Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์17 กันยายน 2549
บอร์ดไทยพาณิชย์ลากแบงก์เชื่อมการเมือง หารายได้บนพื้นที่เสี่ยง-หวั่นได้ไม่คุ้มเสีย             
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารไทยพาณิชย์

   
search resources

ธนาคารไทยพาณิชย์, บมจ.
กุหลาบแก้ว, บจก.




"วิชิต สุรพงษ์ชัย-ศุภเดช พูนพิพัฒน์" คนโตไทยพาณิชย์ เลือกพาแบงก์ใบโพธิ์เดินบนพื้นที่เสี่ยง โยงสนับสนุนภาคการเมือง คนวงการแบงก์ติงระยะหลังหารายได้ด้วยการอิงการเมือง ทั้งปล่อยกู้แกรมมี่ซื้อมติชน-ชินคอร์ป-สุวรรณภูมิ

ผลการสอบบริษัทกุหลาบแก้ว จำกัด ชุดที่อรจิต สิงคาลวณิช อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ที่สรุปไปแล้วถูกเปิดเผยออกมา ก่อนที่จะถูกยรรยง พวงราช รองปลัดกระทรวงพาณิชย์ตั้งกรรมการชุดใหม่ขึ้นมาพิจารณาอีกครั้ง โดยผลสอบที่ออกมาค่อนข้างชัดเจนว่าผู้ถือหุ้นใหญ่ในบริษัทกุหลาบแก้วในช่วงที่เข้าซื้อชิน คอร์ป เมื่อ 23 มกราคม 2549 เป็นตัวแทนของผู้ถือหุ้นต่างประเทศ

โดยบริษัทกุหลาบแก้วได้เข้าถือหุ้นในบริษัท ซีดาร์ โฮลดิ้งส์ จำกัด ซึ่งเป็นหนึ่งในการเข้าซื้อบริษัทชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด(มหาชน) หรือ SHIN ปัจจุบันถือหุ้น 51.98% และพันธมิตรอย่างบริษัท แอสเพน โฮลดิ้งส์ จำกัด ถือหุ้น 44.14% ซึ่งทั้ง 2 บริษัทนี้เป็นตัวแทนถือหุ้นของเทมาเส็ก โฮลดิ้งส์ จากสิงคโปร์

ชื่อคนไทย-เงินเทมาเส็ก

จากผลสอบของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ระบุว่ากุหลาบแก้วตั้งเมื่อ 17 มกราคม 2549 ก่อนการซื้อขายหุ้นชินคอร์ปมูลค่า 7.3 หมื่นล้านบาทเพียงไม่กี่วัน โดยชื่อของพงส์ สารสินและศุภเดช พูนพิพัฒน์ กลับพบหลังจากการเพิ่มทุนเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2549 หลังจากที่ตระกูลชินวัตรได้ขายหุ้นออกมาแล้ว แต่ในวันที่มีการเข้าซื้อนั้นมีการระบุชื่อของบุคคลทั้ง 2 ว่าหนึ่งในผู้ถือหุ้นใหญ่

ประการต่อมาเงินที่ใช้ซื้อหุ้นในการเพิ่มทุนของพงส์ สารสิน เป็นการโอนเงินมาจากบัญชีของบริษัทไซเพรส โฮลดิ้งส์ ซึ่งเป็นตัวแทนของเทมาเส็กและเป็นหนึ่งในผู้ถือหุ้นใหญ่ในบริษัทกุหลาบแก้ว ส่วนเงินเพิ่มทุนในส่วนของศุภเดช พูนพิพัฒน์ จำนวน 32.86 ล้านบาทเป็นเงินกู้ยืมจากธนาคารไทยพาณิชย์ และบริษัทไซเพรส โฮสดิ้งส์ก็ได้ใช้เงินจำนวนเดียวกันค้ำประกันให้กับศุภเดช โดยที่เงินของไซเพรสฯ มาจากกลุ่มเทมาเส็ก ซึ่งต่อมาศุภเดชก็ได้นำเงินจำนวนดังกล่าวไปชำระคืนให้กับธนาคารไทยพาณิชย์

จะเห็นได้ว่าเงินเพิ่มทุนของผู้ถือหุ้นคนไทยทั้ง 2 ผ่านมาทางบริษัท ไซเพรส โฮลดิ้งส์จากสิงคโปร์ทั้งสิ้น แม้ว่าหลังจากนั้นพงส์ สารสิน จะชำระเงินค่าหุ้นมูลค่า 50.93 ล้านบาทคืนให้กับไซเพรสในภายหลังก็ตาม

เมื่อพิจารณาจากช่องทางการผ่านเงินของไซเพรสฯ ตัวแทนของเทมาเส็ก ทุกรายการจะผ่านธนาคารไทยพาณิชย์ทั้งสิ้น ทั้งนี้ส่วนหนึ่งเป็นเพราะ GOVERNMENT OF SINGAPORE INVESTMENT CORPORATION หรือ GIC เป็นหนึ่งในผู้ถือหุ้นในธนาคารไทยพาณิชย์ และตัวของธนาคารไทยพาณิชย์ก็เป็นหนึ่งในผู้ถือหุ้นในบริษัทซีดาร์ โฮลดิ้งส์

แถมยังใช้บริษัทหลักทรัพย์ไทยพาณิชย์ที่ธนาคารถือหุ้นใหญ่เกือบ 100% เป็นที่ปรึกษาทางการเงินในการซื้อขายครั้งนี้ให้และยังมีการซื้อขายผ่านโบรกเกอร์รายนี้ เรียกว่าได้ทั้งค่าธรรมเนียมในการเป็นที่ปรึกษาและได้ค่าธรรมเนียมจากการซื้อขายผ่านอีกด้วย

สำหรับศุภเดช พูนพิพัฒน์ ปัจจุบันยังดำรงตำแหน่งประธานกรรมการบริหาร ควบตำแหน่งรองประธานกรรมการในธนาคารธนชาต จำกัด(มหาชน) หรือ TBANK ที่มีบริษัทเงินทุนธนชาติถือหุ้นใหญ่ ที่เข้าเคยเป็นผู้บริหารอยู่ เคยมีธนาคารไทยพาณิชย์เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในบริษัทเงินทุนแห่งนี้ และ GIC ถือหุ้นในบริษัทนี้เช่นกัน

นอกจากนี้วิชิต สุรพงษ์ชัย กรรมการในบริษัทชิน คอร์ป ยุคที่เทมาเส็กถือหุ้นใหญ่ ยังดำรงตำแหน่งประธานกรรมการบริหารและกรรมการในธนาคารไทยพาณิชย์ โดยก่อนหน้านี้วิชิตเคยเป็นหนึ่งตัวเก็งที่จะได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังในรัฐบาลไทยรักไทย 2

ได้เงิน-ได้ชื่อเสีย(ง) ?

"ไทยพาณิชย์ทุ่มทั้งคน เงินและชื่อเสียงของธนาคารลงไปในดีลนี้ ถือเป็นการทุ่มเทที่ไม่คุ้มค่าเป็นอย่างยิ่ง เพราะรู้ทั้งรู้ว่าการซื้อขายหุ้นชิน คอร์ปจะต้องถูกโยงเป็นเรื่องการเมือง ซึ่งก่อนหน้านี้ไทยพาณิชย์ก็เคยโดนวิพากษ์วิจารณ์มาแล้วจากการปล่อยกู้ให้กับกลุ่มแกรมมี่ซื้อหุ้นมติชน จนถูกกระแสสังคมต่อต้านมาแล้ว"แหล่งข่าวจากวงการธนาคารพาณิชย์กล่าว

พร้อมกล่าวต่อว่า เรื่องนี้ถือเป็นเรื่องของคณะกรรมการธนาคารที่ต้องตัดสินใจร่วมกัน เพราะมีการปล่อยสินเชื่อให้กับเทมาเส็กถึง 2 หมื่นล้านบาท และคนที่มีอำนาจจริง ๆ ไม่ใช่คุณชฎา วัฒนศิริธรรม กรรมการผู้จัดการใหญ่ แต่เป็นคุณวิชิต สุรพงษ์ชัย ที่มีบทบาทในบอร์ดของธนาคารค่อนข้างมาก แต่ถึงอย่างไรผลกระทบที่เกิดขึ้นกับธนาคารก็คงต้องเป็นความรับผิดชอบร่วมกันทั้งหมด

ระยะหลังธุรกรรมของแบงก์ไทยพาณิชย์เลือกทำในพื้นที่ที่เสี่ยงต่อภาพลักษณ์ของธนาคาร ไม่ว่าจะเรื่องปล่อยกู้แกรมมี่ซื้อมติชน ปล่อยกู้ให้เทมาเส็กซื้อหุ้นชินคอร์ปจากตระกูลชินวัตรหรือล่าสุดที่ถูกข้อครหาในเรื่องการได้สิทธิให้บริการด้านอัตราแลกเปลี่ยนในสนามบินสุวรรณภูมิซึ่งมีเพียง 2 ธนาคารเท่านั้นที่ได้สิทธิจากคิง เพาเวอร์ คือไทยพาณิชย์และธนาคารทหารไทย

อย่างไรก็ตามหากย้อนกลับไปถึงช่วงที่ไทยพาณิชย์ประสบปัญหาจากการถือหุ้นใหญ่ในบริษัท ไอทีวี จำกัด(มหาชน) ครั้งนั้นก็ได้ชิน คอร์ปเข้ามากอบกู้ซื้อหุ้นต่อจากไทยพาณิชย์ไป ส่วนจะเป็นเรื่องของบุญคุณหรือประโยชน์ต่างตอบแทนหรือไม่คนไทยพาณิชย์เท่านั้นที่จะตอบเรื่องนี้ได้

รู้ว่าเสี่ยงแต่เลือกเดิน

การทำธุรกิจธนาคารในประเทศไทยมักถูกจับตาจากภาคประชาชนอยู่แล้ว โดยเฉพาะเรื่องการคิดอัตราดอกเบี้ยที่ค่อนข้างสูงหรือการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมที่แพงกว่ารายอื่น ระยะหลังทุกแบงก์แข่งขันในเรื่องภาพลักษณ์ของธนาคารเป็นอีกหนึ่งจุดขาย ธุรกรรมใดที่เสี่ยงต่อภาพลักษณ์ธนาคารหลายแห่งมักจะหลีกเลี่ยง

ถามว่าธุรกรรมในการซื้อหุ้นชิน คอร์ปนี้แบงก์ไทยพาณิชย์ก็ดูออกว่าผลที่ออกมาจะเป็นอย่างไร แต่ก็เลือกที่จะทำ แน่นอนว่าประโยชน์ที่ได้รับนั้นมากตามมูลค่าขายที่ 7.3 หมื่นล้านบาท ได้ทั้งดอกเบี้ยเงินกู้ที่ปล่อยสินเชื่อได้ก้อนใหญ่ สร้างรายได้ให้กับบริษัทลูกอย่างบริษัทหลักทรัพย์ไทยพาณิชย์ แต่คุ้มกันหรือไม่กับข้อครหาจากประชาชนเกือบทั้งประเทศ

เริ่มตั้งแต่การที่คุณพงส์และคุณศุภเดชเข้าไปซื้อหุ้นต่อจากสมยศ สุธีรพรชัย ทนายความในบริษัท ฮันตัน แอนด์ วิลเลี่ยม(ประเทศไทย) จำกัด และเป็นหนึ่งในที่ปรึกษาทางกฎหมายให้กับการซื้อขายชินคอร์ปด้วย ที่ตั้งบริษัทกุหลาบแก้วขึ้นมาเป็นการเฉพาะกิจโดยมีพนักงานบริษัทร่วมถือหุ้นกันคนละ 1 หุ้น เพื่อให้ครบตามองค์ประกอบของกฎหมายในการจัดตั้งบริษัท

การขายซื้อหุ้นของพงส์และศุภเดชเลือกซื้อหุ้นบุริมสิทธิ์ที่ถูกออกแบบมาเพื่อให้รับผลตอบแทนจากการลงทุนเป็นหลัก แต่สิทธิในการออกเสียงกลับน้อยกว่าหุ้นสามัญ ที่ถือโดยตัวแทนจากเทมาเส็ก

ก่อนหน้านี้บริษัทฮันตันฯ เคยเป็นที่ปรึกษากฎหมายในการทำคำเสนอซื้อให้กับบริษัทไทยเทลโค โฮลดิ้งส์(กลุ่มเทเลนอร์) ในการเข้าซื้อกิจการของบริษัทยูไนเต็ดคอมมูนิเกชั่นหรื อ UCOM มาก่อน

ดีลใหญ่อย่างนี้จะต้องมีการหารือกันมานาน มีการวางแผนเพื่อลดอุปสรรค ทั้งทางกฎหมายและแหล่งเงินทุน แบงก์ไทยพาณิชย์ที่ร่วมวงทั้งปล่อยสินเชื่อ ให้คนเข้ามาร่วมถือหุ้น เป็นกรรมการในชินคอร์ป ให้บริษัทลูกรับงานทางด้านหลักทรัพย์ น่าจะต้องทราบเรื่องอย่างนี้มาตั้งแต่ต้น ถือว่าเสี่ยงมากสำหรับภาพพจน์ของธนาคาร   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us