Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กรกฎาคม 2537








 
นิตยสารผู้จัดการ กรกฎาคม 2537
"กองทัพงูเห่าวันนี้ไม่มีลูกเขยคุณหญิง"             
 


   
search resources

ชลประทานซีเมนต์, บมจ.
วราวุธ วงศ์วิเศษ
Cement




ต้นเดือนกรกฎาคมนี้จะไม่มีกรรมการผู้จัดการที่ชื่อ "วราวุธ วงศ์วิเศษ" ที่ชลประทานซีเมนต์อีกต่อไปแล้ว

แปดเดือนเต็มที่วราวุธจำต้องแบกภารกิจบริหารกิจการที่ไร้ประสิทธิภาพนี้ไว้อย่างจำใจ ตามคำขอร้องของถาวรสวัสดิ์ ชวะโนทัย น้อยเขยผู้ถือหุ้นใหญ่ในชลประทานซีเมนต์ขณะนี้

"ความจริง วราวุธเขาไม่ต้องการจะหวยกลับมาที่ชลประทานซีเมนต์อีกแล้ว แต่ผมขอร้องเขาเอง ซึ่งเขาก็ยอมทำ แต่มีเงื่อนไขว่าเขาจะอยู่ทำงานให้บริษัทไม่เกินหนึ่งปีระหว่างนั้น เขาก็ยื่นใบลาออกหลายหนแต่ผมขอให้เปลี่ยนใจจนกระทั่งครั้งสุดท้ายนี้" ถาวรสวัสดิ์ น้องเขยผู้ที่ก้าวขึ้นเป็นกรรมการผู้จัดการคนใหม่ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคมนี้กล่าว

เป็นเวลาสิบเอ็ดปีที่วราวุธช่วยพ่อตาแม่ยายคือ วัลลภและคุณหญิงลลิลทิพย์ซึ่งเขาก็ได้รับความแปลกใจเมื่อแม่ยายยินดียกตำแหน่งประธานบริษัทให้ด้วย

วราวุธตระหนักแก่ใจมาตลอดว่า ชลประธานซีเมนต์ล้าหลังคู่แข่งมาก ๆ ไม่ว่าจะเป็นระบบบริหาร บุคลากร เครื่องจักรอุปกรณ์ โดยเฉพาะการที่ยังคงใช้การผลิตที่เรียกว่า "แบบเปียก" ในระบบเก่าเสียเปรียบด้านต้นทุนต้องใช้เชื้อเพลิงแพงกว่า ที่ซ้ำร้ายกว่านั้นเครื่องจักรอุปกรณ์ที่เสื่อมสภาพแล้วก่อให้เกิดผลเสียหายเกินคาด ดังเช่นกรณีหม้อบดวัตถุดิบของโรงงานตาคลีและชะอำเกิดเสียขึ้นมา ขณะที่ความต้องการปูนมีสูงสุด ทำให้สูญเสียลูกค้าและส่วนแบ่งตลาดไป

ผลดำเนินงานของบริษัทชลประทานซีเมนต์เมื่อปีที่แล้วมีกำไรเพียง 110 ล้านบาท ลดลงประมาณ 22% เมื่อเทียบกับปี 2535 ทำให้ปีนี้บริษัทจ่ายปันผลได้ 15 บาทต่อหุ้น โดยแบ่งเป็น 60% ให้แก่ผู้ถือหุ้นและอีก 40% ไว้ขยายกำลังการผลิตที่โรงงานตาคลีด้วย

วันที่วราวุธรอคอยว่าฝันจะเป็นจริงนั้นคงจะอีกนานฉะนั้นแปดเดือนที่วราวุธทำให้แก่น้องเขยได้ นั่นคือ แก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าและวางแผนระยะยาวให้ โดยเฉพาะจุดอ่อนด้านการผลิตที่จะเร่งขยายให้ทันตลาด โดยปรับปรุงเครื่องจักรทั้งสองโรงงานคือที่ชะอำเพิ่มจากวันละ 2,200 เป็น 2,700 ตัน ส่วนที่ตาคลีเพิ่มจากวันละ 1,300 ตันเป็น 1,700 ตัน งานนี้ต้องใช้เงินลงทุน 850 ล้านบาท

"การจะลงทุนสร้างโรงปูนแห่งใหม่ที่มีขนาดกำลังการผลิตอีก 2-3 ล้านตัน ต้องใช้เงินจำนวนสูงมากและต้องใช้เวลา บริษัทยังไม่มีนโยบายที่จะร่วมทุนกับต่างชาติในการขยายกำลังการผลิต แต่จะขยายกำลังผลิตโดยปรับปรุงเครื่องจักรเท่านั้น เพื่อรักษาส่วนแบ่ง 5% ไว้" กรรมการผู้จัดการชลประทานซีเมนต์กล่าว

ชลประทานซีเมนต์จึงยังคงภาพพจน์ยักษ์แคระ ขณะที่ยักษ์ใหญ่อย่างปูนซิเมนต์ไทยรุกก้าวขยายกำลังผลิตเพิ่มจากโครงการทุ่งสง 5 และโรงงานปูนแห่งใหม่ที่ลำปาง ที่จะมีกำลังผลิตถึง 2.1 ล้านตัน ซึ่งใช้เงินลงทุนไม่ต่ำกว่า 6,000 ล้านบาท ทำให้ในปี 2539 บริษัทปูนซิเมนต์ไทยเป็นบริษัทเดียวที่ผลิตปูนใหญ่ที่สุดในโลกคือมีกำลังการผลิต 20 ล้านตันจากปัจจุบัน 16.5 ล้านตัน

ความใหญ่ของปูนซิเมนต์ไทย ได้รุกฆาตเข้ามาในตลาดภาคเหนือตอนบนซึ่งครั้งหนึ่งนานมาแล้ว ปูนตรางูเห่าเคยครองส่วนแบ่งตลาดสูงเนื่องจากความได้เปรียบด้านต้นทุนค่าขนส่งต่ำกว่าคู่แข่งเพราะทำเลที่ตั้งโรงปูนที่ตาคลี จ. นครสวรรค์

แต่วันนี้สถานการณ์บีบบังคับให้กรรมการผู้จัดการใหญ่อย่างวราวุธต้องคิดหนัก ยิ่งปูนใหญ่เข้าไปถือหุ้น 10% ในปูนเอเชียในฐานะพันธมิตรธุรกิจ โดยทวี บุตรสุนทร รองผู้จัดการใหญ่ที่ดูแลกลุ่มซีเมนต์ ได้รับแต่งตั้งให้เป็นกรรมการใหม่ของบริษัทปูนซิเมนต์เอเชียด้วย

"ความร่วมมือระหว่างเรากับปูนเอเชียมีความช่วยเหลือกันหลายอย่าง ประการแรกเราแลกประทานบัตรเหมืองหินที่ให้ประโยชน์ด้วยกันทั้งสองฝ่าย และเมื่อเดือนที่แล้ว เครื่องย่อยหินเขาพัง เดินโรงงานไม่ได้เราก็เดินเครื่องย่อยหินป้อนเขา 24 ชม. ประการที่สองคือความร่วมมือทางการตลาด ยกตัวอย่างในอนาคตอีก 3 ปีข้างหน้าผมมีโรงงานที่ลำปาง ซึ่งจะป้อนตลาดภาคเหนือตอนบนที่มีอยู่ประมาณ 2 ล้านตันเศษ ๆ เราจะมีการแลกปูนกัน (PRODUCT SWAPING) ทางปูนเอเชียก็ไม่ต้องขนปูนที่เหลือจากลำปางมาที่สระบุรี" ความร่วมมือทางการตลาดที่ทวีอธิบายนี้ได้นำไปสู่การกุมสภาพผู้นำในตลาดภาคเหนือ เป็นปรากฎการณ์ทางธุรกิจ ที่ทำให้วราวุธต้องยอมจำนนต่อแรงบีบของยักษ์ใหญ่ที่จะเข้ามาแย่งส่วนแบ่งตลาดภาคเหนือนี้ไปครอง ภาวะเช่นนี้ผู้บริหารชลประทานซีเมนต์จะต้องเหนื่อยมาก ๆ

สำหรับวราวุธไม่คิดจะอยู่ที่นี่อีกต่อไป บางทีวัยและประสบการณ์ชีวิตของเขาได้กำหนดทางเลือกของตนเองไว้แล้วในใจ วราวุธบอกกับน้องเขยเขาว่า อยากกลับไปทำกิจการโรงเรียนนานาชาติชื่อ "เอส พี เอ็น อินเตอร์เนชั่นแนล" อยู่ที่ซอยทองหล่อ สุขุมวิท

น้องเขยผู้มีบทบาทสำคัญอย่างถาวรสวัสดิ์ จึงต้องดูแลกิจการนี้ตามลำพัง และเป็นเรื่องที่น่าจับตาการปรับตัวของชลประทานซีเมนต์ภายใต้การบริหารของกรรมการผู้จัดการคนใหม่ที่ชื่อ "ถาวรสวัสดิ์" ว่าจะมีศักยภาพที่จะพลิกฟื้นสถานภาพปูนจิ๋วอย่างชลประทานซีเมนต์ให้สามารถแข่งขันได้หรือไม่

บางทีถาวรสวัสดิ์อาจจะต้องทุบทิ้งของเก่าแล้วสร้างใหม่ เฉกเช่นเดียวกับการทุบอาคารสำนักงานใหญ่เดิมที่อยู่บนถนนเพชรบุรีตัดใหม่ แล้วสร้างใหม่เป็นอาคารสำนักงานใหญ่อันทันสมัยบนพื้นที่ 5 ไร่นั้นก็ได้ !!

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us