|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
 |
นายจเรรัฐ ปิงคลาศัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท ดราก้อน วัน จำกัด (มหาชน) หรือ D1 เปิดเผยว่า การที่ราคาหุ้นของบริษัทในช่วงที่ผ่านมาได้มีการปรับตัวลดลง เนื่องจากนักลงทุนรายย่อยได้มีการขายหุ้นออกมา จากความกังวลในเรื่องการที่ตลาดหลักทรัพย์ฯเข้ามาให้ทางบริษัทมีการชี้แจงในเรื่องการเป็นบริษัทจดทะเบียนที่มีสินทรัพย์ทั้งหมดหรือเกือบทั้งหมดในรูปของเงินสด Cash Company และเมื่อบริษัทมีการยื่นขอจดทะเบียนรับหลักทรัพย์ใหม่ หลักทรัพย์ของผู้มีส่วนได้เสียในการบริหาร บริษัทดราก้อนวัน ก็จะถูกห้ามขายหุ้นจำนวน 65% ของทุนชำระแล้ว เป็นเวลา 1 ปี 6 เดือน รวมถึงกรณีที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ เข้าตรวจสอบการซื้อขายหุ้นของบริษัท
ทั้งนี้ ตนมองว่าการที่จะต้องติดไซเลนต์พีเรียด 65% นั้นไม่เหมาะสม เนื่องจากเกณฑ์ในเรื่อง Cash Company ยังไม่มีการกำหนดว่าจะต้องมีการติดไซเลนต์พีเรียดเท่าไร ซึ่งทำให้ไม่สามารถที่จะใช้เกณฑ์เดียวกับบริษัทที่จะเสนอขายหุ้นครั้งแรกต่อประชาชนทั่วไป (IPO) ได้ และการที่ตนไม่ได้เป็นผู้ก่อตั้งบริษัท แต่เป็นผู้ที่เข้ามาฟื้นฟูบริษัทให้มีการเติบโตที่ดี
สำหรับในเรื่องการติดไซเลนต์พีเรียดนั้น จะต้องมีการหารืออีกครั้งระหว่าง 3 หน่วยงาน คือบริษัทดราก้อนวัน, ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยและสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) อีกครั้ง เมื่อบริษัทได้มีการยื่นขอรับหลักทรัพย์ใหม่ ต่อตลาดหลักทรัพย์ฯ ซึ่งคาดว่าจะยื่นหลังจากที่มีการจัดประชุมผู้ถือหุ้นที่จะมีในวันที่ 25 กันยายนนี้ ซึ่งหากตลาดหลักทรัพย์ฯให้บริษัทติดไซเลนต์พีเรียด บริษัทจะยื่นขอรับหลักทรัพย์ใหม่ด้วยทุนจดทะเบียนเพียง 300 ล้านบาทเท่านั้น โดยเรื่องเพิ่มทุนจดทะเบียนจะชะลอออกไป
“บริษัทจะมีการหารือกับตลาดหลักทรัพย์ฯ และ ก.ล.ต.ในเรื่องการติดไซเลนต์พีเรียด ส่วนตัวมองว่าไม่ควรที่จะติดถึง 65% ซึ่งจะมีการเจรจา และหากมีการติดไซเลนต์พีเรียด เป็นไปได้หรือไม่ที่จะติดไซเลนต์พีเรียดเพียง 30% ระยะเวลาจาก 1 ปี 6 เดือนเหลือ 1 ปี ได้หรือไม่ ซึ่งกรณีนี้จะต้องมีการตั้งคณะทำงานขึ้นมาพิจารณา เพราะกรณีนี้ไม่เคยมีมาก่อน และบริษัท Cash Company ในต่างประเทศนั้น ผู้ถือหุ้นเดิมก็ไม่มีการติดไซเลนต์พีเรียดแต่อย่างไร ซึ่งตลาดหุ้นไทยก็ควรที่จะเป็นลักษณะเดียวกับต่างประเทศ เพราะต่างประเทศก็มีการเกิดขึ้นมาก่อนตลาดหุ้นไทย” นายจเรรัฐ กล่าว
สำหรับการที่บริษัทนำธุรกิจของบริษัท แอพพลิเคชั่น โฮสติ้ง เซอร์วิส จำกัด (A-Host) มาเป็นธุรกิจหลัก และตลาดหลักทรัพย์ฯจะรับหลักทรัพย์ใหม่ของบริษัทจะเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ฯ หรือตลาดหลักทรัพย์เอ็มเอไอ (mai) นั้น ก็ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของตลาดหลักทรัพย์ฯ ซึ่งหากบริษัทที่มีแนวโน้มการเติบโตที่ดีอย่างบริษัทนั้น สมควรที่จะไปอยู่ในตลาดหลักทรัพย์เอ็มเอไอ ตนก็ไม่มีปัญหา
ส่วนเรื่องการเสนอขายหุ้นเพิ่มทุนแบบเฉพาะเจาะจงจำนวน 200 ล้านหุ้น ในราคาหุ้นไม่ต่ำกว่า 2.50 บาท ขณะนี้มีกองทุนต่างประเทศจำนวนมากให้ความสนใจที่จะเข้ามาซื้อหุ้นเพิ่มทุน ทำให้บริษัทมั่นใจว่าจะเสนอขายได้หมด แต่จากเรื่องการที่ตลาดหลักทรัพย์ฯแจ้งว่าจะต้องติดไซเลนต์พีเรียดในสัดส่วน 65% นั้นก็ส่งผลกระทบให้กองทุนดังกล่าวไม่กล้าที่จะเข้ามาซื้อหุ้นเพิ่มทุน โดยจะส่งผลไปถึงการลงทุนของบริษัทในอนาคตด้วยเช่นกัน จากที่บริษัทมีนโยบายที่จะเข้าไปลงทุนในบริษัทต่างๆ เดือนละ 1 บริษัท
หุ้นเก็งกำไรราคาทรุด
วานนี้ (14 ก.ย.) หุ้นเก็งกำไรหลายบริษัทราคาหุ้นปรับตัวลดลง ซึ่งประกอบด้วยหุ้นบริษัท บีเอ็นที เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด (มหาชน)หรือ BNT ปิดที่ 0.55 บาท ราคาไม่เปลี่ยนแปลง มูลค่าการซื้อขาย 951.02 ล้านบาท, หุ้นบริษัท อินเตอร์แนชั่นเนิลเอนจีเนียริง จำกัด (มหาชน) หรือ IEC ราคาปิด 2.28 บาท ลดลง 0.06 บาท หรือ 2.56% มูลค่าการซื้อขาย 321.19 ล้านบาท, หุ้นบริษัท ซีฮอร์ส จำกัด (มหาชน) หรือ SH ราคาปิด 30 บาท ลดลง 0.25 บาท หรือ 0.83% มูลค่าการซื้อขาย 1.76 ล้านบาท และหุ้นบริษัท เจนเนอรัล เอนจิเนียริ่ง จำกัด (มหาชน) หรือ GEN ราคาปิด 1.60 บาท ราคาไม่เปลี่ยนแปลง มูลค่าการซื้อขาย 195.91 ล้านบาท
นางสาวสุภากร สุจิรัตนวิมล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์ ทีเอสอีซี จำกัดกล่าวว่า การที่ราคาหุ้นเก็งกำไรเริ่มปรับตัวลดลง สวนทางกับภาวะตลาดโดยรวมเนื่องจากนักลงทุนส่วนใหญ่เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการเข้ามาเก็งกำไรในหุ้นขนาดเล็กมาเป็นเข้าลงทุนในหุ้นที่มีขนาดใหญ่ โดยเฉพาะกลุ่มธนาคารพาณิชย์ หลังนักลงทุนคลายกังวลในเรื่องของภาวะดอกเบี้ยที่มีแนวโน้มจะใกล้ช่วงปรับตัวลดลง ขณะที่นักลงทุนต่างประเทศเริ่มเข้ามาซื้อหุ้นกลุ่มพลังงาน เพิ่มมากขึ้นจากราคาน้ำมันดิบตลาดโลกที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น
|
|
 |
|
|