก็เสียหายได้ แม้ว่าเป็นการก่อปัญหาได้ทางหนึ่งแต่เรื่องนี้ทางบริษัทรับปากว่าจะเข้มงวดกวดขันต่อไป" กรรมการผู้จัดการใหญ่ของทีเอย้ำถึงเจตนาในการแก้ปัญหากับ "ผู้จัดการ" อีกครั้งหนึ่ง

ฉนั้นเรื่องนี้น่าจะเป็นข้อขบคิดให้รัฐได้ตระหนักต่อไปว่าเมื่อมีโครงการในลักษณะนี้เกิดขึ้นอีก รัฐก็น่าจะมีมาตรการหรือข้อกำหนด ข้อบังคับอะไรดี ๆ ออกมาบ้างในเรื่องนี้ ไม่ใช่จะผลักภาระตกอยู่กับประชาชนแต่ฝ่ายเดียว โดยคิดแต่เพียงการลดต้นทุนค่าใช้จ่ายของเจ้าของโครงการเท่านั้น

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us