Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มิถุนายน 2537








 
นิตยสารผู้จัดการ มิถุนายน 2537
"ช่างตัดเสื้อประจำกองทัพแคนาดา"             
 


   
search resources

อาร์คเทกซ์ สปอร์ตสแวร์อิงค์
ฟีบัส หว่อง




ตอนที่ "ฟีบัส หว่อง" ตั้งบริษัทผลิตเครื่องนุ่งห่มขึ้นในชานเมืองโตรอนโต เขาไคาดคิดมาก่อนว่าลูกค้าที่ดีที่สุดของเขาจะเป็นรัฐบาลแคนาดา

ทุกวันนี้หว่อง-รองประธานและกรรมการบริษัท "อาร์คเทกซ์ สปอร์ตสแวร์องค์" เป็นผู้จัดหาและผลิตเครื่องแต่งกายทุกอย่างให้กับกองทัพแคนาดา ตั้งแต่ชุด "พาร์คา" (PARKA) ซึ่งเป็นเสื้อแจ็กเก็ตกันหนาวและกันน้ำ มีหมวกในตัว แบบชุดที่คนเอสกิโมสวม สำหรับใช้ในเขตอาร์ติคไปจนถึงเสื้อกั๊กของตำรวจม้า แจ็กเก็ตนักบินและชุดเสื้อกางเกงติดกันสำหรับทหาร

"งานที่ได้จากรัฐบาลไม่ได้ทำให้เรารวย แต่ก็ทำให้เราอยู่รอดได้ เหมือนขนมปังกับเนยที่เป็นอาหารประจำไม่ได้เอร็ดอร่อยอะไร แต่ก็ทำให้ท้องอิ่มได้" หว่องกล่าว

สัญญาว่าจ้างให้ผลิตเครื่องแต่งกายสำหรับกำลังพลในกองทัพจากรัฐบาลแคนาดา มาถึงหว่องในจังหวะที่เหมาะสมที่สุดตอนที่เขาร่วมหุ้นกับเพื่อนชื่อ "อาร์ชี่ โซ" กู้เงินจากธนาคาร 312,500 ดอลลาร์สหรัฐ โดยเอาบ้านเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันเพื่อจะตั้งบริษัทอาร์ตเทกซ์เมื่อ 4 ปีที่แล้ว เป็นเวลาที่เศรษฐกิจของแคนาดากำลังตกต่ำในตอนแรกๆ หว่องผลิตชุดสกีแบบติดกันเป็นชิ้นเดียว และชุดสกีแบบอื่นๆ เพื่อเจาะตลาดระดับสูงที่นิยมสินค้าติดยี่ห้อดังๆ นอกจากนั้นอาร์ตเทกซ์ยังขึ้นชื่อในเรื่องการรับออร์เดอร์ที่เร่งๆ และจับกลุ่มธุรกิจขายเสื้อผ้าที่ไม่สามารถนำเข้าสินค้าต่างประเทศได้ เพราะข้อจำกัดเรื่องโควต้านำเข้าที่เข้มงวด

เศรษฐกิจที่ยังถดถอยทำให้หว่องเกิดปัญหา อาร์ตเทกซ์พบว่าไม่อาจจะสู้สินค้านำเข้าราคาถูกกว่าจากเอเชียใต้ซึ่งอาศัยความได้เปรียบด้านค่าแรงที่ต่ำกว่า สัญญาจากรัฐบาลได้เข้ามาช่วยในขณะที่เขาไม่มีอะไรในมือ ปีที่แล้วรายได้จากการส่งเสื้อผ้าให้กับรัฐบาลคิดเป็น 60% ของยอดขายอาร์ตเทกซ์ 3.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ที่เหลือ 30% ส่งออกไปอังกฤษและกรีนแลนด์ ส่วนตลาดในประเทศแคนาดาตกประมาณ 10%

แต่การทำงานกับรัฐไม่ใช่เรื่องง่ายๆ เลย เจ้าหน้าที่จากรัฐบาลกลางมักจะมากตรวจโรงงานดูการผลิตซึ่งหว่องเช่ามาเดือนละ 8,500 เหรียญ โรงงานนี้ตั้งอยู่ที่สการ์โบโร ย่านชานเมืองที่พลุกพล่านทางตะวันออกของโตรอนโต และเป็นถิ่นที่อยู่ของพวกฮ่องกงอพยพ สเปกเครื่องแต่งกายแต่ละประเภทมีรายละเอียดและข้อกำหนดมากมาย เป็นต้นว่าเสื้อโค้ตสีน้ำเงินของทหารเรือ จะต้องบุด้วยฉนวนกันความเย็น "THINSULATE" ของ "3 เอ็ม" เพื่อให้ร่างกายยังอบอุ่นในอุณหภูมิ -40 องศาเซลเซียส พนักงาน 90 คนของอาร์ตเทกซ์ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวแคนาดาเชื้อสายเอเชียต้องเล็มขอบฮู้ดด้วยขนของตัววูลเวอรีนให้มีความกว้าง 5 เซนติเมตร และต้องเย็บแถบดิ้นสะท้อนแสงสีเหลืองห่างจากชายเสื้อหรือกางเกง 64 มิลลิเมตร

กำไรที่จะได้จากงานของรัฐบาลก็น้อยกว่าที่จะขายให้รายอื่น เพราะกระบวนการประมูลที่แข่งขันกันมาก และยังเป็นการเพิ่มงานอีกจุกจิก ในชั้นแรกอาร์ตเทกซ์ต้องยื่นหลักฐานการเงินและอื่นๆ ก่อนที่จะได้เข้าไปอยู่ในบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเข้าร่วมการประมูล เมื่อปี 2535 เพิ่งจะมีการปรับปรุงระบบทำสัญญากับรัฐ โดยเปิดโอกาสให้บริษัทต่างๆ เข้ามาประมูลได้มากขึ้น ปัจจุบันหว่องต้องจ่ายเงินปีละ 200 ดอลลาร์สหรัฐ เพื่อจะได้รายการประมูลแต่ละแห่งซึ่งอยู่ในคอมพิวเตอร์

หว่องเกิดที่ฮ่องกง เขาได้ปริญญาด้านการบริหารธุรกิจและจัดการอง๕การจาก "โอเพ่น คอลเลจ" ของมหาวิทยาลัยอีสต์เอเชียที่มาเก๊า เขาผ่านการทำงานกับธนาคารมาแล้วหลายแห่ง ส่วนใหญ่เป็นงานด้านการค้าต่างประเทศ หว่องกับโซซึ่งเป็นเพื่อนสนิทสมัยเป็นนักเรียนไฮสกูลที่คิงสคอลเลจที่ฮ่องกงกับหุ้นส่วนอีก 3 คนที่นั่นได้ตั้งบริษัทเทรดดิ้ง ส่งออกเสื้อหนาวไปยังแคนาดา สหรัฐและยุโรป หลังจากครอบครัวและญาติพี่น้องของเขาอพยพมาอยู่แคนาดา หว่องและเวโรนิกา-ภริยา กับลูกอีก 2 คนจึงได้เข้ามาตั้งถิ่นฐานที่โตรอนโตเมื่อปี 2528 หว่องทำงานเป็นนักวิเคราะห์ในแผนกอัตราแลกเปลี่ยนที่ธนาคาร "โตรอนโตโดมิเนียน" อยู่ช่วงสั้นๆ ก่อนจะทำธุรกิจการ์เม้นท์ของตัวเอง

การเป็นผู้ประกอบการแบบแคนาดาก็ทำให้หว่องต้องปรับตัวเหมือนกัน นอกจากเรื่องของเงินเดือนแล้ว บริษัทต้องจ่ายเงินช่วยสวัสดิการสังคมให้ลูกจ้างถึง 6 โครงการตามข้อกำหนดของรัฐและจังหวัด คิดเป็น 25% สำหรับลูกจ้างแต่ละคน โครงการสวัสดิการของรัฐบาลกลางได้แก่ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพและประกันการไม่มีงานทำ ขณะที่กฎหมายท้องถิ่นจะต้องให้นายจ้างจ่ายภาษีสุขภาพ เงินชดเชยสำหรับลูกจ้างที่บาดเจ็บ เงินสำหรับการพักร้อนและในวันหยุดราชการต้องจ่ายเงินให้ลูกจ้างด้วย

หว่องกำลังเจอปัญหาเรื่องแหล่งวัตถุดิบในอเมริกาเหนือ เขากล่าวว่าการหาผู้ผลิตผ้าในแคนาดายากยิ่งกว่าในฮ่องกง ซึ่งมีซัพพลายเออร์อยู่เต็มไปหมด เขายังต้องทำใจกับวิธีการทำธุรกิจแบบตะวันตกที่ไปอย่างช้าๆ

"ที่ฮ่องกงถ้าเราขอให้ซัพพลายเออร์โค้ดราคามาให้ เราก็จะได้ในวันเดียวเลย แต่ที่นี่กว่าจะได้อาจจะเป็น 3 วัน หรือไม่ก็ 3 อาทิตย์ !" หว่องเปรียบเทียบ

แต่หว่องก็ไม่ได้เสียใจอะไรนักที่ได้ทิ้งงานมั่นคงจากแบงก์มาเสี่ยงกับธุรกิจเสื้อผ้า "เดี๋ยวนี้สบายขึ้น เพราะเรารู้ชัดว่าตลาดของเราอยู่ตรงไหน อีกอย่างผมชอบเป็นนายของตัวเอง" หว่องกล่าวพร้อมกับรอยยิ้ม

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us