Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กรกฎาคม 2537








 
นิตยสารผู้จัดการ กรกฎาคม 2537
"ไม ชาน สู้ไม่ถอย"             
 


   
search resources

ไม ซาน
Newspaper




ไม ชานหัวเราะเบา ๆ เมื่อหวนนึกถึงบทบู๊ของเธอตอนที่ยังเป็นผู้จัดการดูแลอาคารแห่งหนึ่งในย่านที่เสื่อมโทรมที่สุดของนิวยอร์ค สาวไดนาโมสูง 1 เมตรครึ่งคนนี้เคยเผชิญหน้ากับแก๊งค์ขายยาเสพติด และผู้เช่าอาคารในเขตบร็องซ์ที่เธอดูแลอยู่ซึ่งมีพฤติกรรมเลวร้ายมาก

"เรื่องข่มขู่นั้นมีอยู่ แถมยังต้องเสียเวลาขึ้นโรงขึ้นศาลไล่ผู้เช่าเหล่านี้ออกไป ฉันมันเป็นคนหัวดื้อ ไม่เคยยอมแพ้ใคร" ชานพูดถึงประสบการณ์ของตัวเอง

แต่นั่นคืออดีตที่ผ่านพ้นไปแล้ว ปัจจุบันชาน ซึ่งมีอายุ 34 ปีคือเจ้าของ "ไชนีส เรียลเอสเตท แอนด์ บิสซิเนส ไทมส์ หนังสือพิมพ์ธุรกิจเรียลเอสเตทรายสัปดาห์ขนาดแทบลอยด์ฉบับเดียวในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของสหรัฐฯ ที่เป็นภาษาจีน โดยมีสำนักงานตั้งอยู่ที่ถนนลาฟาแยตต์ ใจกลางย่านไชน่าทาวน์ในนิวยิอร์ก

เมื่อ 5 ปีก่อน ชานซึ่งตอนนั้นทำงานเป็นนายหน้าธุรกิจอสังหาริมทรัพย์หาลูกค้านักลงทุนจากฮ่องกง และไต้หวัน ด้วยการลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์จีน แต่ต้องผิดหวัง ดังนั้นเธอจึงทุปกระปุกเอาเงินที่เก็บหอมรอมริบจากค่านายหน้ามาได้ 75,000 ดอลลาร์ และไปขอกู้เงินจากซิตี้แบงก์อีก 50,000 ดอลลาร์มาเปิดหนังสือพิมพ์แทบลอยด์ขนาด 32 หน้าของตัวเองขึ้นในปี 1989 หลังจากนั้นเป็นต้นมา ยอดจำหน่ายจัดจำหน่ายหนังสือพิมพ์ของเธอได้เพิ่มขึ้นจาก 15,000 ฉบับเป็น 35,000 ฉบับ

การทำหนังสือพิมพ์แนวอสังหาริมทรัพย์ไม่ใช่เรื่อง่าย ในสถานการณ์ที่ตลาดบ้านและที่ดินกำลังซบเซา ทุกวันนี้เนื้อที่โฆษณากินพื้นที่ในหนังสือพิมพ์อยู่ราว 30% ลดลงจาก 40% ในปี 1989 ต้นทุนค่าใช้จ่ายตกประมาณ 350,000-400,000 ดอลลาร์ต่อปี และรายได้จากโฆษณาปีละ 300,000 ดอลลาร์ จำนวนที่เป็นส่วนต่างนั้นชานต้องกู้จากธนาคารมาอุด

"ฉันมักจะตื่นขึ้นมากลางดึก และนั่งคิดดูว่าจะโยนผ้ายอมแพ้ดีไหม" เธอเล่าให้ฟังถึงความกดดัน "แต่คนอย่างฉันเมื่อตัดสินใจทำแล้ว ต้องทำให้ตลอด"

เมื่อ 2 ปีก่อนชานได้ดึงหุ้นส่วนมาร่วมด้วยอีกคนหนึ่ง และตอนนี้ก็เริ่มมองหานักลงทุนรายอื่น ๆ อีก เธอฝันว่าจะขยายกิจการไปให้ถึงฝั่งตะวันตกของสหรัฐฯ นักลงทุนหลายรายขอซื้อหนังสือพิมพ์ของเธอ แต่เธอปฏิเสธ "ในช่วงเริ่มต้นสองสามปีแรก หนังสือพิมพ์แทบทุกแห่งมักจะขาดทุน" เธอพูดหน้าตาเฉยต่อไปว่า "ฉันอยากจะขาดทุนเพิ่มอีกสักหน่อย"

ชานบอกว่า ความเป็นคนแกร่งที่สู้ชีวิตของชาวจีนสาวนใหญ่มีที่มาจากสภาพแวดล้อมในครอบครัวแบบดั้งเดิม พ่อแม่ของเธอย้ายถิ่นฐานจากฮ่องกงมายังสหรัฐฯ เมื่อตอนที่เธอได้ 4 ขวบ พ่อทำงานอยู่ในร้านอาหาร ส่วนแม่ทำงานอยู่ในโรงงานเสื้อผ้า บางครั้งเธอจะไม่ได้รับการส่งเสริมในสิ่งที่เธอเองต้องการ "แม่มักเป็นคนมองอะไรในแง่ร้ายเสมอ" ชานเล่า เธอเป็นลูกสาวคนที่ 2 จาก 4 คน "แม่มักจะทำให้ฉันรู้สึกว่าฉันไม่มีค่า จริง ๆ แล้วแม่อาจไม่ตั้งใจ แต่ฉันก็รู้สึกอย่างนั้น" นอกจากนี้เธอยังไม่ได้รับการสนับสนุนจากพ่ออีกด้วย "เราจะไม่คุยกันถึงเรื่องความคิด เขาเป็นคนไม่ค่อยพูดอยู่แล้วด้วย อย่างมากก็ถามว่า "ลูกหิวไหม"

หลังจากได้ปริญญาธุรกิจบัณฑิตจากมหาวิทยาลัยไมอามี ชานได้ตั้งบริษัทอสังหาริมทรัพย์ขึ้นมา และภายในไม่กี่ปีก็สามารถทำกำไรได้โดยมียอดค่านายหน้าตกราวปีละ 60,000 ดอลลาร์

ในฐานะคนทำหนังสือพิมพ์ กลยุทธ์ของชานคือ เสนอข้อมูลและคำแนะนำที่เป็นประโยชน์ต่อผู้อ่าน บทความบางเรื่องที่ได้รับความนิยมเป็นเรื่องเกี่ยวกับการควบคุมค่าเช่า การซ่อมแซมปรับปรุงบ้าน ความเคลื่อนไหวของผู้ประกอบการในธุรกิจนี้ ข่าวตลาดหุ้นและฮวงจุ๊ย

ชานมอบงานด้านกองบรรณาธิการให้เดวิด วู หัวหน้ากองบรรณาธิการซึ่งเป็นคนปักกิ่งเป็นผู้ทำ แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่าเธอไม่สนใจงานเล็ก ๆ น้อย ๆ ชานจะลงมือเช็ดถู ทาสี และติดตั้งตู้ขายหนังสือพิมพ์แบบหยอดเหรียญทั้ง 25 ตู้ด้วยตัวเอง

"มันน่าเขินอยู่เหมือนกัน เพราะเวลาเราไปไขตู้ จะมีคนมาดูแล้วพูดว่านั่นไง ไม ชาน เจ้าของหนังสือพิมพ์ ทำไมเธอไม่จ้างใครสัก 10 ดอลลาร์มาเอาหนังสือพิมพ์ใส่ตู้ให้นะ" เธอเล่า

การทำธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ และหนังสือพิมพ์รายสัปดาห์ทำให้ชานไม่ค่อยมีเวลาว่างสำหรับงานสังคมนัก เมื่อถามเธอถึงเรื่องการแต่งงาน เธอยิ้ม กระแอมเล็กน้อย "ฉันหมั้นมานานแล้ว" แต่ดูเหมือนว่าเธอจะมีพันธะกับชีวิตการทำงานเสียมากกว่า

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us