Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์17 กันยายน 2549
"สำนักทรัพย์สินฯ"คุมทิศทางเรือ"เทเวศฯ" สลัดภาพประกันภัยหัวเก่าเผชิญหน้าศึกนอก             
 


   
www resources

โฮมเพจ สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์

   
search resources

สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์
Insurance
เทเวศประกันภัย, บมจ.




ในวัยเฉียด 60 ปีของ "เทเวศประกันภัย"องค์กรที่เติบใหญ่ และแทบไม่ลู่ไปตามมรสุมเศรษฐกิจเหมือนประกันภัยค่ายอื่น ทำให้ "เทเวศฯ" กลายเป็นธุรกิจที่ไม่ต้องดิ้นรน กระเสือกกระสน หรือปาดเหงื่อ เสียเลือดเนื้อ เพราะโครงสร้างฝั่งผู้ถือหุ้นที่มีสำนักงานทรัพย์สินฯ ทำให้มีบารมีมากพอจะปกป้องคุ้มครองรายได้หรือผลประโยชน์มาได้ยาวนานตลอดรอดฝั่ง แต่อีกมุมหนึ่งก็กลายเป็น"จุดอ่อน"เพราะในขณะที่โลกหมุนเร็วและแรง การเลือกครองสถานภาพแบบ "ใส่พานประเคน" ถึงที่ กลับทำให้สูญเสียพละกำลังในสนามแข่งขัน พอๆกับภาพธุรกิจหัวเก่าที่จะต้องเร่งรีบสลัดออกไปโดยเร็ว ถ้าจะประคองตัวเองให้ยืนได้แข็งแกร่งบนเวทีโลกไร้ตะเข็บชายแดน....

สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ผู้ถือหุ้นหลักในเทเวศประกันภัย ตัดสินใจซื้อหุ้นแบบเหมาล็อตจากผู้ถือหุ้นรายย่อยครบทั้ง 100% ก่อนวางแผนเพิกถอนตัวเองจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเป็นขั้นตอนต่อไป ถือเป็นการเคลื่อนไหวครั้งใหญ่ครั้งหนึ่งของธุรกิจประกันภัยที่มีวัยเกือบ 60 ปี

เมื่อ 2-3 ปีก่อน องค์กรเดียวกันนี้ก็เพิ่งประกาศตัว "รีแบรนดิ้ง" เปิดตัวต่อสาธารณะชนิดที่ใครต่อใครต่างก็เฝ้าจับตาอยู่ไม่ห่าง การปรับเปลี่ยนรูปลักษณ์และขยายธุรกิจเจาะเข้าถึง "กลุ่มลูกค้ารายย่อย" คราวนั้นทำให้ค่ายนี้ต้องใช้เงินลงทุนไปกับงบโฆษณาประชาสัมพันธ์อยู่ไม่น้อย

โดยเฉพาะการพยายามบุกเข้าถึงธุรกิจประกันภัยรถยนต์ที่มีสัดส่วนถึง 60% ของธุรกิจประกันวินาศภัยโดยรวม ตรงกันข้ามธุรกิจส่วนใหญ่ของเทเวศฯยังคงเทน้ำหนักไปที่การรับประกันอัคคีภัย ประกันภัยทางทะเลและขนส่ง และประกันภัยเบ็ดเตล็ด ส่วนประกันภัยรถยนต์ยังเป็นตลาดใหม่ที่มีพอร์ตไม่มากนัก

แต่ดูเหมือนการเคลื่อนไหวของเทเวศประกันภัยที่มีผู้ถือหุ้นใหญ่คือ สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ (CPB)จะยังคงขยับตัวอย่างเนิบนาบ ในขณะที่ทุนจากโลกตะวันตกและฝั่งเอเชียตะวันออกกำลังรุกคืบเข้ามาอย่างรวดเร็วราวอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง

ธุรกิจประกันวินาศภัยรายใหญ่ทั้งจากเกาะญี่ปุ่น จากยุโรป และอเมริกา ต่างก็เบนหัวเรือเข้ายึดกุมพื้นที่ประกันภัยรถยนต์มากเท่าที่จะทำได้ จึงเท่ากับว่างานนี้ถ้าใครยืนนิ่งอยู่เฉยก็อาจจะเป็นฝ่ายสูญเสีย ถูกล้มกระดานเสียเอง

ในที่สุดผู้ถือหุ้นใหญ่ คือสำนักทรัพย์สินฯก็เลือกที่จะคุมทิศทางเดินเรือเอง ด้วยการซื้อหุ้นจากผู้ถือหุ้นทั้งหมด 100% จนสร้างความประหลาดใจให้กับหลายฝ่าย เหมือนกำลังจะบอกว่าเทเวศฯยุคใหม่จะต่างไปจากอดีต ไม่ใช่ธุรกิจที่ใส่พานประเคนถึงที่เหมือนที่ผ่านมา

เนื่องจากการทำธุรกิจก่อนหน้านั้น มักจะมีลูกค้าส่วนใหญ่มาจากแบงก์ไทยพาณิชย์ที่มีสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ถือหุ้นอยู่ถึง 23.75% ยังไม่นับธุรกิจในเครือปูนซิเมนต์ไทยที่ถือหุ้นอยู่ถึง31.93% ซึ่งก็ถือเป็นฐานลูกค้าหลักเช่นกัน

ว่ากันว่า พอร์ตที่กำไว้เสียแน่นหนาก็ยังไม่มากพอจะต่อกรกับทุนนอกที่เพียบพร้อมทั้งเทคโนโลยี ระบบบริหารที่ทันสมัย นอกจากการขยับขยายตลาดไปที่ "กลุ่มรายย่อย" ที่มีอาณาบริเวณกว้างใหญ่ไพศาล ที่กำลังจะกลายเป็น "ลูกแกะ" ตกอยู่ท่ามกลางวงล้อม "ฝูงหมาป่า" ที่จดๆจ้องๆตาไม่กระพริบ

สำนักงานทรัพย์สินฯ ระบุเหตุผลหลักที่ทำให้เลือกถอนตัวจากตลาดหลักทรัพย์ก็คือ หุ้นมีสภาพคล่องน้อยมาก บวกกับมีสัดส่วนผู้ถือหุ้นรายย่อยน้อยกว่า 15% ของทุนชำระแล้ว ทำให้ขาดคุณสมบัติการดำรงสถานะเป็นบริษัทจดทะเบียน(บจ.)ตามประกาศตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

ดังนั้นเมื่อต้องถอนตัวจากตลาดก็ทำให้ข้อมูลภายในไม่รั่วไหล ไม่ต้องมีภาระค่าใช้จ่ายในการเปิดเผยข้อมูล ในขณะที่ผลประกอบการและกระแสเงินสดมีอยู่เหลือเฟือ โดยไม่ต้องระดมทุนจากตลาดหลักทรัพย์ได้อย่างสบายๆ

ขณะเดียวกันก็สามารถป้องกันความเสี่ยงจากทุนนอกเบียดแทรกเข้าถือหุ้นผ่านทางผู้ถือหุ้นรายย่อย เหมือนกับรายอื่นๆที่ประสบชะตากรรมมาแล้ว จากการตกลงซื้อขายหุ้นนอกตลาด

การตัดสินใจเข้าถือหุ้นทั้ง 100% พร้อมกำลังจะ "บอกลา" ตลาดหลักทรัพย์คราวนี้จึงถือเป็นการขยับตัวครั้งสำคัญครั้งหนึ่งของธุรกิจประกันวินาศภัยใต้ร่มเงาสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ทั้งที่หากเทียบกับประกันภัยเจ้าอื่นๆยังถือว่า "เทเวศฯ" ได้เปรียบอยู่หลายช่วงตัว

บ้างก็ว่า การเปลี่ยนมาคุมหัวเรือเองโดยสำนักงานทรัพย์สินฯ เป็นเพราะเทเวศฯกำลังจะปรับกระบวนยุทธ์ใหม่ทั้งหมด โดยรื้อผังการทำงาน ระบบบริหารงาน ทุ่มงบประมาณไปกับเทคโนโลยีสารสนเทศหรือไอทีเป็นเวลายาวนานติดต่อกัน 5 ปีจากปี 2549-2553 เพื่อรองรับการขยายฐาน"ลูกค้ารายย่อย" ตลาดที่ใครต่อใครต่างก็จดจ้องตาเป็นมัน

ถ้าไม่เคลื่อนไหวคราวนี้เห็นที ธุรกิจวินาศภัยจะมีชะตากรรมไม่ต่างจากธุรกิจประกันชีวิตที่กว่า 90% กลายเป็นลูกครึ่ง และถูกกลืนหายไปกับทุนนอกที่กระโดดเข้ามาเล่นในตลาดเต็มตัว จนไม่มีพื้นที่ว่างเหลือพอให้หายใจหายคอได้สะดวกเหมือนในอดีต...

"เทเวศฯ" จึงมีเวลาเหลือให้ตัดสินใจไม่มาก เพราะกองทัพที่ข้ามทะเลมาจากแดนไกลนั้นแข็งแกร่งจนต้องเร่งปรับเปลี่ยนองค์กรเพื่อการเผชิญหน้าอย่างสมน้ำสมเนื้อถึงแม้ไม่ใช่ผู้ชนะ แต่อย่างน้อยก็ไม่ควรจะปราชัยในสนามรบบ้านตัวเอง....   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us