Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน12 กันยายน 2549
เอื้อคิงเพาเวอร์โกย2หมื่นล.             
 


   
search resources

Commercial and business
คิง เพาเวอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล, บจก.




“เพ้ง” ยันเก็บรายได้คิงเพาเวอร์เพิ่มตามสัดส่วนพื้นที่เพิ่ม ชี้ ทอท.เจรจาตาม ระเบียบข้อตกลง ขณะที่สำนักงาน 27 สายการบินอยู่นอกอาคารเป็นเรื่องการจัดการปกติแต่ละสนามบินไม่เหมือนชี้เจ้าหน้าที่ต้องปรับตัวเอง ด้านคิง เพาเวอร์ โกยเละ 2 หมื่นล้านบาทปีแรก หลังเปิดสนามบินสุวรรณภูมิ เหตุ มีรายได้จากการได้เพิ่มอีกเท่าตัวจากสิทธิ์เข้าบริหารพื้นที่เชิงพาณิชย์ 25,000 ตารางเมตรภายในสนามบิน ชูสินค้าหลากหลาย ราคาถูกสยบคู่แข่งอย่าง สิงคโปร์ ฮ่องกง ชี้ค่าเช่าพื้นที่เป็นธรรม เหตุงบลงทุนบานจาก 1,200 ล้านบาท เป็น 3,000 ล้านบาท

นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล รักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยกรณีที่ กลุ่มบริษัท คิงเพาเวอร์ ผู้ได้รับสิทธิ์ในการบริหารจัดการพื้นที่เชิงพาณิชย์ภายในอาคารผู้โดยสารและอาคารเทียบเครื่องบิน ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ พื้นที่ประมาณ 20,000 ตารางเมตร และได้สิทธิ์ในการบริหารร้านค้าปลอดภาษี (ดิวตี้ฟรี) ประมาณ 5,000 ตารางเมตร ได้รับพื้นที่เพิ่มในส่วนเชิงพาณิชย์ และดิวตี้ฟรีว่า ขณะนี้ ตนยังไม่ได้รับรายงานจากบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือทอท. ว่า พื้นที่และรายได้ที่ทอท.จะได้รับเพิ่มเท่าไร แต่ในหลักการ กรณีผู้รับสัมปทานได้พื้นที่เพิ่มจากที่ตกลงในสัดส่วนเท่าใดก็จะต้องจ่ายผลตอบแทนให้ทอท.เพิ่มในสัดส่วนเท่านั้น โดยใช้ค่าเฉลี่ยรายได้ต่อตารางเมตรจากข้อตกลงเดิมเป็นฐาน

ส่วนกรณีที่ คิงเพาเวอร์ฯ ระบุว่าพื้นที่เพิ่มบางส่วนไม่สามารถนำมาหารายได้หรือไม่ได้ทำประโยชน์เชิงพาณิชย์ เช่น บริเวณที่ตั้งของประติมากรรมกวนเกษียรสมุทร และด้านหลังยังเป็นพื้นที่สำหรับพิพิธภัณฑ์นั้น นายพงษ์ศักดิ์กล่าวว่า ทอท.จะต้องเจรจาเฉพาะจุด โดยยอมรับเงื่อนไขนี้ แต่ยืนยันว่า การที่คิงเพาเวอร์ฯได้พื้นที่เพิ่ม ทอท.จะต้องมีรายได้เพิ่มด้วยและการเจรจามีหลักการและระเบียบชัดเจน ส่วนกรณีที่ผู้ร่วมประมูลจะมาร้องเรียนว่าไม่ได้รับความเป็นธรรมเพราะหากทราบว่าสามารถเพิ่มพื้นที่ได้ อาจจะเสนอผลตอบแทนให้ทอท.สูงขึ้นและอาจทำให้เป็นผู้ชนะประมูลได้นั้น ส่วนนี้ เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นก่อน ตนไม่ทราบ

****ชี้เจ้าหน้าที่สายการบินต้องปรับตัวตามสภาพ**

นอกจากนี้ การที่สนามบินสุวรรณภูมิ มีการจัดสรรพื้นที่ภายในอาคารผู้โดยสารและอาคารเทียบเครื่องบินสำหรับกิจกรรมเชิงพาณิชย์จำนวนมากได้ส่งผลให้ สายการบินประมาณ 27 สายไม่มีที่ตั้งของสำนักงานภายในอาคารและต้องไปใช้อาคารสำนักงาน ทอท. (AOB) แทนในขณะที่สนามบินดอนเมืองแม้จะเล็กกว่าแต่สามารถจัดสรรพื้นที่ให้ทุกสายการบินตั้งสำนักงานได้เพียงพอนั้น นายพงษ์ศักดิ์กล่าวว่า การบริหารและการทำงานของแต่ละสนามบินย่อมแตกต่างกันซึ่งเจ้าหน้าที่ของแต่ละสายการบินต้องปรับตัวเพื่อให้สามารถทำงานที่สุวรรณภูมิซึ่งแตกต่างจากดอน เมืองให้ได้ ซึ่งระยะแรกเจ้าหน้าที่บางสายการบินอาจต้องเดินมากหน่อยแต่สนามบินมีทางเดินเชื่อมต่อกันหมดเพื่อความสะดวกอยู่แล้ว

ส่วนห้องรับรอง (เล้าจ์) ของ 14 สายการบินที่อาจจะไม่แล้วเสร็จทันวันที่ 28 ก.ย.นี้ นั้นรักษาการ รมว.คมนาคมกล่าวว่า เบื้องต้นหากเสร็จไม่ทัน ก็จะให้ใช้ห้องรับรองของบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ไปก่อน ซึ่งที่สุวรรณภูมิจะเป็นสนามบินแรกที่มีห้องรับรองสำหรับผู้โดยสารชั้นประหยัดด้วยนอกเหนือจากผู้โดยสารชั้น 1 ชั้นธุรกิจ ซึ่งมั่นใจว่าจะรองรับได้เพียงพอ แต่ทั้งนี้แต่ละสายการบินก็มีหน้าที่ในการแก้ปัญหาและดูแลผู้โดยสารของตัวเองด้วย

“จากการสอบถาม ทอท. ระบุว่า ได้เปิดให้สายการบินมาจองพื้นที่ทำห้องรับรองเกือบปีแล้วแต่สายการบินไม่มาโดยเฉพาะสายการบินใหญ่ๆ ในภูมิภาคนี้ เพราะเห็นว่า สนามบินจะเปิดไม่ได้ตามกำหนดและเพิ่งเข้ามาเมื่อใกล้กำหนดเปิดและเลือกพื้นที่ที่มีเจ้าของแล้ว และการจองพื้นที่ไม่เกี่ยวข้องกับการที่กลุ่มไอทีโอฯ ซึ่งเป็นผู้รับเหมายังก่อสร้างไม่เสร็จเพราะให้มาเลือกในกระดาษก่อน”

นายพงษ์ศักดิ์ กล่าวว่าในการประชุมคณะกรรมการบริหารพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (กทภ.) วันที่ 13 ก.ย.ที่มีพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร รักษาการนายกรัฐมนตรีเป็นประธานนั้นจะเป็นการประชุมกทภ.ครั้งสุดท้ายและจะมีการตั้งศูนย์ประสานงาน ทอท. เพื่ออำนวยความสะดวกในการประสานงานซึ่งกันและกันของทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการใช้สนามบิน

**คิงเพาเวอร์แจงค่าเช่าพื้นที่เป็นธรรม**

นายสมบัตร เดชาพานิชกุล กรรมการผู้จัดการ กลุ่มบริษัท คิง เพาเวอร์ กล่าวว่า ในส่วนของพื้นที่เชิงพาณิชย์ ที่อยู่ภายใต้การดูแลของ บริษัท คิง เพาเวอร์ สุวรรณภูมิ จำกัด มีทั้งสิ้นประมาณ 25,000 ตารางเมตรเศษ ซึ่งมากกว่าที่กำหนดไว้ในร่าง ทีโออาร์ ที่การท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย (ทอท.)ระบุไว้จริง แต่การเสนอประมูลพื้นที่ของบริษัท คิง เพาเวอร์ ที่เสนอไปคือ 25,000 ตารางเมตร ตามที่ได้อยู่ในขณะนี้

โดยให้เหตุผลว่า ร้านค้าแบรนด์เนมชั้นนำระดับโลก ส่วนใหญ่จะต้องการพื้นที่เปิดชอป 300-400 ตารางเมตร และมีมากกว่า 20 แบรนด์ที่จะเข้ามาเปิดชอป จึงจำเป็นต้องใช้พื้นที่เพิ่มขึ้นอีกจำนวนมาก นอกจากนั้นยังต้องมีร้านค้าและบริการอื่นๆ ที่จำเป็นอีกมากมาย เช่น ร้านขายยา สปา เสริมสวย ร้านอาหาร ฟาสต์ฟูดส์ โรงภาพยนตร์ และ เอ็นเตอร์เทนเมนต์ อื่นๆ ซึ่ง ทอท. ก็เห็นด้วย จึงได้จัดสรรพื้นที่เพิ่มให้ ซึ่งบริษัทฯก็ต้องจ่ายค่าเช่าเพิ่มตามตารางเมตรที่เพิ่มขึ้น ส่วนรายได้ก็ต้องแบ่งให้ในสัดส่วนตามสัญญาเหมือนเดิม

“เราออกแบบพื้นที่ร้านค้าภายในอาคารทั้งหมดให้เป็น วอล์กกิ้ง ทรู ชอปปิ้ง สตรีท ในสนามบินที่ยาวที่สุดในโลก คือมีความยาวถึง 999 เมตรต่อชั้น”

อย่างไรก็ตาม บริษัทฯได้ลงทุนก่อสร้างตกแต่งพื้นที่ทั้งหมดด้วยเงินลงทุนราว 3,000 ล้านบาท ซึ่งเกินกว่างบที่ตั้งไว้เบื้องต้นว่าจะใช้ที่ 1,200 ล้านบาท ดังนั้น ส่งผลให้ต้นทุนต่อตารางเมตรของพื้นที่ดังกล่าวจึงเพิ่มขึ้นจาก 1,333 บาทต่อตารางเมตรต่อเดือน เพิ่มเป็น 4,770 บาทต่อตารางเมตรต่อเดือน ขณะที่บริษัทฯจัดเก็บค่าเช่าจากร้านค้าเฉลี่ยที่ 6,200-6,300 บาทต่อตารางเมตรต่อเดือน ซึ่งนับว่าเป็นราคาที่สมเหตุสมผล เพราะบริษัทฯต้องนำส่งรายได้ให้แก่ ทอท. ขั้นต่ำ ปีละ 1,431 ล้านบาท หรือ 15% ของรายได้ในปีแรก และในปีที่ 2-10 จะต้องปรับเพิ่มทุกปีตามจำนวนผู้โดยสารของสนามบินและอัตราเงินเฟ้อ

***ให้สิทธิ์2แบงก์ตอบแทนคุณ**

นายวิชัย รักศรีอักษร ประธานกรรมการบริหาร กลุ่มบริษัท คิง เพาเวอร์ กล่าวว่า การจัดสรรพื้นที่เช่าให้แก่ร้านค้าทั้งหมด จะพิจารณาจากความสำคัญ และ ความต้องการของลูกค้าผู้ใช้บริการเป็นหลัก เน้นเรื่องความหลากหลาย ส่วนในเรื่องของธนาคารที่แจ้งความประสงค์ขอเช่าพื้นที่เพื่อเปิดบูธ แลกเปลี่ยนเงินตรา ก็มีจำนวนมาก แต่ที่บริษัทเลือกเพียง 2 ธนาคาร คือ ธนาคารทหารไทย และ ธนาคารไทยพาณิชย์ ก็เพราะทั้ง 2 ธนาคารดังกล่าว ได้ช่วยเหลือเรื่องเงินลงทุนแก่บริษัท ทั้งโครงการที่สนามบินสุวรรณภูมิ และ โครงการคิง เพาเวอร์ คอมเพล็กซ์ รวมกว่า 7,500 ล้านบาท อีกทั้งมองไม่เห็นว่าที่สนามบินจะต้องมีจำนวนธนาคารมากมายนัก ซึ่งความจริงแล้ว คิง เพาเวอร์ ก็มีใบอนุญาตทำธุรกิจแลกเปลี่ยนเงินตรา แต่ เพื่อให้ลูกค้าเกดความมั่นใจ จึงเห็นว่า ควรยกธุรกิจนี้ให้ธนาคารเป็นผู้ดูแล

นายวิชัยเปิดเผยว่า ล่าสุดการก่อสร้างและตกแต่งร้านค้า ท่าสนามบินสุวรรณภูมิ ทั้งในส่วนของ ร้านค้าปลอดภาษี(ดิวตี้ฟรี) และ เอ็นเตอร์เทนเมนต์ชอปปิ้ง ที่อยู่ในส่วนของพื้นที่เชิงพาณิชย์ ขณะนี้ทุกอย่างแล้วเสร็จประมาณ 95% แล้ว ซึ่งมั่นใจว่าจะพร้อมเปิดให้บริการได้ทันตามกำหนดเปิดใช้สนามบินสุวรรณภูมิอย่างเป็นทางการในวันที่ 28 กันยายน 49 อย่างแน่นอน โดยเฉพาะในส่วนของร้านค้าแบรนด์เนมชั้นนำระดับโลก ซึ่งการตกแต่งค่อนข้างจะแล้วเสร็จหมดแล้ว แต่จะมีอยู่ 2 แบรนด์ ที่อาจเสร็จไม่ทันกับวันเปิดสนามบินคือ ชาแนล และเฮอร์เมส(HERMES)

ทั้งนี้ในธุรกิจการบินปัจจุบัน ที่ทุกประเทศต่างต้องการเป็นฮับทางการบิน โดยมีการสร้างสนามบินที่ทันสมัย พร้อมดึงดูดให้ทุกสายการบินตัดสินใจที่จะบินเข้ามาใช้บริการด้วยการกำหนดค่าแลนด์ดิ้ง หรือค่าจอดสนามบินในราคาต่ำ ดังนั้นสิ่งที่จะนำรายได้เข้าประเทศได้อีกทางหนึ่งคือกิจกรรมเชิงพาณิชย์ เช่น ร้านค้าปลอดภาษี ภัตตาคาร ฟาสต์ฟูดส์ บาร์ คาเฟ่ ร้านสินค้าแบรนด์เนมต่างๆ ตลอดจน สิ่งอำนวยความสะดวก และบริการอื่นๆ ซึ่งทุกสนามบินต่างก็สนใจและเกิดการแข่งขันสูงอีกเช่นกัน

ดังนั้น บริษัท คิง เพาเวอร์ มองเห็นความสำคัญตรงนี้ จึงได้ตั้งบริษัท คิง เพาเวอร์ สุวรรณภูมิ จำกัด ขึ้นมาดูแลพื้นที่ในส่วนเชิงพาณิชย์ที่สนามบินสุวรรณภูมิ ซึ่งมีทั้งหมดประมาณ 25,000 ตารางเมตร โดยกิจกรรมทั้งหมดจะมีจุดประสงค์เพื่อเป็นการส่งเสริมให้ สนามบินสุวรรณภูมิ เป็นสนามบินที่ยิ่งใหญ่ และเป็นศูนย์กลางทางการบินแห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างแท้จริง

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า บริษัท คิง เพาเวอร์ สุวรรณภูมิ จำกัด จดทะเบียนจัดตั้งเมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2548 มีทุนจดทะเบียน 100 ล้านบาท หรือจำนวน 10 ล้านหุ้น โดยมีผู้ถือหุ้นใหญ่ประกอบด้วย บริษัท คิงเพาเวอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ถือหุ้น 3 ล้านหุ้น, บริษัท คิงเพาเวอร์ ดิวตี้ฟรี จำกัด ถือหุ้น 2 ล้านหุ้น, บริษัท คิงเพาเวอร์มาเก็ตติ้ง จำกัด ถือหุ้น 2.5 ล้านหุ้น, บริษัท คิงเพาเวอร์ แท็กซ์ฟรี จำกัด ถือหุ้น 2 ล้านหุ้น, บริษัท สยาม ดี.เอฟ.เอส. จำกัด ถือหุ้น 499,9963 หุ้น นอกจากนั้นถือรายละ 1 หุ้น คือ นายวิชัย รักศรีอักษร นางเอมอร รักศรีอักษร นายจุลจิตต์ บุณยเกตุ นายสุวรรณ ปัญญาภาส นายสมบัตร เดชาพานิชกุล นายอัยยวัฒน์ รักศรีอักษร นางสาวอัญชลี รุจิพงศ์

โดยจุดขายสำคัญที่จะนำเสนอนักท่องเที่ยวและนักเดินทางได้สัมผัส คือ ความหลายหลากของสินค้าและบริการ ตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย รวมถึงการออกแบบสถานที่ให้สวยงามทันสมัยน่าเดิน ขณะเดียวกันในเรื่องของการกำหนดราคาขายสินค้าและบริการ จะแพงกว่าราคาท้องตลาด หรือห้างสรรพสินค้าชั้นนำได้ไม่เกิน 25% ซึ่งตรงนี้บริษัทมั่นใจว่า เมื่อเปรียบเทียบกับสนามบินคู่แข่ง อย่าง สิงคโปร์ ฮ่องกง หรือดูไบ ราคาสินค้าที่จำหน่ายที่สนามบินสุวรรณภูมิจะถูกกว่า 5-10%

สำหรับกลยุทธ์ทางการตลาด จะทำแบบครบวงจร ทั้งโฆษณา ประชาสัมพันธ์ จัดกิจกรรมส่งเสริมการขาย ลูกค้าสัมพันธ์ โดยวางสื่อให้ทั่วถึงครอบคลุม เช่น โทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร อินเทอร์เน็ต และสื่อกลางแจ้ง ส่วนกิจกรรม จะให้ความสำคัญทั้งบีโลว์ เดอะ ไลน์ และ อโบฟ เดอะ ไลน์ โดยทั้งหมดที่กล่าวมารวมถึงจัดแคมเปญส่งเสริมอื่นๆ รวมแล้วกว่า 180 ล้านบาท ตั้งเป้าปี แรก บริษัทจะมีรายได้เฉพาะที่สนามบินสุวรรณภูมิประมาณ 2 หมื่นล้านบาท แบ่งเป็นรายได้จากร้านค้าปลอดภาษี 1 หมื่นล้านบาท และจากร้านค้าในส่วน ของพื้นที่เชิงพาณิชย์อีกราว 1 หมื่นล้านบาท ซึ่งตรงนี้บริษัทฯจะต้องนำส่งรายได้ให้แก่ ทอท.15% ด้วยตามสัญญา โดยปัจจุบัน ที่สนามบินดอนเมือง บริษัทฯจะมีรายได้จากยอดขายประมาณปีละ 8,000 ล้านบาท   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us