Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มิถุนายน 2537








 
นิตยสารผู้จัดการ มิถุนายน 2537
"ซอนเซอราย ลี กับความลับทางการแพทย์"             
 


   
search resources

ซอนเซอราย ลี
Pharmaceuticals




บนโต๊ะทำงานของ "ซอนเซอราย ลี" ที่แฟลตย่านไทม์สแควร์ เมืองนิวยอร์ค มีกองหนังสือและวารสารการแพทย์วางสูงท่วมหัว เธอพลิกตำราแล้วมาหยุดอยู่ที่รูป "ชวน ฟู่ หว่า" (XUAN FU HUA) ซึ่งเป็นพืชสมุนไพรที่พบทางตะวันตกเฉียงเหนือของจีน และใช้เป็นยาแผนโบราณรักษาโรคทางเดินหายใจ

สาวเกาหลีวัย 29 ผู้นี้บอกว่า หมอชาวจีนได้อาศัยพืชชนิดนี้รักษาคนไข้มานานนับศตวรรษแล้ว และในปัจจุบันนี้มีพืชอีกจำนวนมากที่เริ่มไขปัญหาเป็นตัวยาใหม่ๆ สำหรับรักษาโรค ตัวอย่างเช่นแพทย์ชาวตะวันตกได้ใช้ยาที่สกัดจากชวนฟูหวารักษาโรคหืดและหลอดลมอักเสบ

"สังคมอเมริกันยังไม่สนใจเรื่องการแพทย์แผนโบราณเท่าไหร่ ขณะที่วัมนธรรมของคนเอเชียก้าวหน้ากว่าตะวันตกมากในเรื่องการศึกษาและใช้พืชเป็นยาสมุนไพรรักษาโรค" ลีกล่าวด้วยน้ำเสียงเสียดายที่โลกตะวันตกมองข้ามประโยชน์ของสมุนไพร

ลีเชื่อว่าความลับโบราณของจีนจะกลายเป็นการรักษาแบบสมัยใหม่ในสหรัฐ ซึ่งในปัจจุบันอาศัยยาแผนปัจจัยที่สกัดจากส่วนผสมหรือปฏิกิริยาทางเคมีเป็นหลัก และยาจำนวนมากที่ใช้รักษาโรคมะเร็งก็มีความเป็นพิษสูง

หลังจากใช้เวลาสำรวจโรงพยาบาลและร้านขายยาในเอเชียเป็นเวลา 3 ปีครึ่ง ลีได้เจอข้อมูลมหาศาลจากวารสารต่างๆ ที่โรงเรียนการแพทย์แผนโบราณปักกิ่ง ว่าด้วยเรื่องสมุนไพรจีน เธอตัดสินใจว่าจะต้องช่วยนักวิทยาศาสตร์และบริษัทยาต่างๆ ที่กำลังทำวิจัยเรื่องการแพทย์แผนโบราณให้สามารถเข้าถึงข้อมูลต่างๆ ได้มากกว่านี้

นักชีวเคมีได้รวบรวมข้อมูลและทำการตลาดเกี่ยวกับพืชที่ให้ประโยชน์กับมนุษย์ตั้งแต่การรักษาโรค ไปจนถึงการบำบัดการติดยาเสพติดและการคุมกำเนิด ด้วยข้อมูลจากวารสารที่ไม่มีคนรู้จักและอยู่กระจัดกระจายและจากฐานข้อมูลต่างๆ ทั่วโลก ลีจะสามารถบอกได้ว่า พืชชนิดต่างๆ ปลูกอยู่ที่ไหนบ้างและจะเอามาใช้ประโยชน์ได้อย่างไร ขณะนี้หน่วยงานต่างๆ กำลังรวบรวมข้อมูลเรื่องนี้อยู่ ไม่ว่าจะเป็นมหาวิทยาลัยแพทย์รัทเจอร์สที่นิวเจอร์ซี กระทรวงสาธารณสุขของเปรู มหาวิทยาลัยแพทย์เซี่ยงไฮ้ กระทรวงสาธารณสุขจีน และยังมีแพทย์และนักศึกษาแพทย์จำนวนมากกำลังให้การฝึกอบรมอยู่ในสหรัฐอเมริกา ในภูมิภาคอเมิรกาใต้แถบลุ่มน้ำอเมซอนและเอเชีย เพื่อจะช่วยให้ประชากรในแต่ละท้องถิ่นใช้แหล่งข้อมูลนี้ได้ ในเปรู ความพยายามนี้ดำเนินการโดยคนพื้นเมืองเองด้วยซ้ำ และข้อมูลก็มีทั้งภาษาสเปนและภาษาอังกฤษ

ลีมีสายเลือดของแพทย์เต็มตัว ทั้งพ่อแม่และพี่น้องของเธออีก 3 คน ล้วนเป็นหมด ครอบครัวของเธออพยพมาจากกรุงโซลและมาอยู่นิวยอร์คเมื่อปี 2519 เธอจบปริญญาตรีด้านชีวเคมีจากมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย และจบโทด้านชีววิทยาโมเลกุลจากที่เดียวกัน ปัจจุบันเธอกำลังทำปริญญาเอกในสาขานี้ เธอสนใจจะเป็นนักวิจัยด้านการแพทย์มากกว่าจะเป็นแพทย์เสียเอง

"ฉันโตที่นี่และจะใช้ความรู้ด้านการแพทย์แผนโบราณนี้ท้าทายโครงสร้างการสาธารณสุขของอเมริกา อีกอย่างในครอบครัวฉันก็มีหมออยู่มากพอแล้ว" ลีพูดถึงเหตุผลที่ไม่ต้องการเรียนเป็นหมอ

เมื่อปี 2533 ลีได้ตั้งมูลนิธิ "ฟื้นฟูภูมิปัญญา" (KNOWLEDGE
RECOVERY FOUNDATION) ขึ้น ด้วยเงินทุนสนับสนุนที่ไม่เปิดเผยจำนวนจากครอบครัวของเธอเองจนถึงปัจจุบันการหาทุนและความช่วยเหลือต่างๆ ได้มาจากสหประชาชาติและสถาบันการเงินเอกชน ตลอดจนองค์กรธุรกิจและสมาชิกกองทุนที่บริจาคมาแล้วมากกว่า 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลีและลูกทีมอีก 6 คนเป็นผู้บริหารกองทุนที่ไม่แสวงหากำไรแห่งนี้ด้วยงบประมาณปีละ 250,000ดอลลาร์สหรัฐ โดยมีสินทรัพย์ 3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

งานใหญ่ของมูลนิธิในขณะนี้ก็คือการพัฒนาฐานข้อมูลที่ลีคาดว่าจะเสร็จในปลายปีนี้ โครงการนี้ใช้เงินประมาณ 1.5 ล้านเหรียญ และคาดว่าในปีแรกจะสามารถขายข้อมูลได้ประมาณ 10 ล้านเหรียญ ผู้ใช้ข้อมูลจะต้องเสียค่าธรรมเนียมสมาชิกแรกเข้า 100 เหรียญ ซึ่งขณะนี้มีผู้สนใจขอใช้บริการประมาณวันละ 100 ราย เธอยังได้พัฒนาการจัดเก็บข้อมูลในรูปของวิดีโอดิสก์ สำหรับจัดแสดงในการประชุมหรือพิพิธภัณฑ์ และใช้วิธีการทำตลาดผ่านสื่อสารคดีทางทีวีและโฮมวิดีโอด้วย

ลีกำลังวางแผนลงทุนเพิ่มในฐานข้อมูลนี้เพื่อให้ประชาชนในประเทศกำลังพัฒนาสามารถซื้อหาข้อมูลนี้ได้ด้วย

"เราไม่ต้องการให้เฉพาะคนชั้นสูงหรือนักวิชาการเท่านั้นที่จะเข้าถึงข้อมูลได้ แต่เราต้องการให้บัฐบาลและประชาชนในประเทศที่ขาดความช่วยเหลือหรือการสนับสนุนด้านการแพทย์ สามารถเข้าถึงข้อมูลนี้ด้วย"

สิ่งที่ลีกำลังตื่นเต้นอยู่ในขณะนี้คือ กรณีตัวอย่างหนึ่งที่ผู้ใช้ข้อมูลของเธอ สามารถทำวิจัยสกัดยาจากเปลือกต้น "YEW" ซึ่งขึ้นอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของอเมริกา เพิ่งจะเมื่อเร็วๆ นี้เองที่พืชชนิดนี้ได้เป็นที่สนใจในประสิทธิภาพการบำบัดรักษามะเร็งในปีกมดลูกและมะเร็งทรวงอก ขณะที่สารสกัดจากต้นไม้นี้ถูกนำมาใช้ในเอเชียเป็นเวลาหลายปีแล้ว เพื่อนำมาบรรเทาโรคไขข้ออักเสบและรูมาติซั่ม ลีหวังว่าดาต้าเบสของเธอจะช่วยพัฒนาการศึกษาต้น "YEW" และพืชอื่นที่ใช้รักษาโรคได้

ทั้งบริษัทผลิตยาและบริษัทสกัดสารธรรมชาติสามารถใช้ประโยชน์จากฐานข้อมูลนี้ได้เป็นอย่างดี องค์การอนามัยโลกประมาณว่า ประมาณ 80% ของประชากรโลก พึ่งพาการแพทย์แผนโบราณเป็นหลักทั้งสิ้น ในญี่ปุ่นประชาชนเสียงเงินถึงกว่า 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในแต่ละปีเพื่อซื้อหาพืชสมุนไพรจีนที่ใช้รักษาโรคได้ ในยุโรป เยอรมันเป็นตลาดสำคัญสำหรับยาจากธรรมชาติ คิดเป็นสัดส่วน 70% ของตลาดยาที่สกัดจากธรรมชาติทั้งหมดในโลก และเมื่ออุปสรรคการค้าในยุโรปได้ถูกยกเลิกไปแล้ว ตลาดยาจำพวกนี้ก็จะมีโอกาสขยายตัวได้อย่างมหาศาลจากที่มีผู้บริโภค 60 ล้านคนมาเป็น 330 ล้านคน

ลีกล่าวว่าดาต้าเบสนี้จะช่วยทำให้เกิดสินค้าใหม่ๆ ได้เร็วขึ้นในอุตสาหกรรมยาที่สกัดจากธรรมชาติ ปีที่แล้วที่ยอดขายสมุนไพรและพืชที่ใช้เป็นยารักษาโรคได้คิดเป็นเงิน 1.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐทั่วโลก ซึ่งเป็นส่วนที่ขยายตัวเร็วสุดในกลุ่มสินค้าที่สกัดจากะรรมชาติที่มียอดขายทั้งสิ้น 4.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

"ยังมีสิ่งที่จะให้ค้นพบรอคอยอยู่อีกมาก" ดร. เดนนิส แมคเคนน่า ซึ่งใช้แหล่งข้อมูลทำนองเดียวกันสำหรับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของบริษัท "ชามาน ฟาร์มาซูติคัล" ในซานคาร์ลอส แคลิฟอร์เนียกล่าว

ชามาน ด้ใช้เทคโนโลยี่สมัยใหม่ในการผลิตตัวยานจากพืชที่ชนพื้นเมืองในประเทศแถบแอฟริกา ลาตินอเมริกา และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ใช้เป็นยากันอย่างแพร่หลาย นอกจากชามานแล้วยังมีอีกหลายบริษัทในสหรัฐเช่น "เมอร์คแอนด์โค" และ "บริสทอล-เมเยอร์ สควิบบ์" ที่ทุ่มเทการวิจัยในเรื่องพืชรักษาโรค

ลีกล่าวว่า ในสหรัฐมีเพียง 10% ของพืชที่รักษาโรคที่มีการศึกษาเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ และอีกเพียง 1% จากจำนวนนี้เท่านั้นที่มีการค้นคว้าวิจัยเพิ่มเติม ปัจจุบันยาในสหรัฐที่มาจากพืชที่รักษาโรคได้มีเพียง 1 ใน 4 เท่านั้น แต่กระนั้นก็คิดเป็นมูลค่าสูง 8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐสำหรับยอดขายของยาประเภทนี้

สถาบันสุขภาพแห่งอเมริกา และสถาบันมะเร็งแห่งชาติ ยังคงให้เงินสนับสนุนงานวิจัยพิจารณาคัดเลือกพืชที่มีศักยภาพในการนำมาผลิตยาได้ และยิ่งประธานาธิบดีบิล คลินตันกำลังปฏิรูประบบประกันสุขภาพ "ยาจากพืชจึงเป็นทางเลือกที่น่านำมาพิจารณา" ลี กล่าวทิ้งท้าย

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us