Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มกราคม 2543








 
นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2543
ย้อนรอยด่านเกวียน             
 

   
related stories

อำแดงเซรามิคส์ ดินเผาพื้นบ้านสู่การส่งออก
เอกลักษณ์ดินเผาด่านเกวียน

   
search resources

Pottery




ไม่มีการจดบันทึกไว้เป็นหลักฐานชัดเจนว่าเครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียนเริ่มทำกันครั้งแรกเมื่อใด แต่จากคำบอกเล่าปากต่อปากของคนด่านเกวียนเองระบุว่า ได้เริ่มทำกันเมื่อ 2-3 ช่วงอายุคนย้อนหลังโดยชาวด่านเกวียนจะใช้เวลาว่างจากการทำนามาปั้นเครื่องใช้ไม้สอยภายในครัวเรือน คือ ครก โอ่ง ไห ถ้วย ชาม ที่เหลือนำไปแลกสินค้าจากชุมชนอื่น ที่ในบ้านด่านเกวียนไม่มี เช่นขนขึ้นเกวียนนำไปแลกปลาร้าทางเขมรต่ำ หรือประเทศกัมพูชาในปัจจุบัน และถือปฏิบัติกันเช่นนั้น เรื่อยมา

ปี 2484-2485 ในยุคจอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ระบบการค้าก็ได้เริ่มคืบคลานเข้าสู่ชุมชนบ้านด่านเกวียน จากผลนโยบายชาตินิยม ส่งเสริมให้ใช้ของไทย และยุคที่รุ่งเรืองที่สุด ซึ่งถือเป็นยุคที่ทำให้บ้านด่านเกวียนเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางยาวนานจนถึงปัจจุบันนี้คือ ยุคสงครามโลกครั้ง ที่ 2 คือ ในช่วงปี 2485 นั่นเอง

คนไทยในรุ่นนั้น คงไม่มีใครไม่รู้จักตะเกียงน้ำมันหมูจากบ้านด่านเกวียน เพราะระหว่างสงครามน้ำมันก๊าดขาดแคลน ราคาแพงยิ่งกว่าทองคำ จึงต้องใช้ตะเกียงบรรจุน้ำมันหมูแทน ทำให้ตะเกียงน้ำมันหมูจากด่านเกวียนกระจายไปทั่วเมือง

แต่หลังสงครามสิ้นสุดลง คนหันกลับไปใช้น้ำมันก๊าดกันเช่นเดิม ตะเกียงน้ำมันหมู ซึ่งมีข้อเสียคือ ควันดำ และเหม็นอยู่แล้วจึงมีการใช้น้อยลง พร้อมๆ กับการหายไปของตะเกียงด่านเกวียน

การฟื้นคืนชีพอีกครั้งของเครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียนได้เกิดขึ้นพร้อมๆ กับการก่อตั้งของวิทยาลัยเทคนิคภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ปัจจุบันคือ สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล) ในปี 2500 ราว 40 กว่าปีที่ผ่านมา กลุ่มครูบาอาจารย์ ที่ได้ร่ำเรียนทฤษฎีทางด้านศิลปะ ได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์ ออกแบบให้เครื่องปั้นดินเผาตอบสนองการใช้งานได้กว้างขึ้น ไม่ว่าจะเป็นกระเบื้องปูพื้น หรือแม้แต่การใช้เป็นองค์ประกอบตกแต่งสวน รวมถึงความพยายามในการออกแบบเครื่องประดับประเภทสร้อยคอ กำไล ซึ่งเครื่องประดับเหล่านี้กว่าจะได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายก็ใช้เวลากว่า 20 ปีเช่นกัน

ปี 2524-2525 เป็นปีที่เครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียนได้รับการยอมรับจากตลาดสูงสุดอีกครั้งหนึ่ง หลังยุคสงครามโลกครั้ง ที่ 2 เป็นต้นมา

แต่หลังจากนั้น ไม่กี่ปีความนิยมในเครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียนก็เริ่มตกต่ำอีก ด้วยเหตุ ที่ไม่มีการพัฒนารูปแบบ และเทคนิคการใช้สีเคลือบผลิตภัณฑ์นั่นเอง

นักตกแต่งบ้านจำนวนไม่น้อยเห็นว่าเครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียนคงโทนสีเข้มเกินไป ขณะที่ความนิยมงานศิลปะในช่วงนั้น ปรับไปนิยมสีอ่อนเน้นการผ่อนคลายของอารมณ์

อย่างไรก็ตามในปี 2527 พิศ ณ ป้องเพชร นักศึกษา ที่เพิ่งจบศาสตร์ด้านเซรามิกจากประเทศญี่ปุ่นได้เข้ามาเป็นอาจารย์ประจำ สอนด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ ที่วิทยาลัยเทคนิคภาคตะวันออกเฉียงเหนือตั้งแต่ปี 2523 ได้นำเอาเทคนิคใหม่ๆ จากต่างประเทศเข้าไปพัฒนาเครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียน นั่นคือ เทคนิคการนำเครื่องปั้นดินเผามาเคลือบสี และขัดให้สากๆ ให้ดูคล้ายของเก่า ผสมผสานกับการออกแบบในรูปทรง ที่ทันสมัย

เทคนิค ที่พิศใช้นั้น เข้าได้กับสิ่งที่นักตกแต่งบัานต้องการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสอดรับกับกระแสนิยมตลาดต่างประเทศ ทั้งยังสามารถนำไปตกแต่งให้เข้ากับเครื่องหวายได้อย่างลงตัวสวยงาม

การตัดสินใจของพิศครั้งนี้เป็นตัวแปรสำคัญ ที่ทำให้เครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียนเป็นที่ต้องการของตลาดอีกครั้ง และได้รับความนิยมเป็นที่รู้จักยาวนานมาจนถึงทุกวันนี้

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us