เอ็มลิงค์เตรียมรุกงานแฟรนไชส์ โดยอบรมและเทรนงานบริการให้ผู้ที่ต้องการลงทุนเปิดร้านขายมือถือ
ภายใต้ชื่อ M-SHOP ซึ่งจะเพิ่มความมั่นคงในช่องทางการจำหน่าย หลังขยาย SERVICE
CENTER ได้แล้ว กว่า 10 สาขาเมื่อปีก่อน เผยอยู่ใน ระหว่างเจรจากับผู้ผลิตโทรศัพท์มือถือเจ้าของแบรนด์จากต่างประเทศ
อีกหลายแห่ง เพื่อนำเข้ามาจำหน่าย หลังมีการปลดล็อกอีมี่ ตั้งเป้าปีนี้ขาย
1.5 ล้านเครื่อง
นายพลณรงค์ วัฒนโพธิธร ผู้จัดการฝ่ายการตลาด บริษัท เอ็ม ลิงค์ เอเชีย
คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ M-LINK เปิดเผย ว่า หลังจากที่โทรศัพท์มือถือมีการปลดล็อกอีมี่ตั้งแต่ปลายปีที่ผ่านมา
ทำให้ตัวแทนขายมือถือมีการทุ่มตลาดกันอย่างมาก ส่งผลให้เอ็มลิงค์ ต้องลดราคามือถือเพื่อที่จะสู้ตลาด
ได้ พร้อมกับการพิจารณาที่จะรับสินค้าแบรนด์อื่นเข้ามาขายเพิ่มขึ้น เพื่อให้ลูกค้ามีความหลากหลายในการเลือกซื้อโทรศัพท์มากขึ้น
เพราะยังผู้ผลิตโทรศัพท์มือถืออีกหลายยี่ห้อที่ผลิตสินค้าออกมา ภายใต้ยี่ห้ออื่น
หรือแบบ OEM ให้กับโทรศัพท์มือถือยี่ห้อดัง ๆ เช่น โนเกีย เป็นต้น และปัจจุบันได้หันมาผลิตยี่ห้อที่ตัวเองออกจำหน่าย
ซึ่งขณะนี้อยู่ในระหว่างการติดต่อการเพื่อจะนำสินค้ามาจำหน่ายในไทย
อย่างไรก็ตาม การนำสินค้ามา จำหน่าย เอ็มลิงค์ยอมรับว่าสินค้าที่จะนำมาจำหน่ายเพิ่มขึ้นนั้น
อาจแข่งขันกับแบรนด์อื่นที่เป็นอันดับหนึ่งอยู่เดิมไม่ได้แต่ต้องการเปิดตัว
แบรนด์ใหม่ เพื่อให้เป็นที่รู้จักของลูกค้า ภายใต้เงื่อนไขที่ต้องเป็นสินค้าที่มีคุณภาพและมีโรงงาน
ผลิตที่ดี รวมทั้งการให้บริการหลังการขายก็ต้อง ดีด้วย เพื่อรองรับความต้องการของลูกค้าอย่างครบวงจร
โดยสินค้าของไต้หวันและเกาหลียังมีอีกหลายแบรนด์ที่ผลิตออกสู่ตลาดและแข่งขันกันรุนแรงมากที่ประเทศดังกล่าว
ซึ่งเอ็มลิงค์อยู่ในระหว่างเจรจาและศึกษาเพื่อจะนำสินค้าจากประเทศเหล่านี้
เข้ามาจำหน่ายในไทย เพราะสินค้า จากประเทศดังกล่าวก็ดีกว่าการนำเข้ามาจากจีนซึ่งการผลิตสินค้ามีคุณภาพต่ำ
เมื่อปลายปีที่ผ่านมาเอ็มลิงค์นำ LG ซึ่งเป็น สินค้า HI-END มาเปิดตลาดที่เมืองไทย
ถือเป็น การนำโทรศัพท์แบรนด์ใหม่เข้ามาจำหน่าย หลังจากที่เดิมมีสินค้าเพียงไม่กี่แบรนด์
แต่โมโตโรล่า ยังเป็นตัวหลักในการจำหน่ายมือถือของเอ็มลิงค์
อย่างไรก็ตาม แม้ภาวะการแข่งขันของธุรกิจ โทรศัพท์มือถือมีมากมาย แต่เอ็มลิงค์
ยังเน้นที่จะเป็นผู้จำหน่ายรายเดียวของไทยในการที่จะจำหน่ายโทรศัพท์มือถือภายใต้แบรนด์โมโตโรล่า
ซึ่งเป็นการง่ายต่อการควบคุมรวมทั้งการมีบริการ หลังการขายให้กับลูกค้า จึงถือเป็นช่องทางหนึ่งที่เหมือนจะทำให้เป็นข้อได้เปรียบเรื่องการทำตลาด
และการไม่มีบริการหลังการขายของโทรศัพท์มือถือ จึงเป็นเป้าหมายอย่างหนึ่ง
สำหรับ ช่องทางหารายได้ โดยปีที่ผ่านมาเอ็มลิงค์เพิ่มศูนย์ดังกล่าวอีก 10
แห่ง ซึ่งจะช่วยเพิ่มสัดส่วนรายได้จากการบริการหลังการขายเพิ่มขึ้น โดยในแต่ละสาขาบริษัทจะใช้งบลงทุนจำนวน
2-5 ล้านบาทต่อสาขา ปัจจุบันเอ็มลิงค์มีศูนย์บริการหลังการขายแล้ว 31 แห่ง
และในปีนี้ เอ็มลิงค์จะขยายงาน โดยใช้ชื่อว่า M-SHOP จากปี 2545 ที่เน้นขยายศูนย์บริการหลังการขายเพียงอย่างเดียว
ซึ่ง M-SHOP จะเป็นเหมือนแฟรนไชส์ของ เอ็มลิงค์ ที่มีเนื้อที่ประมาณ 40-60
ตารางเมตร และผู้ที่ต้องการมีร้านเป็นของตัวเอง แต่จะได้รับการฝึกงาน SET
UP และดูแลจากเอ็มลิงค์โดยตรง รวมทั้งการทำโปรโมชั่นที่แฟรนไชส์จะได้รับพร้อมกับการทำโฆษณาของเอ็มลิงค์
และบริษัทตั้งเป้าปีนี้ประมาณ 200 แห่งทั่วประเทศ ซึ่งเอ็มลิงค์จะได้รายได้จากการขายโทรศัพท์เพิ่มขึ้น
ส่วนราคาของแฟรนไชส์แต่ละแห่งนั้น ยังไม่เปิดเผย เนื่อง จากขณะนี้อยู่ในระหว่างการเตรียมพร้อมที่จะให้ข้อมูลกับผู้ที่สนใจ
และคาดว่ารายละเอียดจะชัดเจนในต้นเดือนหน้า
โดยเอ็มลิงค์ จะได้รับประโยชน์ในด้านช่องทางการจำหน่ายโทรศัพท์มือถือที่บริษัทนำเข้ามาจำหน่ายจากต่างประเทศ
และความแน่นอน ของลูกค้าที่เชื่อว่าจะนำมาซึ่งกำไรจากการจำหน่าย มือถือด้วย
สำหรับยอดขายโทรศัพท์มือถือในปีนี้ เอ็ม ลิงค์ตั้งเป้าไว้ที่ประมาณ 1.5
ล้านเครื่อง จากปีที่แล้วยอดขายประมาณ 1 ล้านเครื่อง หรือ 40% โดยเน้นเครื่องในราคาสูงกว่า
1 หมื่นบาท จำนวน 20% และราคาระหว่าง 7,000-8,000 บาท ประมาณ 20% ที่เหลือจะเป็นเครื่องที่มีราคา
5,000-6,000 บาท ซึ่งเอ็มลิงค์ยังเน้นที่จะขายเครื่องที่เป็นสินค้า HI-END
อย่างไรก็ตาม เอ็มลิงค์จึงยังคงเน้นขายเครื่องของโมโตโรล่าเป็นหลัก ขณะที่แบรนด์อื่นอาจนำเข้ามากขึ้น
แต่ต้องเป็นสินค้าที่มีคุณภาพและได้มาตรฐาน ที่สำคัญต้องใส่ใจกับลูกค้าที่ซื้อสินค้าด้วย
และการที่มีการปลดล็อกอีมี่ ส่งผลต่อยอดขายเครื่องของเอ็มลิงค์ด้วยเช่นกัน
โดยเห็นได้จากยอดขายเครื่องเมื่อไตรมาส 3 ปี 2545 ลดลงมาก เนื่องจากเอ็มลิงค์ต้องหั่นราคา
ขายเครื่องลงเพื่อสู้กับรายอื่น ทำให้ส่วนต่างของ กำไรจากยอดขายลดลง
"แต่ไตรมาส 4 ตลาดเริ่มนิ่งแล้ว และผลประกอบการไตรมาส 4 ของเอ็มลิงค์เชื่อว่าจะไม่ต่างจากไตรมาส
3 นอกจากนี้ เรายังต้องไม่ผูกอยู่กับขายเครื่องให้เพียง AIS เพียงแห่งเดียว
คือเราจะต้องหันขายเครื่องของเครือข่ายหรือหน่วยงานอื่นเพิ่มขึ้นด้วย เพื่อเพิ่มช่องทางรายได้ของเรา"
สำหรับผลการดำเนินงานงวด 3 เดือน สิ้น สุด ณ วันที่ 30 กันยายน 2545 เอ็มลิงค์
พบว่า บริษัทและบริษัทย่อยมีกำไรสุทธิทั้งสิ้น 75.79 ล้านบาท ซึ่งสูงกว่ารอบระยะเวลาบัญชีสิ้นสุดวันเดียวกันของปีก่อนจำนวน
64.17 ล้านบาท หรือคิดเป็นการเปลี่ยนแปลงร้อยละ 552.06
เนื่องจาก บริษัทมีรายได้จากการขาย เท่ากับ 855.06 ล้านบาทเพิ่มขึ้นจำนวน
64.09 ล้านบาทคิดเป็นอัตราการเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.10 เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
บริษัทมีรายได้ค่าสนับสนุนการขายเท่ากับ 20.93 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจำนวน 5.56
ล้านบาท คิดเป็นอัตราการเพิ่มขึ้นร้อยละ 36.17
โดยได้รับจากบริษัทผู้ผลิตโทรศัพท์เคลื่อนที่ และบริษัทผู้ให้บริการเครือข่ายเพื่อสนับสนุนการหาช่องทางการจำหน่ายสินค้า
บริษัท มีรายได้อื่นจากค่าบริการและค่าซ่อมโทรศัพท์เคลื่อนที่เท่ากับ 11.64
ล้านบาทเพิ่มขึ้นจำนวน 8.79 ล้านบาท คิดเป็นอัตราการเพิ่มร้อยละ 308.55 เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
และบริษัทยังได้รับส่วนแบ่งกำไรในบริษัทย่อยจำนวน 10.35 ล้านบาท บริษัทมีอัตราส่วนของต้นทุนขายต่อรายได้รวมลดลงเหลือร้อยละ
82.89 เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เท่ากับร้อยละ 83.89
เนื่องจากการได้รับส่วนลดทางการค้า นอก จากนี้บริษัทมีค่าใช้จ่ายในการขาย
และบริหารลดลงจำนวน 37.19 ล้านบาท คิดเป็นอัตราการลดลงร้อยละ 35.39 เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียว
กันของปีก่อน เนื่องจากการลดค่าใช้จ่ายด้านต่างๆ โดยเฉพาะค่าโฆษณา ค่าใช้จ่ายส่งเสริมการขายและค่าเดินทางต่างประเทศ
สำหรับ เอ็มลิงค์ เป็นผู้นำเข้าโทรศัพท์เคลื่อนที่โมโตโรล่า และเป็นผู้แทนจำหน่ายในระบบจีเอสเอ็มของบริษัท
แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัดหรือ ADVANC และสามรถทำการ จำหน่ายมือถือให้กับทุกเครือข่ายหลังจากมีการปลดอีมี่แล้ว