Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กรกฎาคม 2537








 
นิตยสารผู้จัดการ กรกฎาคม 2537
"สื่อสิ่งพิมพ์ในเวียดนาม ต้องมองการณ์ไกลและอดทน"             
 


   
search resources

รอส ดังคลี
Vietnam
Newspaper




ถึงรัฐบาลจะยังคุมเข้มแต่กระแสทุนนิยมผนวกกับความสนใจของคนที่จะรับรู้ข้อมูลข่าวสารเพื่อการตัดสินใจทางธุรกิจ ทำให้ธุรกิจสื่อสิ่งพิมพ์ในเวียดนามเป็นที่สนใจของนักลงทุนต่างชาติ และได้ขยายตัวอย่างไม่หยุดยั้งโดยเฉพาะอย่างยิ่งสิ่งพิมพ์ภาษาอังกฤษที่มักจะหยุดสายตานักท่องเที่ยว นักธุรกิจและคนเวียดนามได้ไม่น้อย แต่คนที่มาก่อนในวงการยังมองว่าเป็นการลงทุนเพื่อผลระยะยาวมากกว่า

ในยุคต้น ๆ นักธุรกิจชาวออสเตรเลีย เป็นผู้เข้ามาก่อนในกิจการนี้เมื่อประมาณ 2 ปีครึ่งที่ผ่านมา โดยได้ตีพิมพ์ VIETNAM INVESTMENT REVIEW ฉบับภาษาอังกฤษรายสัปดาห์ควบคู่กับฉบับภาษาเวียดนามซึ่งรายได้ 90% มาจากฉบับภาษาอังกฤษ

"ในตลาดที่มีประชากร 72 ล้านคน มันง่ายมากที่จะสรุปว่า คุณขอให้ได้สักไม่กี่เปอร์เซนต์แต่ให้เป็นกลุ่มลูกค้าที่สำคัญก็พอแล้วสำหรับตลาดสิ่งพิมพ์" รอส ดังคลี บรรณาธิการ REVIEW ที่ประจำเวียดนามกล่าว

จริงอยู่ที่โดยทั่วไปแล้วในระยะยาว รายได้หลักจะมาจากสิ่งพิมพ์ที่เป็นภาษาเวียดนามแต่ในขณะนี้ดูเหมือนชาวต่างชาติประมาณ 10,000 คน ที่อยู่ในเวียดนามจะเป็นกลุ่มที่ใหญ่กว่า เมื่อเทียบกับประชากรเวียดนามที่มากมายแต่กำลังซื้อยังน้อยนิด ที่มาของรายได้ที่สำคัญอีกทางหนึ่งคือ การส่งหนังสือพิมพ์ออกไปขายยังต่างประเทศ

อัตราค่าโฆษณาของ REVIEW สูงกว่าฉบับภาษาเวียดนามที่ออกคู่กัน 2 เท่า ถ้าเป็นลูกค้ารายใหญ่จะมีโฆษณาทั้งสองภาษา โดยภาษาเวียดนามจะเป็นส่วนที่แถม ขณะที่สื่อรายอื่นที่มีสองภาษาเหมือนกันบอกว่า ค่าโฆษณาในฉบับภาษาอังกฤษนั้นสูงกว่าฉบับภาษาเวียดนามถึง 10 เท่า

เรื่องรายได้ของหนังสือพิมพ์ฉบับภาษาเวียดนามนั้นบางส่วนก็มาจากปัญหาข้อตกลงตั้งแต่แรกอย่างเช่น กรณี REVIEW ส่วนหนึ่งของข้อตกลงกับคณะกรรมการเพื่อความร่วมมือและการลงทุนแห่งเวียดนาม (SCCI) ผู้ลงทุนชาวออสเตรเลียจะผลิตหนังสือพิมพ์ภาษาท้องถิ่นด้วย ให้ชื่อว่า VIETNAM DAU TU NOUC NGOI

"ตอนแรก เราไม่ต้องการจะเข้าไปรับรู้เกี่ยวกับฉบับภาษาเวียดนาม ซึ่งนั่นเป็นท่าทีที่ผิด" ดังคลีกล่าว "ช่วงนั้นรู้สึกว่ามันเป็นหนังสือที่ไม่ดีพอจะอ่าน ไม่น่าเชื่อถือ การเขียนก็ยังไม่ได้เรื่อง แต่เรากำลังวางแผนจะปรับปรุงรูปร่างหน้าตาอีกครั้งในปีนี้ เพื่อจะดึงกลุ่มผู้อ่านที่มีศักยภาพ"

นั่นหมายถึงว่าทำรายปักษ์ให้เป็นรายสัปดาห์และมีเนื้อหาสอดคล้องกับคนอ่านเวียดนามมากกว่านี้ จากเดิมเนื้อหา 1 ใน 3 จัดทำโดย SCCI ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับการลงทุนต่างประเทศในเวียดนาม ที่เป็นที่สนใจของคนอ่านต่างประเทศมากกว่าที่จะดึงดูดผู้อ่านชาวเวียดนาม

จนถึงปัจจุบัน ฉบับภาษาเวียดนามตีพิมพ์แล้ว 7,500 ฉบับ (แต่ประมาณว่ามีผู้อ่านถึง 54,500 คน เนื่องจากอัตราการเวียนกันอ่านสูงมาก) กระนั้นก็ตามดังคลีตั้งเป้าดันยอดพิมพ์ให้สูงถึง 100,000 เล่าภายใน 5 ปี

ริงเกียร์ เอจี (RINGIER AG) จากสวิสเซอร์แลนด์ซึ่งเจ็บจำบทเรียนจากฮ่องกงช่วงปี 2532-2534 ทีทนิตยสารรายเดือน BILIION ของกลุ่มตนต้องขาดทุนจึงค่อนข้างระวังในตลาดเวียดนาม และกลับมีจุดเน้นต่างจากคนอื่นคือ จับกลุ่มผู้อ่านภาษาเวียดนามตั้งแต่แรก

ริงเกียร์เริ่มต้นด้วยหนังสือพิมพ์รายสัปดาห์ THOI BAO KINH TE VIETNAM ซึ่งตีพิมพ์ให้กับสมาคมนักเศรษฐศาสตร์เวียดนาม กลุ่มนี้ใช้สูตรเดียวกับที่ทำสำเร็จมาแล้วในยุโรปตะวันออกซึ่งเฉพาะที่สาธารณรัฐเชคที่เดียว มีหนังสือพิมพ์และนิตยสารถึง 25 เล่ม

ที่เวียดนาม ริงเกียร์พลิกโฉมหนังสือจากยอดจำหน่าย 3,000 เล่มให้กลายเป็นหนังสือรายสัปดาห์ที่มีผู้อ่านมากที่สุดภายในช่วงปีกว่าเท่านั้น ยอดจำหน่ายสูงถึง 35,000 เล่มและภายใน 2 ปีจะเพิ่มเป็น 2 เท่า

"เราต้องการคุยกับผู้ประกอบการธรรมดา ให้ผู้ประกอบการธรรมดา ให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์และใช้ได้จริงในทางธุรกิจกับเขา" อแลง แจนเน็ต ผู้แทนริงเกียร์ประจำเวียดนามกล่าวถึงแนวหนังสือ

หลังจากมีประสบการณ์มาระยะหนึ่ง ริงเกียร์ได้ออกหนังสือรายเดือนภาษาอังกฤษ VIETNAM ECONOMIC TIMES หรือ VET ซึ่งเล่นข่าวหนัก ๆ ได้มากขึ้น

เจเรมี่ แกรนท์ อดีตนักข่าวรอยเตอร์ประจำฮ่องกงซึ่งผันตัวเองมาเป็นที่ปรึกษากองบรรณาธิการ VET กล่าวว่า REVIEW ทำเป็นแนวได้ค่อนข้างดีแล้ว "แต่ VET จะมีบทความแนวลึก และประเด็นข่าวที่จะเกี่ยวกับนักลงทุนต่างชาติโดยตรง อย่างเช่น ความคืบหน้าของภาคธุรกิจสำคัญ ๆ โครงการสาธารณูปการขั้นพื้นฐาน น้ำมันและแก๊ส และเกษตรกรรม ตลอดจนรายงานการเปลี่ยนแปลงด้านกฎระเบียบซึ่งกำลังวิวัฒนาการอย่างรวดเร็ว"

ตามแผนการแกรนท์กล่าวว่าจะต้องหาสมาชิกให้ได้ 12,000 ราย จากนอกประเทศเวียดนาม (ยอดพิมพ์จำหน่ายทั้งสิ้น 20,000 เล่ม) การจัดจำหน่ายในเอเชียและสหรัฐอเมริกานั้น จะอาศัยเครือข่าย GANNETT ซึ่งเป็นกิจการสิ่งตีพิมพ์ยักษ์ใหญ่ในสหรัฐอเมริกาและเป็นเจ้าของหนังสือพิมพ์ "ยูเอสเอทูเดย์" ด้วย

แจนเน็ตหวังว่าจากกลุ่มประเภทคนอ่านในแถบนี้จะช่วยโฆษณาในต่างประเทศหันมาสนใจลงโฆษณาใน VET ซึ่งตกหน้าละ 5,000 ดอลล่าร์สหรัฐและแพงกว่าอัตราโฆษณาในฉบับภาษาเวียดนามถึง 10 เท่า แต่จนถึงวันนี้ยังไม่มีผู้ซื้อสื่อเจ้าประจำแต่อย่างใด

เขากล่าวว่าบริษัทต่าง ๆ ไม่ได้คิดว่าเขาจะเอาจริงเอาจังกับตลาดในเวียดนามมากเท่าใดนัก แต่ความจริงแล้ว VET มีเป้าหมายในทางธุรกิจชัดเจนสำหรับที่นี่

ในตลาดที่ยังไม่ได้มีแบบแผนอะไรอย่างเวียดนาม การจะให้ลูกค้าตกลงใจและจ่ายเงินเพื่อโฆษณานั้น ต้องทำมากกว่าแค่โทรศัพท์ไปยังบริษัททั้งหลายที่อยู่ในต่างประเทศ ซึ่งนั่นทำให้การคำนวณรายได้จากการโฆษณาที่แน่นอนนั้นเป็นไปไม่ได้ แต่แจนเน็ตคาดว่าจุดคุ้มทุน (การลงทุนทั้งหมดของริงเกียร์ประมาณ 1 ล้านเหรียญสหรัฐ) กลับจะทำได้เร็วกว่าในตลาดที่พัฒนาแล้วเสียอีก โดยอาจจะเป็นปีต่อไปก็ได้ ทางด้านดังคลีก็คาดว่า VIR จะคุ้มทุนในปีนี้เช่นกัน หลังจากที่ลงทุนไปหลายล้านดอลลาร์

เมื่อปลายเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา กลุ่มริงเกียร์ยังได้ลงนามในความร่วมมือกับทางเวียดนามเพื่อผลิตหนังสือแฟชั่นเล่มแรกขึ้นชื่อว่า THOI TRANGTRE (หรือ แฟชั่นใหม่)

ในช่วงก่อนหน้านี้ไม่ถึงเดือน VIR ก็เพิ่งจะมีผู้ถือหุ้นรายสำคัญคือ ACP PUBLISHING ของเคอร์รี่ แพคเกอร์จากออสเตรเลียซึ่งซื้อกิจการบริษัทที่เป็นผู้จัดพิมพ์ VIR กลุ่มเอซีพีนี้สนใจกิจการสิ่งพิมพ์ในเอเชีย พร้อม ๆ กับเล็งกิจการโทรทัศน์ในเวียดนามด้วย ขณะที่รูเพิร์ต เมอร์ดอค นักธุรกิจสัญชาติเดียวกันพยายามแทรกตัวเข้าไปทั้ง VIR และกิจการโทรทัศน์แล้วด้วยเช่นกันแต่ยังไม่ประสบความสำเร็จ

ที่มาแรงก็คือกลุ่มเอ็มกรุ๊ปของสนธิ ลิ้มทองกุลที่ลงทุนขั้นแรก 5 แสนเหรียญสหรัฐในด้านการจัดตั้งระบบคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์สำนักงานตลอดจนการสร้าง และฝึกอบรมพนักงานที่จะเพิ่มเป็น 30 คนสำหรับหนังสือพิมพ์รายวันภาษาอังกฤษฉบับเดียวในประเทศเวียดนาม VIETNAM NEWS ในสังกัดของสำนักงานข่าวสารเวียดนาม (VNA) เวียดนามนิวส์เป็นหนังสือพิมพ์ที่ยังไม่เป็นที่แพร่หลายในหมู่ชาวต่างประเทศนักยกเว้นตามจุดท่องเที่ยว และโรงแรมในฮานอยและโฮจิมินห์ซิตี้ หลังจากเอ็มกรุ๊ปได้เข้าไปรับผิดชอบโครงการดังกล่าวแล้วหนังสือพิมพ์ฉบับนี้จะเพิ่มจาก 4 หน้าเป็น 32 หน้า และเปลี่ยนขนาดจากแทบลอยด์ในปัจจุบันเป็นบรอดชีท ขณะเดียวกันจะเพิ่มยอดพิมพ์จากไม่ถึง 10,000 ฉบับเป็น 50,000 ฉบับให้ได้ในช่วงระยะเวลาแห่งความร่วมมือซึ่งมีอายุ 10 ปี

เครือข่ายของ "ผู้จัดการ" ทั้งในฮ่องกงและอเมริกาจะเสริมด้านการตลาดให้กับเวียดนามนิวส์ได้อย่างมาก

โด๋ เฝื่อง ผู้อำนวยการสำนักข่าวสารเวียดนามกล่าวว่าหลังจากพิจารณาข้อเสนอของเอ็มกรุ๊ปเป็นเวลาเกือบปี จึงได้ตัดสินใจร่วมมือทางธุรกิจเป็นครั้งแรกกับกลุ่มนี้ โดยหวังให้เข้ามาพัฒนาหนังสือพิมพ์ให้เป็นที่ยอมรับของสากล

ทุกวันนี้เวียดนามมีสิ่งพิมพ์ทั้งรายวัน รายสัปดาห์รายเดือนรวมกันถึง 300 ยี่ห้อ สำนักข่าวสารเวียดนามเองก็ออกหนังสือพิมพ์รายสัปดาห์ภาษาอังกฤษของตน และมีแผนจะพิมพ์ฉบับภาษาฝรั่งเศส รายวันในปลายปีนี้อีกด้วย โดยจะให้ชื่อว่า COURIER DU VIETNAM

กฎเกณฑ์ที่ทางการเวียดนามได้ตั้งไว้ในเรื่องการร่วมทุนด้านสิ่งพิมพ์คือ อนุญาตให้แบ่งผลกำไรได้ระหว่างหุ้นส่วนท้องถิ่นกับผู้ร่วมทุน แต่หุ้นส่วนท้องถิ่นจะเป็นผู้รับผิดชอบในขั้นตอนสุดท้าย รวมทั้งบทบรรณาธิการ ฝ่ายต่างชาติจะให้ความช่วยเหลือด้านเทคนิคแต่ไม่มีสิทธิออกเสียงในการประชุมผู้ถือหุ้น

เวทีแห่งนี้จึงยังคงต้องใช้เวลารอดูการตัดสินใจในขั้นต่อ ๆ ไปว่าทางการเวียดนามจะยอมให้ต่างประเทศเข้ามามีบทบาทในสื่อของตนในอนาคตอีกมากน้อยอย่างไร

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us