|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
โรงงานยาสูบระส่ำปัจจัยลบรุมเร้าเพียบยอดขายปี 49 วูบพลาดเป้า 3 พันล้านบาท ขณะที่แผนการออกแบรนด์ใหม่ต้องยกเลิกเหตุเศรษฐกิจแย่และการรณรงค์ลดสูบบุหรี่กระทบ ส่วนแผนบุกตลาดแคนนาดาต้องยกเลิกไปเพราะรับภาระต้นทุนไม่ไหว ซ้ำร้ายต้องระบุประเภทและปริมาณสารข้างซองด้วย
นายสุชน วัฒนพงษ์วาณิช ผู้อำนวยการโรงงานยาสูบ เปิดเผยว่า ในปี 2549 นี้ ยอดขายบุหรี่ในภาพรวมทุกยี่ห้อของโรงงานยาสูบลดลงไปมาก โดยเฉพาะบุหรี่ที่ไม่ใช่ยี่ห้อหลักที่ยอดขายด้านปริมาณลดลงเกินกว่า 20% มาก แต่ยี่ห้อหลัก 5 ตรา อาทิ กรองทิพย์ สายฝน วอลเดอร์ เป็นต้น ยังลดลงไม่ถึง 20% ทำให้ถัวเฉลี่ยยอดขายบุหรี่ในด้านปริมาณลดลงไปประมาณ 20% ขณะที่ในด้านมูลค่าลดลงไปกว่า 12%
ทั้งนี้ คาดว่าเป็นผลมาจากภาวะเศรษฐกิจในปีนี้ไม่ค่อยดีนัก ประชาชนมีค่าครองชีพสูงขึ้นมาก รวมทั้งราคาบุหรี่ที่แพงขึ้นจากนโยบายรัฐบาลที่เก็บภาษีบุหรี่เพิ่มขึ้นก่อนหน้านี้ และการรณรงค์ต่างๆ เช่น ห้ามวางโชว์บุหรี่หน้าร้าน การรณรงค์ของกระทรวงสาธารณสุข เป็นต้น นอกจากนี้ ยังพบว่า ภาพรวมของคนบริโภคบุหรี่มีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยในปีนี้อัตราการบริโภคลดลงไปประมาณ 24-25% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา
"ยี่ห้อหลักๆ 5 ตรา ยอดขายยังไม่ได้ตกมากนัก ส่วนใหญ่ตกลงมาตั้งแต่ตอนที่มีการขึ้นภาษีใหม่ๆ แล้วก็ทรงๆ อยู่ ส่วนใหญ่ต่ำกว่า 20% กลุ่มนอกเหนือกว่านี้ลดลงมากกว่า 20% แต่เฉลี่ยกันแล้วก็อยู่ที่ประมาณ 20% โดยผมคิดว่ายอดที่ตกลงนี้ เป็นผลมาจากราคาบุหรี่ที่แพงขึ้นส่วนหนึ่ง รวมทั้งเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมา ทำให้คนมีค่าครองชีพสูงขึ้นด้วย ซึ่งหลังจากนี้ เชื่อว่าบุหรี่ยี่ห้อใหม่ๆ คงเกิดยากแล้ว" นายสุชน กล่าว
สำหรับปีนี้โรงงานยาสูบตั้งเป้ายอดจำหน่ายบุหรี่อยู่ที่ 49,000 ล้านบาท แต่จากสถานการณ์ในปัจจุบันที่ยอดจำหน่ายตกไปวันละประมาณ 10 ล้านบาท คาดว่าเมื่อถึงสิ้นปีจะทำให้ยอดขายตกไปกว่า 3,000 ล้านบาท ซึ่งจะส่งผลให้ยอดจำหน่ายในปีนี้อยู่ที่ประมาณ 46,000 ล้านบาท ซึ่งต่ำกว่าปีที่แล้ว ที่ยอดจำหน่ายอยู่ที่ประมาณ 49,000 ล้านบาท
นายสุชน กล่าวอีกว่า คาดว่าหลังจากนี้ยอดจำหน่ายบุหรี่อาจจะลดลงไปเรื่อยๆ เนื่องจากในปีหน้าจะมีการจำกัดสถานที่สูบบุหรี่ การกำหนดให้ต้องระบุสารที่อยู่ในบุหรี่บนฉลากข้างซอง เป็นต้น โดยมาตรการต่างๆ ที่ออกมาอย่างต่อเนื่องนี้ ส่งผลทำให้โรงงานยาสูบต้องล้มเลิกโครงการที่จะออกบุหรี่ยี่ห้อใหม่ๆ รวมทั้งแผนการขยายตลาดไปต่างประเทศ อย่างเช่น แคนาดา เป็นต้นด้วย เนื่องจากสำรวจตลาดแล้ว พบว่าคงแข่งขันยากและไม่สามารแบกรับต้นทุนได้ ทั้งนี้ ในปี 2550 โรงงานยาสูบตั้งเป้าหมายเพิ่มยอดขายบุหรี่เพียง 0.5% เท่านั้น
อย่างไรก็ตาม สำหรับประเด็นที่ต้องมีการระบุสารที่อยู่ในบุหรี่บนฉลากข้างซองนั้น ถือว่าสร้างความลำบากในการทำธุรกิจให้แก่โรงงานยาสูบ โดยในต่างประเทศก็ไม่ค่อยมีใครทำเช่นนี้ ซึ่งแทนที่จะระบุสารที่อยู่ในบุหรี่บนฉลากข้างซอง ทางสำนักงานกองทุนสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) น่าจะใช้วิธีการพิมพ์เอกสารแจกให้ความรู้แก่ประชาชนทั่วไปแทน
|
|
|
|
|