Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน18 กันยายน 2549
ปตท.ล้มแผนลงทุนท่อก๊าซเส้นที่4มูลค่าแสนล.หลังประเมินไม่คุ้มค่า             
 


   
www resources

โฮมเพจ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)

   
search resources

ปตท., บมจ.
จิตรพงษ์ กว้างสุขสถิตย์
Oil and gas




"ปตท."พับแผนลงทุนท่อก๊าซเส้นที่ 4 มูลค่าแสนล้านบาทแล้ว หลังพบปริมาณก๊าซอ่าวไทยมีต่ำไม่คุ้มค่ากับการลงทุน เตรียมแผนสำรองนำเข้าก๊าซจากอินโดนีเซียและแอลเอ็นจีจากจีนแทน เผยไทยเสียเปรียบเพื่อนบ้านหลังมีแหล่งพลังงานน้อยขณะที่เพื่อนบ้านแม้กระทั่งกัมพูชาเริ่มพบก๊าซฯมากขึ้น

นายจิตรพงษ์ กว้างสุขสถิตย์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ธุรกิจสำรวจและผลิตก๊าซธรรมชาติบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ขณะนี้ปตท.ได้ตัดสินใจที่จะต้องหยุดแผนการลงทุนก่อสร้างท่อก๊าซเส้นที่ 4 ที่จะวางจากอ่าวไทยขึ้นมายังจังหวัดระยอง มูลค่าการลงทุนกว่าแสนล้านบาทเนื่องจากล่าสุดยังไม่มีความชัดเจนว่าแหล่งผลิตก๊าซฯใหม่ๆ ในอ่าวไทยจะมีปริมาณเท่าใดซึ่งตามหลักความคุ้มทุนก๊าซที่จะป้อนต้องมีไม่ต่ำกว่าวันละ 2,000 ล้านลูกบาศก์ฟุต(ลบ.ฟุต) และเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 10 ปี

" ขณะนี้ไทยมีความต้องการใช้ก๊าซธรรมชาติวันละ3,100 ล้านลบ.ฟุต โดย30%มาจากแหล่งในอ่าวไทย อีก70% มาจากพม่า ซึ่งหากการวางท่อแล้วมีปริมาณก๊าซผ่านไม่เต็มท่อก็จะไม่คุ้มทุนและที่สำคัญจะมีค่าผ่านท่อที่แพงมากจึงเห็นว่าหากเป็นอย่างนี้ก็คงต้องเลิกแผนนี้ไปเพราะลงทุนถึงแสนล้านบาท"นายจิตรพงษ์กล่าว

อย่างไรก็ตามเพื่อให้แผนการจัดหาก๊าซธรรมชาติของปตท.ยังคงเป็นไปตามเป้าหมายเพื่อรองรับความต้องการที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคตซึ่งเดิมท่อเส้นที่ 4 จะเสร็จในปี 2554 นั้นปตท.ได้ประเมินว่าความต้องการใช้ก๊าซฯจะเพิ่มขึ้นเป็นวันละ 5,000 ล้านลบ.ฟุต ซึ่งปริมาณก๊าซธรรมชาติที่ไทยจัดหาได้จากพม่าและอ่าวไทยอาจไม่เพียงพอในอนาคต ทำให้ปตท.จะเร่งเจรจาขอซื้อก๊าซธรรมชาติจากแหล่งอีสนาทูน่าของอินโดนีเซียและขอซื้อก๊าซธรรมชาติเหลวหรือแอลเอ็นจี จากประเทศจีน เข้ามาเพิ่มเติมในเร็วๆนี้ ซึ่งล่าสุดอินโดนีเซียพร้อมจะขายก๊าซธรรมชาติให้ไทยโดยอยู่ระหว่างเจรจาเรื่องราคา ส่วนแอลเอ็นจีก็จะนำเข้าจากจีน

สำหรับการนำเข้าแอลเอ็นจีจากจีนนั้น ฝ่ายจีนขอให้ไทยขนส่งทางเรือแต่ห้ามนำไปแวะขายส่งให้กับประเทศอื่นๆ โดยขอให้ไทยนำเข้ามาใช้ในไทยโดยตรง เพื่อป้องกันไทยแย่งลูกค้าแต่ไทยได้ต่อรองว่าจะขอจำหน่ายให้กับประเทศต่างๆตามรายทางที่เรือบรรทุกผ่าน หรือให้ไทยสามารถนำแอลเอ็นจีไปแลกเปลี่ยนก๊าซธรรมชาติกับอินโดนีเซียได้ในบางช่วงเวลาของความต้องการว่าในช่วงนั้นๆไทยต้องการก๊าซธรรมชาติหรือแอลเอ็นจีเป็นหลักเพื่อทำให้เกิดความคล่องตัวในการลงทุนทำธุรกิจ ทั้งนี้หากจีนยอมตามข้อเสนอของไทย ซึ่งจีนไม่ได้รับความเสียหายในเชิงธุรกิจแต่อย่างใดทั้งสิ้น ไทยก็จะตัดสินใจเข้าไปร่วมทุนกับจีนเพื่อสำรวจแหล่งก๊าซธรรมชาติและแอลเอ็นจีในจีนด้วย

" ไทยเสียเปรียบประเทศเพื่อนบ้านเพราะมีแหล่งพลังงานเหล่านี้น้อยมากทั้งเรื่องจำนวนพื้นที่และปริมาณต่างจากอินโดนีเซียและมาเลเซียหรือแม้แต่กัมพูชาที่ในอนาคตอาจจะมีปริมาณสำรองมากกว่าไทย ขณะนี้อินโดนีเซียและมาเลเซียเริ่มเป็นผู้ส่งออกแอลเอ็นจีอันดับต้นๆในเอเซียแล้วในปัจจุบันเมื่อมีรายได้ขึ้นมาทั้ง2ประเทศก็เริ่มเข้าไปซื้อกิจการแอลเอ็นจีในอิหร่านและเยเมนเพื่อขยายธุรกิจให้เพิ่มมากขึ้นเพื่อสร้างอำนาจต่อรองในธุรกิจพลังงาน" นายจิตรพงษ์กล่าว   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us