Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน11 กันยายน 2549
เอกชนอ่วมเจอกระดาษนำเข้าทะลัก ส.อ.ท.จี้รัฐลดภาษีอะไหล่เครื่องจักร             
 


   
search resources

Pulp and Paper
เชาวลิต เอกบุตร




ส.อ.ท.ร้องรัฐทบทวนลดภาษีนำเข้ากระดาษสิ่งพิมพ์ใหม่ หลังเปิดอ้าซ่าจนยอดนำเข้ากระดาษพุ่ง ผู้ผลิตในประเทศอ่วมเจอต้นทุนค่าน้ำมันขึ้นแต่รัฐไม่เอื้อภาษีอะไหล่เครื่องจักร แถมกระดาษบางประเภทเจอลดภาษีนำเข้าด้วย จวกนโยบายรัฐแก้ไม่ถูกจุด ชี้ลดภาษีกระดาษไม่ทำให้ราคาหนังสือไม่ถูกลง

นายเชาวลิต เอกบุตร ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมเยื่อและกระดาษ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) และกรรมการผู้จัดการใหญ่บริษัท เยื่อกระดาษสยาม จำกัด (มหาชน)ในเครือ บมจ.ซิเมนต์ไทย เปิดเผยว่า ทางกลุ่มอุตสาหกรรมเยื่อและกระดาษเตรียมยื่นหนังสือขอให้รัฐทบทวนการประกาศลดภาษีนำเข้ากระดาษใช้ในสิ่งพิมพ์เหลือ 0%ใหม่ และปรับลดอัตราภาษีนำเข้าอะไหล่เครื่องจักรจากปัจจุบันที่เก็บภาษีอยู่ 5-20% เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถผลิตสินค้าแข่งขันกับกระดาษนำเข้าได้ หลังจากรัฐได้มีการปรับลดภาษีนำเข้ากระดาษสิ่งพิมพ์เหลือ 0%เมื่อต้นปี2549

โดยก่อนที่รัฐจะประกาศปรับลดภาษีนำเข้ากระดาษใช้ในสิ่งพิมพ์นั้น ทางส.อ.ท.เคยเรียกร้องให้รัฐดูแลไม่ให้ผู้ประกอบการไทยเสียเปรียบประเทศอื่นๆ รวมทั้งควรลดภาษีเฉพาะกระดาษที่ไม่มีผลิตในประเทศ แต่การปรับลดภาษีนำเข้าดังกล่าว ปรากฎว่ามีกระดาษบางประเภทที่ไม่ควรอยู่ในข่าย อาทิ กระดาษที่มีคาร์บอนในตัว และกระดาษแข็งที่ใช้บรรจุภัณฑ์ถูกลดภาษีนำเข้าเหลือ 0%ไปด้วย ทำห้ผู้ประกอบการเดือดร้อน ซึ่งรัฐควรพิจารณาปรับขึ้นภาษีไปอยู่ที่ระดับเดิม ซึ่งที่ผ่านมา ทางมาเลเซียก็เคยช่วยเหลือผู้ผลิตกระดาษในประเทศโดยปรับขึ้นอัตราภาษีนำเข้ากระดาษพิมพ์เขียน 5%จากที่ลดเหลือ0%ในปี2548

ปัจจุบัน โรงงานกระดาษก็ประสบปัญหาต้นทุนพลังงานที่เพิ่มสูงขึ้น แต่ไม่สามารถปรับราคาขายได้ เนื่องจากกระดาษถือเป็นสินค้าควบคุม และมีการแข่งขันรุนแรงทั้งกระดาษภายในประเทศและนำเข้า รวมทั้งรัฐเก็บภาษีนำเข้าอะไหล่เครื่องจักร ทำให้ผู้ประกอบการไทยต้องแบกรับภาระค่อนข้างสูงกว่าคู่แข่งอย่างญี่ปุ่นและอียู

" จุดประสงค์การปรับลดภาษีนำเข้ากระดาษเพื่อส่งเสริมให้สิ่งพิมพ์มีราคาถูกลง แต่เท่าที่ทราบไม่เห็นว่าอุตสาหกรรมสิ่งพิมพ์จะโตขึ้น และราคาหนังสือถูกลง ก่อนหน้านี้เคยชี้แจงต่อรัฐแล้วว่าต้นทุนกระดาษไม่ใช่ต้นทุนใหญ่ของสิ่งพิมพ์ แต่ต้นทุนที่แท้จริง คือการจัดจำหน่ายและค่าขนส่ง ขณะที่ตัวเลขการนำเข้ากระดาษมีอัตราเพิ่มสูงขึ้นจากมาตรการลดภาษีดังกล่าว ทำให้รัฐต้องสูญเสียรายได้ ถือว่าเป็นการแก้ปัญหาไม่ถูกจุด"

ส่วนกรณีที่ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ได้ปรับลดภาษีนำเข้ากระดาษและสิ่งพิมพ์ให้กับไทยภายใต้กรอบความตกลงการค้าเสรี (FTA)เหลือ 0% นายเชาวลิต กล่าวว่า กลุ่มอุตสาหกรรมเยื่อและกระดาษคงไม่ได้ประโยชน์มากนัก เนื่องจากปัจจุบันไทยมีการส่งออกกระดาษไปออสเตรเลียน้อยมาก แต่เชื่อว่าระยะยาวไทยอาจจะส่งออกกระดาษเกรดพิเศษไปออสเตรเลียมากขึ้น

เนื่องจากออสเตรเลียก็มีโรงงานกระดาษภายในประเทศอยู่แล้ว ทั้งนี้ เครือซิเมนต์เคยส่งออกกระดาษไปออสเตรเลียไม่มากในช่วง 1-2 ปี แต่ปีนี้ไม่มีการส่งออกไปประเทศดังกล่าว

นายเชาวลิต กล่าวถึงผลกระทบจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้นว่า บริษัทฯได้มีการเตรียมการในเรื่องนี้มาเป็นเวลา 2ปีแล้วโดยโรงงานกระดาษคราฟท์ในฟิลิปปินส์ และโรงงานของไทยเคนเปเปอร์ ในเครือเครือซิเมนต์ไทยได้มีการปรับปรุงบอยเลอร์จากเดิมใช้น้ำมันเตาเป็นถ่านหินแทนแล้วเสร็จในปีนี้ ทำให้ประหยัดค่าเชื้อเพลิงประมาณ 600 ล้านบาท   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us