BNT แจงการตั้งด้อยค่าของเงินลงทุนใน "นวดิศ" ในไตรมาส 2 เพราะการซื้อกิจการนี้มีหนี้สินอยู่จำนวนหนึ่งที่อยู่ระหว่างการเจรจาขอให้ทางผู้ถือหุ้นเดิมของ นวดิศ ยกเลิกสิทธิเรียกร้องความเป็นเจ้าหนี้ภายหลังจากการซื้อกิจการแล้ว ขณะที่ผู้สอบบัญชี เห็นว่าหนี้ดังกล่าวอยู่ระหว่างการเจรจา ซึ่งยังไม่สามารถชี้ชัดได้ว่าจะเป็นผลสำเร็จหรือไม่ แต่หากสำเร็จจะรับรู้เป็นรายได้กำไรกลับมา และการซื้อหุ้นนี้การเรียกร้องสิทธิหนี้สินที่มีอยู่จะเป็นความรับผิดชอบของผู้ถือหุ้นเดิมของบจ. นวดิศ โดยที่บริษัทจะไม่เกี่ยวข้องตามข้อเงื่อนไข
นายวิชัย เบญจพลาพร ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงิน บริษัท บีเอ็นที เอ็นเตอร์เนเม้นท์ จำกัด(มหาชน) (BNT) แจงข้อมูลการตั้งด้อยค่าของเงินลงทุนในบริษัท นวดิศ จำกัด และงบการเงินไตรมาส 2 ปี 2549 เพิ่มเติม ดังต่อไปนี้
1. ผลขาดทุนจกการด้อยค่าของเงินลงทุนในบริษัท นวดิศ 61.39 ล้านบาท ซึ่งตามรายละเอียอภาระหนี้ที่ติดมาจากการซื้อกิจการมีทั้งหมด
1.1 รายเป็นเงินรวมทั้งสิ้น 70,611,378.16 บาท
1.2 บริษัทฯ ทราบว่ามีหนี้สินดังกล่าวข้างต้น ตั้งแต่เริ่มเข้าไปเจรจาซื้อกิจการโดยมีเงื่อนไขว่าผู้ให้กู้จะยกหนี้ให้หลังจากที่มีการแลกหุ้นแล้ว
1.3 ในการจัดทำรายงานการประเมินมูลค่าหุ้นของบจ.นวดิศ ไม่มีการคำนวณรวมถึงภาระหนี้ดังกล่าวเนื่องจากในขณะนั้น กรรมการของ บจ.นวดิศ คาดว่าจะมีการยกหนี้ให้กับบริษัทฯ โดยการจัดทำรายงานการประเมินมูลค่าหุ้นของ บจ.นวดิศ มีบริษัทหลักทรัพย์ ไอ วี โกลบอลจำกัด (มหาชน) เดิมชื่อบริษัทหลักทรัพย์ อินเทลวิชั่น จำกัด (มหาชน) เป็นที่ปรึกษาทางการเงินนำเสนอมูลค่าที่คำนวณได้ต่อคณะกรรมการของบริษัทฯ เป็นผู้ตัดสินใจ ซึ่งในการประเมินมูลค่าหุ้นของ นวดิศ ที่ปรึกษาทางการเงินอาศัยข้อมูลจากงบการเงินที่มีอยู่ในขณะนั้นของบ นวดิศและข้อมูลเพิ่มเติมจากการสอบถามผู้บริหารบจ.นวดิศ เป็นหลักในการประเมินมูลค่าหุ้น
1.4 เหตุผลที่บริษัทตั้งด้อยค่าเงินลงทุนใน . นวดิศ ในไตรมาส 2 ปี 49 เนื่องจากว่าในการซื้อกิจการนี้มีหนี้สินอยู่จำนวนหนึ่งที่อยู่ระหว่างการเจรจาขอให้ทางผู้ถือหุ้นเดิมของ นวดิศ ยกเลิกสิทธิเรียกร้องความเป็นเจ้าหนี้ภายหลังจากการซื้อกิจการแล้ว ผู้สอบบัญชี เห็นว่า
หนี้ดังกล่าวอยู่ระหว่างการเจรจา ซึ่งยังไม่สามารถชี้ชัดได้ว่าจะเป็นผลสำเร็จหรือไม่ และหากต่อมาการเจรจาเป็นผลสำเร็จ พร้อมทั้งได้จัดทำข้อตกลงเรียบร้อยแล้ว ก็จะรับรู้เป็นรายได้กลับคืนมา นอกจากนี้ หากผลการดำเนินงานไม่เป็นไปตามที่ประมาณการไว้ บจ. นวดิศก็จะรับรู้ผลกำไร (ขาดทุน) จากการดำเนินงานที่แท้จริงในปีนั้นๆ
1.5 ความเห็นของคณะกรรมการบริษัทฯ นั้น คณะกรรมการมีหน้าที่รับผิดชอบในการจัดทำบัญชีให้เป็นไปตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไปซึ่งสำหรับรายการตั้งด้อยค่าเงินลงทุนในบจ. นวดิศนั้น เกิดจากคำแนะนำของผู้สอบบัญชีและคณะกรรมการบริษัทเห็นชอบกับคำแนะนำของผู้สอบบัญชี
1.6 ในการเข้าซื้อหุ้น นวดิศ บริษัท ฯมีข้อตกลงเกี่ยวกับการใช้สิทธิเรียกร้องต่อผู้ขายกรณีที่มีภาระหนี้สินหรือภาระผูกพันของ นวดิศและหรือบริษัทย่อยของ นวดิศว่า บริษัทฯจะไม่รับผิดชอบต่อภาระหนี้สินที่เกิดขึ้นก่อนหน้าการแลกหุ้นแล้ว หนี้สินที่มีอยู่จะเป็นความรับผิดชอบของผู้ถือหุ้นเดิมของบจ. นวดิศ
1.7 ความคืบหน้าในการเจรจากับผู้ถือหุ้นเดิมของ นวดิศ บริษัทฯได้รับการยกหนี้ให้บางส่วน คิดเป็นเงิน 36.0 ล้านบาท ส่วนที่เหลืออคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในหนึ่งปี
2. การติดตามเงินมัดจำค่าสถานีวิทยุและค่าเช่าสถานีจ่ายล่วงหน้า โดยเงินชำระคืนค่ามัดจำคลื่นวิทยุตามเช็คสำหรับเดือนพ.ค. และมิ.ย. 49 ทางบจ.บีเอ็นที เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ ได้ขอนำมาหักกลบกับค่าคลื่นวิทยุ FM 99.5 ที่บริษัทฯ ต้องจ่ายรายเดือนให้กับ บจ.บีเอ็นที เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ และจ่ายเช็คส่วนต่างที่เหลือจากการหักกลบฉบับละ 2,157,500 บาท 2 ฉบับ ลงวันที่ 7 มิ.ย. 49 และลงวันที่ 28 มิ.ย.49 ให้แก่บริษัทฯแต่ ธนาคารได้ปฏิเสธการจ่ายเงินเช็คทั้งสองฉบับ ส่วนของเดือนก.ค. และส.ค. 49 ซึ่งสั่งจ่ายเช็คเดือนละ 2 ฉบับ ๆ ละ 3,325,000บาทและ 3,400,000 บาท ลงวันที่ 27 และ 28 ตามลำดับ บริษัทฯ ได้นำเข้าเรียกเก็บตามปกติและได้ถูกธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน เช่นกัน บริษัทฯ ได้ทวงถามให้ บจ. เอ็นที เอ็นเตอร์เทนเมนท์ ชำระเงินตามเช็คทั้งหมด แต่ก็เพิกเฉยบริษัทฯ จึงได้ดำเนินคดีโดยร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน สถานีตำรวจพหลโยธิน แล้ว
3. ความคืบหน้าการต่อสัญญาของบริษัทแชนแนล(วี) (ประเทศไทย) จำกัด กับ บริษัท UBC โดย UBC ได้ขยายอายุสัญญาออกไปเรียบร้อยแล้ว และได้มีการเปลี่ยนคู่สัญญากับบริษัท UBC จาก บริษัท บรอดคาสติ้ง เน็ทเวอร์ค (ไทยแลนด์) เป็นบริษัท แชนแนล (วี) (ประเทศไทย) จำกัด รวมทั้งการจ่ายชำระค่าตอบแทนส่วนแบ่งรายได้จาก UBC ก็จะจ่ายตรงมาที่บจ. แชนแนล (วี) (ประเทศไทย) โดยตรง ไม่ผ่านบจ.บรอดคาสติ้งเน็ทเวอร์ค (ไทยแลนด์)อีกต่อไป
4. การยกเลิกสัญญาวิทยุจากผู้ให้เช่าสถานี
4.1 บริษัทย่อย คือบริษัท บีเอ็นที เรดิโอ จำกัด หรือบริษัท ไลฟ์ เรดิโอ จำกัด ซึ่ง BNT ถือหุ้น 97.5% ของหุ้นจดทะเบียนทั้งหมด
4.2 ผู้ให้เช่าสถานี คือ บจ.เอ็นที เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ ดำเนินธุรกิจด้านรับจ้างโฆษณาทางสถานีโทรทัศน์ และสถานีวิทยุกระจายเสียง มีรายชื่อผู้ถือหุ้น ณ วันที่ 2 สิงหาคม 48 ดังนี้คือนายภัทราวุธ หอมสะอาด 64,400 หุ้น นางชุติมณฑน์ หอมสะอาด 2,500 หุ้น นายศักดา ทองพุฒ 1,500 หุ้น นางสาวปราณี ศรีวุฒิชาติ 600 หุ้น นางสาวยุพา วิตรานันท์ 600 หุ้น ซึ่งรายการนี้ไม่ใช่รายการที่เกี่ยวโยงกัน
4.3 จ่ายชำระค่าสถานีล่วงหน้าจำนวนเงิน 20,400,000 บาท หักเงินตัดจ่ายรายเดือนที่บริษัทย่อยใช้คลื่นตั้งแต่เดือนต.ค. 48 ถึงเดือนก.ค. 49 เดือนละ 850,000 บาท เป็นเงิน 8.5 ล้านบาท คงเหลือเงินล่วงหน้าจ่ายคืน 11.90 ล้านบาท บริษัท เอ็นที เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ ตกลงผ่อนชำระพร้อมดอกเบี้ยให้แก่บริษัทย่อยเป็น 6 งวด เริ่ม วันที่ 18 ก.ย. 49 ถึง 18 ก.พ. 50
4.4 ปัจจุบันบริษัทฯและบริษัทย่อยไม่มีช่องทางออกอากาศรายการวิทยุคลื่นใดและขณะนี้อยู่ระหว่างการจัดทำแผนธุรกิจ
5. เงินทดลองจ่ายและเงินให้กู้ยืมแก่บริษัทที่เกี่ยวข้อง โดยบีเอ็นทีได้ยื่นฟ้องต่อศาลแพ่งกรุงเทพใต้ ดังนี้ บริษัท บรอดคาสติ้ง เน็ทเวอร์ค (ไทยแลนด์) จำกัด จำเลย คดีหมายเลขดำที่ 6617/2549 เรื่องผิดสัญญารับสภาพหนี้ ทุนทรัพย์ฟ้อง 11,541,288.48 บาท
ศาลนัดพิจารณาชี้สองสถาน วันที่ 30 ตุลาคม 2549 คดีอยู่ระหว่างส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลย
บริษัท พาโนราม่า ดอดคิวเมนทารี่ จำกัด จำเลย คดีหมายเลขดำที่ 6616/2549 เรื่องผิดสัญญารับสภาพหนี้ สัญญาเช่า เงินยืม ทุนทรัพย์ฟ้อง 5,872,156 บาท ศาลนัดพิจารณาชี้สองสถาน วันที่ 30 ตุลาคม 2549 คดีอยู่ระหว่างส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลย
|