Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กรกฎาคม 2537








 
นิตยสารผู้จัดการ กรกฎาคม 2537
"ไมเคิล ทุน ซาน นายธนาคารจากลุ่มน้ำสาละวิน"             
 


   
search resources

ธนาคารแปซิฟิก แบงก์
ไมเคิล ทุน ซาน




ตอนที่ญี่ปุ่นบุกพม่าเมื่อครั้งสงครามโลกครั้งที่ 2 ไมเคิล ทุน ซาน และครอบครัวของเขาได้อพยพหนีไฟสงครามเข้าไปในป่า "ผมยังจำชีวิตที่ลำบากอยู่ในกระท่อมไม้ไผ่ได้ดี ตกดึกพวกเราจะย้ายจากหมู่บ้านหนึ่งไปยังอีกหมู่บ้านหนึ่งโดยแจวเรือไป ซ่อนตัวไปด้วย มันเป็นช่วงชีวิตที่สาหัสจริง ๆ" ซานย้อนอดีตให้ฟังด้วยความเคียดแค้น

ในวันนี้ ทุน ซาน กับบทบาทนายธนาคารวัย 57 ปี ต้องเผชิญหน้ากับเรื่องราวที่แตกต่างกัน เขาพยายามกู้ชะตากรรมของธนาคารแปซิฟิก แบงก์ ขึ้นมา หลังจากขาดทุนสูงถึง 40.8 ล้านดอลลาร์ในปี 1992 ซึ่งเป็นปีเดียวกับที่เขามารับตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการของธนาคารที่ตั้งอยู่ที่ซานฟรานซิสโกแห่งนี้ ตั้งแต่เข้ามารับผิดชอบงาน ทุน ซานช่วยหาเงินให้ธนาคารมาแล้ว 32 ล้านดอลลาร์ ยุทธศาสตร์ของเขาสำหรับธนาคารมูลค่า 400 ล้านดอลลาร์นี้ก็คือ การหารายได้จากการปล่อยสินเชื่อให้กับธุรกิจนำเข้า-ส่งออกในย่านแปซิฟิคริม ซึ่งกำลังขยายตัวอย่างมาก

ทุนซานมีประสบการณ์อย่างล้นเหลือในธุรกิจธนาคาร เขาจบการศึกษาจากโรงเรียนของพระนิกายเยซูอิตที่อินเดีย หลังจากนั้นก็คว้าปริญญาตรีด้านพาณิชย์จากมหาวิทยาลัยร่างกุ้ง ก่อนที่จะไปเรียนต่อที่ INSTITUTE OF BANKERS ที่ลอนดอน

ในปี 1957 เขาได้ร่วมงานกับชาร์เตอร์ด แบงก์ในลอนดอน (ตอนนี้คือสแตนดาร์ด ชาร์เตอร์ดแบงก์) และอีก 3 ปีต่อมาก็ย้ายไปประจำที่สำนักงานในร่างกุ้ง "ทั้งครอบครัวของทางแม่และพ่อเคยเป็นเจ้าของธนาคารมาก่อน ดังนั้นผมจึงเลือกทำธุรกิจธนาคาร นอกจากนี้มันดูเหมือนว่าจะจ่ายผลตอบแทนให้ดีด้วย" ซาน กล่าว

อย่างไรก็ดี อาชีพของเขามาเจออุปสรรคเอาเมื่อปี 1963 เมื่อรัฐบาลทหารพม่าสั่งให้โอนกิจการธนาคารเข้ามาเป็นของรัฐ รัฐบาลได้แต่งตั้งพลเรือโทนายหนึ่งเข้ามาคุม "เขามาทำหน้าที่ถ่ายทอดคำสั่งให้เราฟังว่า รัฐบาลต้องการอะไร" ทุน ซาน เล่า "แต่ความเข้าใจของเขาเรื่องการธนาคารยังจำกัดจำเขี่ยมาก การที่เขาอยู่ในโลกของทหาร ทำให้ไม่สามารถปรับตัวเข้ากับโลกธุรกิจได้"

ในปี 1966 สแตนดาร์ด ชาร์เตอร์ด ได้ย้ายทุน ซานไปแคลิฟอร์เนียซึ่งที่นั่นเขาได้มีส่วนช่วยในการจัดตั้งสาขาลอส แองเจลิส เขาได้อำลาสแตนดาร์ด ชาร์เตอร์ด กรุ๊ปในต้นทศวรรษ 1980 เพื่อเปิดสาขาซานฟรานซิสโกให้กับธนาคารต้า สิง ของฮ่องกง แต่อยู่ได้ไม่นาน เขาก็ได้รับโทรศัพท์จากนอร์แมน เอ็กเคิร์สเลย์ เพื่อนเก่าซึ่งเป็นรองประธานอยู่ที่ยูเนี่ยน แบงก์ ธนาคารในเครือของสแตนดาร์ด ชาร์เตอร์ด กรุ๊ป นอร์แมนอยากจะตั้งธนาคารในซานฟรานซิสโก ด้านทุน ซานก็คิดแล้วว่ามันคุ้มค่าน่าเสี่ยงอยู่

"ผมเองก็มีสายสัมพันธ์อยู่ในวงการการค้าต่างประเทศบ้าง โดยเฉพาะในกลุ่มธุรกิจการค้าแบบครอบครัว ก็เลยคิดว่าไม่น่าจะลำบากอะไร เงินทุนในการตั้งแบงก์รวบรวมจากเพื่อน ๆ ในต่างประเทศ"

ทั้งคู่ได้ก่อตั้งแปซิฟิก แบงกิ้งขึ้นมาในปี 1983 เป็นการก่อตั้งที่มีสายสัมพันธ์กับคู่ชกรุ่นใหญ่อย่างเช่น แบงก์ออฟอเมริกา, ฮ่องกง แอนด์ เซี่ยงไฮ้ แบงกิ้ง คอร์ปและสแตนดาร์ด ชาร์เตอร์ด ทุน ซานดูแลแผนกระหว่างประเทศพร้อมกับเปิดสำนักงานในฮ่องกง, ลอสแองเจลิส และเคย์แมน ไอส์แลนด์ โดยมีลูกค้าดังอย่างเช่น เบิร์นเคน สต็อก ฟูตปรินต์ แซนดัลส์แห่งแคลิฟอร์เนีย และหลี่แอนด์ฟุง เทรดิ้ง แห่งฮ่องกง

การบริการของแปซิฟิกแบงก์ เป็นที่พอใจของลูกค้ามาก "เราเคยติดจ่อธุรกิจกับธนาคารใหญ่ ๆ อย่างแมนูแฟกเจอเรอร์ แฮนูเวอร์ และซิตี้ แบงก์มาก่อนแล้ว แต่การทำธุรกิจกับไมเคิลนั้นไม่เหมือนกัน" ไมค์ เซีย กรรมการผู้จัดการใหญ่ของแอลอี อินเตอร์เนชั่นแนล อิงค์ ซึ่งเป็นบริษัทในเครือด้านการลงทุนของหลี่แอนด์ฟุง เทรดิ้ง จำกัดกล่าว "เวลาติดต่อกับธนาคารอื่น ๆ หลังจากพูดคุยทำความรู้จักกันในตอนเริ่มต้นแล้ว พวกเขาก็จะขอดูตัวเลขของคุณทันที เพื่อตรวจสอบดูว่าฐานะการเงินเข้าขั้นที่จะรับเป็นลูกค้าของแบงก์ได้ไหม แต่ไมเคิลจะคุยกับเราถึงเป้าหมายยุทธศาสตร์ของบริษัทเราเสียก่อน จนกว่าจะเข้าใจแล้วขอดูตัวเลข"

แปซิฟิก แบงก์ดำเนินงานโดยไม่ขาดทุนแม้แต่ไตรมาสเดียวมาเป็นเวลาติดต่อกัน 9 ปี แต่ว่าในระหว่างนี้ ธนาคารได้ปล่อยกู้ให้กับโครงการพัฒนาและเทคโอเวอร์ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในแคลิฟอร์เนียกำลังเฟื่อง ช่วงปลายปี 1991 ปรากฏว่าเงินปล่อยกู้ด้านอสังหาริมทรัพย์ของธนาคารพุ่งสูงถึง 250 ล้านดอลลาร์ มากกว่าปริมาณสินเชื่อการค้าซึ่งมีมูลค่า 143 ล้านดอลลาร์

"เงินกู้ที่ธนาคารปล่อยออกไปจำนวนมาก เป็นการให้กู้โดยพิจารณาจากชื่อเสียงเรียงนามของลูกหนี้ มากกว่าที่จะดูแคชโฟลว์" ทุน ซานกล่าวถึงจุดอ่อนของธนาคารในเวลานั้น

เมื่อตลาดอสังหาริมทรัพย์ถึงจุดตกอับ แปซิฟิก แบงก์ ก็แย่ตามไปด้วย ลูกหนี้ของธนาคารบางรายไม่สามารถชำระเงินได้ บ้างก็ถูกฟ้องล้มละลาย "ธนาคารต้องเจอกับปัญหาหนัก เพราะเดินหลงทางออกมาจากตลาดที่ตนถนัด เรารีบร้อนขยายฐานลูกค้าของเราเร็วเกินไป มีบางธุรกิจที่เราควรเลี่ยง เช่นตลาดอสังหาริมทรัพย์เชิงพาณิชย์ ซึ่งเราไม่มีประสบการณ์ที่แท้จริง

ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 1992 มูลค่าอสังหาริมทรัพย์ที่แปซิฟิก แบงก์ยึดไว้เท่ากับ 10.8 ล้านดอลลาร์ และแทงบัญชีสูญไปราว 45.8 ล้านดอลลาร์ และกันเงินไว้ราว 40.8 ล้านดอลลาร์เพื่อป้องกันหนี้สูญในอนาคต

ภายใต้แรงกดดันดังกล่าว เอ็กเคิร์ส เลย์ซึ่งเป็นผู้ร่วมก่อตั้งถึงกับต้องก้าวลงจากตำแหน่ง และทุน ซานได้เข้าสวมเก้าอี้ประธานแทน เมื่อปีที่แล้ว ธนาคารกลางบีบให้แปซิฟิก แบงก์เพิ่มทุนและกันเงินสำรองให้มากขึ้นเพื่อมาชดเชยกับยอดเงินขาดทุน

เพื่อเป็นการอุดรอยความเสียหายที่เกิดขึ้น ทุน ซาน ได้ลดการปล่อยกู้ ตั้งเงื่อนไขรัดกุมมากขึ้น และปฏิเสธการออกแอลซีให้กับลูกค้าที่มีความเสี่ยงสูง การดำเนินการดังกล่าวทำให้เขาต้องเสียลูกค้า แต่นั่นก็นับเป็นสิ่งที่เขาต้องการ "บางคนไม่พอใจ" เขากล่าว "แต่ข้อเท็จจริงก็คือ เราต้องการล้างมือจากการปล่อยกู้ให้อสังหาริมทรัพย์" ทุน ซานยังได้สับเปลี่ยนโยกย้ายพนักงานแบงก์ด้วยเหตุผลว่า "มีคนไม่กี่คนที่บริหารงานแบงก์นี้มาเป็นเวลานานมาก เราต้องการไอเดียใหม่ ๆ จากข้างนอกบ้าง

ขณะเดียวกันทุน ซานได้ขายธุรกิจปล่อยสินเชื่อสำหรับการซื้อกรมธรรม์ประกันภัย ซึ่งเป็นธุรกิจที่มีเงินหมุนเวียนสูงออกไป โดยได้กำไร 5.8 ล้านดอลลาร์ และเมื่อปีที่แล้ว แปซิฟิก แบงก์ได้ขายหุ้นเพิ่มทุนรวมทั้งวอแรนต์มูลค่า 10.9 ล้านดอลลาร์

"เราตั้งเป้าขายให้กับกลุ่มคนที่คุ้นเคยกับธนาคารของเราเป็นอย่างดี คนซึ่งเข้าใจธุรกิจธนาคารดี คนที่ไม่กลัวว่าจะขาดทุน และคนที่มองเห็นว่าธนาคารมีโอกาสแข็งแกร่งขึ้น" เขากล่าว

ตันซานยังใช้ประโยชน์จากการเป็นคนพม่าได้ด้วย เมื่อเร็ว ๆ นี้เขาได้พบปะกับนักธุรกิจชาวไทยคนหนึ่ง ซึ่งต้องการซื้อไม้จากพม่า นอกจากจะเสนอตัวให้การสนับสนุนด้านการเงินแล้ว ตันซานยังช่วยแนะนำให้นักธุรกิจคนนั้นรู้จักกับเจ้าหน้าที่รัฐบาลพม่าด้วย ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างธนาคารกับลูกค้าแน่นแฟ้นขึ้น ถึงแม้ว่าธุรกิจของคุณจะใหญ่โต ครอบคลุมทั่วเอเซีย แปซิฟิค แต่ความสัมพันธ์ส่วนตัวนั้นเป็นเรื่องที่ยังต้องมีอยู่"

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us