Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กรกฎาคม 2537








 
นิตยสารผู้จัดการ กรกฎาคม 2537
"เจ้าพ่อโรงเจ ผู้พิชิต ไวท์ ชัยพยุงพันธ์"             
 


   
search resources

รัตนะการเคหะ, บมจ.
ไวท์ ชัยพยุงพันธ์
Real Estate




ในบรรดานักเจรจาต่อรองเพื่อแลกเปลี่ยนและประสานผลประโยชน์ทางธุรกิจของยุคนี้ ต้องนับเอาไว้ท์ ชัยพยุงพันธ์ กรรมการผู้จัดการของบริษัทรัตนการเคหะเป็นหนึ่งในนั้นด้วย

โครงการประตูน้ำคอมเพล็กซ์หรือในชื่อเดิมว่า สินธรสแควร์ที่เดินหน้าได้อย่างราบรื่นในขณะนี้ก็เป็นเพราะฝีมือของหนุ่มใหญ่วัย 47 ปี เจ้าของบุคลิกนิ่มนวล อ่อนน้อมถ่อมตนผู้นี้

ที่ดิน 10 ไร่บริเวณตลาดเฉลิมโลกซึ่งเป็นที่ตั้งของโครงการนี้ รัตนการเคหะได้สัญญาเช่า 30 ปีจากกรมการศาสนามาตั้งแต่ปี 2532 แต่ก็ไม่สามารถดำเนินการได้ เพราะผู้เช่าเดิมที่อาศัยอยู่ไม่ยอมย้ายออกไปยิ่งมาเจอกับท่วงทำนองแข็งกร้าวของคุณหญิงพัชรี ว่องไพฑูรย์ สมัยที่ยังครอบครองรัตนการเคหะอยู่ ความขัดแย้งก็ยิ่งยืดเยื้อ จนกลายเป็นคดีขึ้นโรงขึ้นศาลไปหลายคดี

จนในที่สุดรัตนการเคหะก็เปลี่ยนมาอยู่ในมือของกลุ่มสุระ สนิทธานนท์และโชติมา ทวีวงศ์ ณ อยุธยาของกลุ่มวงศ์ทวี เคาน์ตี้ พร้อมกับการดึงเอาตัวไวท์ กลับคืนสู่รังเก่าอีกครั้ง

ไวท์ เป็นผู้ร่วมก่อตั้งรัตนการเคหะร่วมกับวีระนนท์ ว่องไพฑูรย์ แต่ได้ลาออกในเวลาต่อมา เพราะแนวความคิดในการพัฒนาโครงการที่แตกต่างกัน

การกลับคืนสู่รัตนาการเคหะอีกครั้งหนึ่ง ภาระกิจเร่งด่วนประการหนึ่งของไวท์คือการผลักดันโครงการสินธร สแควร์ให้เป็นรูปเป็นร่างขึ้นมาให้ได้ เพราะโครงการที่ประกอบด้วยอาคารศูนย์การค้า 4 ชั้น คอนโดมีเนียมที่พักอาศัย 30 ชั้น 2 อาคาร มีพื้นที่ขายรวม 160,000 ตารางเมตรนี้ จะทำรายได้ให้รัตนการเคหะนำไปปลดเปลื้องหนี้สิน และเป็นทุนในการพัฒนาโครงการในอนาคตต่อไปได้อีกอย่างสบาย ๆ

ไวท์นัดเจรจากับไพจิตร ธรรมโรจน์พินิจหรือ "ปอ ประตูน้ำ" ซึ่งว่ากันว่าเป็นกุญแจสำคัญที่ชี้ขาดชะตากรรมของโครงการนี้การเจรจาเกิดขึ้น 2 ครั้งและในที่สุดทั้ง 2 ก็บรรลุข้อตกลงกันได้ว่า จะร่วมมือกันพัฒนาที่ดินแปลงนี้ โดยแบ่งผลประโยชน์กัน

สินธรสแควร์เลยกลายเป็น "ประตูน้ำ คอมเพล็กซ์" โดยมีรัตนการเคหะกับปอประตูน้ำร่วมกันทำ รัตนการเคหะรับหน้าที่ในการก่อสร้างและงานขายไป ส่วน ปอ ประตูน้ำรับหน้าที่เจรจากับผู้เช่าเก่าให้ย้ายออกไป

เรื่องที่ยืดเยื้อกันมานานสี่ห้าปี จนไม่มีใครคิดว่าโครงการนี้จะได้เกิด ก็จบลงอย่างง่าย ๆ เพราะไวท์คุยกับเจ้าพ่อประตูน้ำรู้เรื่อง

เท่านี้ยังไม่พอ ไวท์ยังติดต่อเจรจากับปลอดประสบ สุรัสวดี อธิบดีกรมประมงและพลตรีสุดสาย หัสดิน เจ้าของสมญา "เจ้าพ่อกระทิงแดง" ที่เลื่องชื่อในช่วงปี 2516-2519 เพื่อเจรจาขอเช่าที่ดิน 4 ไร่ที่อยู่ติดกันซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของสองตระกูลนี้

ก่อนหน้านี้คุณหญิงพัชรีเคยเจรจาขอเช่าที่ดินผืนดังกล่าวเหมือนกัน แต่ไม่ประสบความสำเร็จ เพราะคนแถวประตูน้ำ โทรศัพท์มาต่อว่าปลอดประสบตลอดวันทั้งที่บ้านและที่ทำงาน จนต้องล้มเลิกความตั้งใจในที่สุด

เมื่อผู้กว้างขวางอย่างปอซึ่งกุมหัวใจคนแถวนั้นได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของประตูน้ำคอมเพล็กซ์ ปัญหาเรื่องผู้อยู่อาศัยเดิมจะต่อต้านก็หมดไป ทั้ง 3 ฝ่ายคือ ไวท์ ปอ และปลอดประสบ สามารถตกลงกันได้เรียบร้อยและเปิดแถลงข่าวอย่างเป็นทางการเมื่อกลางเดือนมิถุนายน ที่ดินที่รัตนการเคหะได้เพิ่มขึ้นมาอีก 4 ไร่นี้จะได้รับการพัฒนาเป็นคอนโดมิเนียมเพิ่มขึ้นอีก 1 อาคารโดยมีสัญญาเช่า 30 ปี ทำให้รัตนการเคหะสามารถขยายโครงการเพื่อสร้างรายได้เพิ่มขึ้นอีก เพราะสามารถในการประสานผลประโยชน์กับผู้ที่ได้รับขนานนามว่าเป็นเจ้าพ่อ

แต่พอมาเจอกับ "จ้าว" ตัวจริง ไวท์ก็ต้องยอมแพ้

ตลาดเฉลิมโลกนั้น มีโรงเจ หรือโรงทานอยู่แห่งหนึ่งมีชื่อว่า "โรงเจโพวเต็กตึ๊ง" เป็นที่ตั้งของศาลเจ้าซึ่งเป็นที่เคารพ กราบไหว้บูชาของผู้คนในย่านนี้ เสมือนหนึ่งสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่คอยปัดเป่าทุกข์ภัย ให้ความร่มเย็นเป็นสุขแก่ชาวประตูน้ำ ทุก ๆ ปี จะมีการจัดงานสมโภช และปอ ประตูน้ำก็ใช้ศาลเจ้านี้เป็นโรงทานแจกข้าวของเครื่องใช้ให้กับคนย่านนั้นประจำ

ทุกวันนี้ อาคารพาณิชย์และแผงขายสินค้า ถูกรื้อถอนไปหมดแล้ว เหลือเพียงที่ดินว่างเปล่า แต่ศาลเจ้ายังตั้งตระหง่านอยู่ ไม่ได้ถูกกระทบกระเทือนแต่อย่างใดทั้งสิ้น

ปัญหาเกิดตรงที่ว่าจะสร้างคอมเพล็กซ์ขึ้นมา ก็ต้องรื้อศาลเจ้าทิ้ง

การเจรจารื้อศาลเจ้าของไวท์ล้มเหลวอย่างสิ้นเชิง หัวเรี่ยวหัวแรงที่คัดค้านอย่างเต็มที่คือ ปอ ประตูน้ำนั่นเองและกลุ่มผู้เช่าเดิมที่ยอมให้รื้อบ้านได้แต่ขอศาลเจ้าไว้

ไวท์ ไม่สามารถแก้ปัญหาตรงนี้ได้ เพราะมันเกี่ยวพันถึงความเชื่อที่ยาวนานของคนจีนในย่านนั้น ไม่คุ้มที่จะเสี่ยงตรงนี้ ทางออกหลังจากเจรจาต่อรองกันคือ การสร้างคอมเพล็กซ์คล่อมศาลเจ้าเดิม โดยจะเว้นพื้นที่ส่วนของศาลเจ้าเอาไว้แต่จะออกมาในรูปลักษณ์แบบไหนจึงดูกลมกลืนนั้น สำหรับหลักการแล้ว ห้ามรื้อโดยเด็ดขาด นักเจรจาฝีปากเอกอย่างไวท์ ชัยพยุงพันธ์ที่เอาชนะใจเจ้าพ่อเดินดินมาแล้ว ก็ถึงคราวต้องม้วนเสื่อกลับบ้านเหมือนกันเมื่อมาเจอกับจ้าวแห่งโรงเจ

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us