Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน14 กันยายน 2549
เศรษฐกิจปีหน้าโตต่ำสุดรอบ 5 ปีบัวหลวงชี้ปัจจัยนอก-ในยังไม่เอื้อ             
 


   
search resources

Economics




ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจมหภาคแบงก์กรุงเทพคาดเศรษฐกิจปี 50 โต 3-4% ลดลงจาก 4.3% ในปีนี้และต่ำสุดตั้งแต่ 44 ระบุปัจจัยทั้งภายในและภายนอกประเทศยังไม่เอื้อ โดยการใช้จ่ายงบประมาณที่ล่าช้าจะทำให้เม็ดเงินลงทุนภาครัฐขยายตัวไม่ถึง 2% ขณะที่เศรษฐกิจโลกไม่เป็นใจมีทิศทางชะลอตัวโดยเฉพาะเศรษฐกิจสหรัฐฯ และหากปัจจัยต่างๆแย่กว่าที่ประเมินไว้จีดีพีปี 50 อาจโตแค่ 2-3%

ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจมหภาค ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ประเมินแนวโน้มเศรษฐกิจไทยในปี 50 ว่า จากเศรษฐกิจไทยชะลอตัวลงตั้งแต่ไตรมาสที่ 4 ของปี 2548 จากราคาน้ำมันและอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้น ประกอบกับปัญหาความไม่แน่นอนทางการเมืองที่เกิดขึ้นตั้งแต่ต้นปี 2549 ทำให้เศรษฐกิจไทยชะลอตัวลงต่อเนื่องในปี 2549 สำหรับปี 2550 แม้ว่าราคาน้ำมันมีทิศทางที่จะมีเสถียรภาพมากขึ้น และความสับสนทางการเมืองมีแนวโน้มที่จะคลี่คลายลงจากการเลือกตั้ง แต่จากสถานการณ์ทางเศรษฐกิจภายนอกประเทศโดยเฉพาะเศรษฐกิจหลักของโลกได้แก่ สหรัฐฯ สหภาพยุโรปและญี่ปุ่นที่มีทิศทางที่จะชะลอตัวลงอย่างชัดเจนจากนโยบายการเงินการคลังที่รัดตัวในกรณีญี่ปุ่นและสหภาพยุโรป

ส่วนในกรณีประเทศสหรัฐฯ ฟองสบู่ที่อยู่อาศัยที่เกิดขึ้นตั้งแต่ปี 2545 ได้เข้าสู่ภาวะขาลงอย่างชัดเจน ซึ่งอาจจะส่งผลให้เศรษฐกิจสหรัฐฯ และเศรษฐกิจโลกชะลอตัวลงมากกว่าที่คาดไว้ตั้งแต่ต้น จากการชะลอตัวของเศรษฐกิจหลักของโลกทำให้ประเมินได้ว่าการส่งออกที่เป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยในปี 2549 จะมีทิศทางที่ชะลอตัวลงในปี 2550 และทำให้คาดว่าเศรษฐกิจไทยในปี 2550 จะมีอัตราการขยายตัวที่ลดลงจากปี 2549

ทั้งนี้ เนื่องจากสภาวะเศรษฐกิจที่มีความไม่แน่นอนสูงในหลายด้าน เช่น ราคาน้ำมันและปัญหาทางการเมืองของประเทศผู้ผลิตน้ำมัน อัตราดอกเบี้ย และความไม่ชัดเจนทางการเมืองในประเทศไทย ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจมหภาค ธนาคารกรุงเทพจึงวิเคราะห์ทิศทางเศรษฐกิจปี 2550 ไว้ 2 กรณี คือ

กรณีพื้นฐาน (Base Case) ซึ่งเป็นกรณีที่มีความเป็นไปได้มากที่สุด โดยแม้ว่าเศรษฐกิจโลกจะชะลอตัวลงแต่ยังคงขยายตัวค่อนข้างดีที่ 4.0% ลดลงเล็กน้อยจาก 4.9% ในปี 2549 การที่เศรษฐกิจโลกยังคงขยายตัวค่อนข้างดีเนื่องจากมีสมมติฐานว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯแม้ว่าจะชะลอตัวลงแต่ยังคงขยายตัวได้ในระดับค่อนข้างสูงที่ 2.7% จากการที่สาขาที่อยู่อาศัยชะลอตัวลงอย่างช้าๆ (Soft Landing) ในขณะที่เศรษฐกิจของสหภาพยุโรปและญี่ปุ่นขยายตัวลดลงไม่มากนักจากปี 2549 ตลอดจนเศรษฐกิจของเอเชียตะวันออกและอินเดีย ยังคงขยายตัวค่อนข้างสูง สถานการณ์ของเศรษฐกิจดังกล่าวจะทำให้ราคาน้ำมันเพิ่มขึ้น 10% สำหรับปัญหาการเมืองในประเทศ ในกรณีนี้สมมติว่า สามารถจัดตั้งรัฐบาลได้ในต้นปี 2550 และมีการใช้จ่ายงบประมาณลงทุนตามปกติตั้งแต่กลางไตรมาสที่ 2 ของปี 2550 เป็นต้นไป

และกรณีที่เศรษฐกิจทรุดตัวลงมากกว่าที่คาดไว้ (Pessimistic Case) ในกรณีนี้สมมติว่าเกิดการแตกของฟองสบู่ที่อยู่อาศัยของสหรัฐฯ ค่อนข้างรุนแรงส่งผลให้เศรษฐกิจสหรัฐฯ ชะลอตัวลงมากโดยขยายตัวเพียง 1% ส่งผลต่อเนื่องให้เศรษฐกิจหลักอื่นๆ ได้แก่สหภาพยุโรป ญี่ปุ่นและจีนชะลอตัวลง แม้ว่าเศรษฐกิจโลกจะชะลอตัวลงมากแต่ก็น่าจะส่งผลดีที่ทำให้ราคาน้ำมันลดลงในระดับหนึ่งและส่งผลให้ธนาคารกลางสหรัฐฯสามารถปรับลดอัตราดอกเบี้ยเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ

ดังนั้น ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจมหภาค ธนาคารกรุงเทพ ประเมินว่าในกรณีพื้นฐานเศรษฐกิจไทยจะขยายตัวในปี 2550 ประมาณ 3–4% ซึ่งเป็นอัตราที่ต่ำที่สุดตั้งแต่ปี 2544 การลงทุนและการบริโภคภาคเอกชนขยายตัวเพียง 4.2% และ 3.3% ตามลำดับ ลดลงจาก 5.0% และ 3.7% ในปี 2549 ปัญหาการเมืองและการล่าช้าในการจัดทำงบประมาณทำให้การลงทุนและการบริโภคภาครัฐขยายตัวต่ำกว่า 2% สำหรับด้านต่างประเทศ การส่งออกและนำเข้าคาดว่าจะชะลอตัวลง โดยขยายตัว 9.8% และ 8.7% ตามลำดับ ลดลงจากที่คาดไว้ว่าจะขยายตัว 13.4% และ 8.9% ในปี 2549 ตามลำดับ

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าเศรษฐกิจจะชะลอตัวลงแต่เศรษฐกิจจะมีเสถียรภาพมากขึ้น โดยดุลการค้าขาดดุลลดลงเหลือ 3.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล 0.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ลดลงจากที่คาดว่าจะขาดดุล 4.5 และเกินดุล 0.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ตามลำดับในปี 2549 ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อลดลงจาก 4.7% ในปี 2549 เหลือ 2.5–3.5% ใกล้เคียงกับปี 2547

ส่วนในกรณีที่เศรษฐกิจทรุดตัวลงมากกว่าที่คาดไว้นั้น เศรษฐกิจไทยจะขยายตัวได้เพียง 2–3% โดยการบริโภคและการลงทุนขยายตัวเพียงเล็กน้อยที่ 3% และ 2.3% ตามลำดับ ในขณะที่การลงทุนภาครัฐคาดว่าจะหดตัวลง 1.5% การส่งออกขยายตัวในอัตราต่ำมากที่ 0.5% ขณะที่การนำเข้าหดตัวลง 0.8% ทำให้ดุลการค้าขาดดุลเพียง 2.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ดุลบัญชีเดินสะพัดกลับมาเกินดุล 2.1 พันล้านดอลลาร์ และอัตราเงินเฟ้อจะอยู่ในระดับต่ำที่ 1.5–2.5%   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us