Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน11 กันยายน 2549
ฮุบเรียบ "สุวรรณภูมิ" คิงพาวเวอร์คว้าพื้นที่เพิ่มเท่าตัว             
 


   
search resources

Commercial and business
คิง เพาเวอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล, บจก.
Airport




”คิงเพาเวอร์” เจ้าของสุวรรณภูมิตัวจริง พบคว้าสิทธิบริหารเบ็ดเสร็จพื้นที่ ดิวตี้ฟรี-เชิงพาณิชย์ที่งอกเพิ่มจากข้อตกลงในสัญญาอีกเท่าตัว ด้านทอท.เตรียมทำสัญญาแนบท้ายพื้นที่ส่วนเพิ่มให้ ขณะที่”วิชัย”ยันประมูลมาอย่างถูกต้อง พร้อมเจรจาจ่ายผลตอบแทนเพิ่มให้ทอท. แต่ต้องเป็นธรรมเพราะมีพื้นที่ที่ต้องลงทุนแต่ไม่มีรายได้ด้วย ขณะที่ ทอท. หวั่นกระทบความสะดวกผู้โดยสาร เหตุพื้นที่เหลือเกือบตกมาตรฐานแล้ว ยันขยายเพิ่มไม่ได้แล้ว เผย 27 สายการบินต้องจำใจตั้งสำนักงานนอกอาคารเหตุไม่มีที่เหลือแล้ว

แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคม เปิดเผยถึงกรณีที่กลุ่มบริษัท คิงเพาเวอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ชนะการประมูลในการบริหารจัดการพื้นที่เชิงพาณิชย์ภายในอาคารผู้โดยสารและอาคารเทียบเครื่องบินท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ พื้นที่ประมาณ 20,000 ตารางเมตร และเป็นผู้รับผิดชอบให้บริการร้านค้าปลอดภาษี (ดิวตี้ฟรี) ภายในสนามบินพื้นที่ 5,000 ตารางเมตรเป็นเวลา 10 ปี ว่า จากการตรวจสอบขณะนี้พบว่า ได้มีการขยายพื้นที่เพิ่มขึ้นจากที่ได้ลงนามในสัญญาอีกเกือบเท่าตัว หรือเป็น 40,000 ตารางเมตร โดยอ้างว่าในสัญญาที่ลงนามมีการเปิดช่องให้มีการขยายพื้นที่เพิ่มได้ ซึ่งถือว่าไม่เป็นธรรมกับผู้ที่เข้าร่วมประมูล และถูกมองว่ามีการเอี้อประโยชน์ให้กับเอกชนได้เพราะหากเอกชนรายอื่นรู้ว่าขยายพื้นที่เพิ่มได้ อาจเสนอเงื่อนไขผลตอบแทนให้กับ ทอท.สูงกว่าได้

ทั้งนี้ ในร่างทีโออาร์เชิญชวนเอกชนเข้าร่วมประมูล กำหนดว่าพื้นที่กิจกรรมเชิงพาณิชย์มีประมาณ 2 0,000 ตารางเมตร มีการกำหนดรายละเอียดตำแหน่งและขนาดของพื้นที่ระบุชัดเจน ซึ่งไม่รวมพื้นที่ร้านค้าปลอดภาษีและพื้นที่สำหรับกิจกรรมของหน่วยราชการ ส่วนผล
ประโยชน์ตอบแทนจะคิดจากส่วนแบ่งรายได้จากการขายสินค้าและบริการภายในพื้นที่ทั้งหมด ในอัตราร้อยละ 15 และค่าตอบแทนเป็น
เงินประกันขั้นต่ำ แต่ภายหลังจากที่ คิวเพาเวอร์ ได้เข้ามาตกแต่งพื้นที่ได้มีการขยายเพิ่มขึ้น

“ศรีสุข”เตรียมสำรวจทำแนบท้ายสัญญา

นายศรีสุข จันทรางศุ ประธานคณะกรรมการ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. กล่าวว่า เรื่องพื้นที่เชิงพาณิชย์ภายในอาคารผู้โดยสารและอาคารเทียบเครื่องบินของสนามบินสุวรรณภูมิส่วนที่เพิ่มขึ้นนั้น ขณะนี้ยังระบุไม่ได้ว่ามีจำนวนเท่าใด แต่หลังจากการดำเนินการตกแต่งพื้นที่ภายในเรียบร้อยแล้ว จะต้องมีการสำรวจอีกครั้งและพื้นที่ส่วนเพิ่มก็คงมีการเจรจากับทางบริษัทอีกครั้งและทำเป็นแนบท้ายในสัญญาเพิ่มเติม

ด้านนายสมชัย สวัสดิผล ผู้อำนวยการท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ กล่าวว่า ขณะนี้ทราบเพียงว่า พื้นที่เชิงพาณิชย์ของคิงเพาเวอร์มีอยู่ประมาณ 28,000 ตารางเมตร ซึ่งผลตอบแทนที่ทอท.ได้รับมี 2 ส่วนคือ ค่าเช่า และยอดขายซึ่งมีการรับประกันขั้นต่ำไว้ ส่วนรายละเอียดทั้งหมดจะขึ้นอยู่กับการพิจารณาและตัดสินของคณะกรรมการพิจารณารายได้เชิงพาณิชย์ ที่มีนายศรีสุข เป็นประธาน

อย่างไรก็ตาม ทอท.จะต้องพิจารณาการใช้พื้นที่เพื่ออำนวยความสะดวกกับผู้โดยสารตามมาตรฐานการให้บริการ (Level of Service) ซึ่งกำหนดไว้ว่า พื้นที่ของอาคารผู้โดยสารและอาคารเทียบเครื่องบินสำหรับอำนวยความสะดวกจะต้องไม่ต่ำกว่า 2.75 ตารางเมตรต่อคน ซึ่งขณะนี้ พื้นที่ส่วนนี้อยู่ที่เฉลี่ยประมาณ 3 ตารางเมตรต่อคน โดยคิดที่จำนวนผู้โดยสารที่45 ล้านคนต่อปีแล้ว ซึ่งเท่ากับว่า จะไม่สามารถขยายพื้นที่ในเชิงพาณิชย์ได้อีกแล้ว เพราะจะกระทบต่อมาตรฐาการบริการได้

“วิชัย”ยืนยันจ่ายผลตอบแทนตามเกณฑ์

ด้านนายวิชัย รักศรีอักษร ประธานกรรมการบริหาร กลุ่มบริษัทคิงเพาเวอร์ ยอมรับว่า มีการปรับพื้นที่เพิ่มขึ้น แต่ยังไม่สามารถระบุจำนวนที่ชัดเจนได้เพราะต้องมีการสรุปอีกครั้ง หลังจากที่การตกแต่งร้านค้าแล้วเสร็จ คาดว่าก่อนวันที่ 28 ก.ย. 2549 นี้ และจะมีการเจรจากับ ทอท. เพื่อกำหนดเงื่อนไขแนบท้ายสัญญาในส่วนของพื้นที่ที่เพิ่มขึ้นอีกครั้ง โดยในเบื้องต้นส่วนของร้านค้าปลอดภาษี ซึ่งพื้นที่เดิมกำหนดไว้ที่ 5,000 ตารางเมตร ได้เพิ่มอีกประมาณ 3,000 - 4,000 ตารางเมตร ส่วนพื้นที่เชิงพาณิชย์ จาก 20,000 ตารางเมตร เพิ่มเป็น 26,000 -28,000 ตารางเมตร ซึ่งการจ่ายค่าตอบแทนแบ่งเป็น 2 ส่วน คือส่วนที่เป็นการประกันรายได้ขั้นต่ำ และส่วนที่ต้องแบ่งรายได้ 15 % ของการขายสินค้าและบริการให้ ทอท.

ทั้งนี้ การบริหารพื้นที่ภายในสนามบิน ทางบริษัทไม่ได้คำนึงว่าจะต้องสร้างผลกำไรเพียงอย่างเดียว เพราะยังมีพื้นที่บางส่วนที่ไม่ได้นำมาทำประโยชน์เชิงพาณิชย์ เช่น บริเวณที่ตั้งของประติมากรรมกวนเกษียรสมุทร และด้านหลังยังเป็นพื้นที่สำหรับพิพิธภัณฑ์ ส่วนนี้จะต้องหารือกับ ทอท.เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมกับทั้งสองฝ่ายว่า การคิดผลตอบแทนจากพื้นที่ปรับเพิ่มอย่างไร ซึ่งในหลักการ การคิดผลตอบแทนเพิ่มคงไม่สามารถเทียบเท่ากับจำนวนพื้นที่ที่เพิ่มขึ้นได้ แต่จะต้องคิดว่า พื้นที่เพิ่มขึ้นนั้นสามารถขายสินค้าและบริการเพิ่มด้วยหรือไม่ หรือเป็นการทำเพื่อประโยชน์สาธารณะที่ไม่มีรายได้ จึงจะเหมาะสม ซึ่งในส่วนนี้ ทอท.สามารถตรวจสอบได้

“ วันนี้จะบอกว่าพื้นที่เพิ่มขึ้นนั้นคงต้องไปดูของจริงว่าเพิ่มเท่าใด และทำให้รายได้เพิ่มเท่าใด สามารถคำนวณได้ แต่หากจะคิดผลตอบแทนตามพื้นที่คงต้องมาคุยกัน เพราะสิ่งที่ผมลงทุนไปนั้นได้ทำประโยชน์ให้กับสุวรรณภูมิหรือเปล่า ค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น งบบานปลายจากข้อจำกัดของเวลาที่ต้องเร่งรัดโครงการ ผมต้องรับผิดชอบทั้งหมด “ นายวิชัยกล่าว

ประธานกลุ่มคิงเพาเวอร์ กล่าวว่า เนื่องจากผู้ออกแบบสนามบินได้ออกแบบเพื่อรองรับให้ผู้โดยสารที่เข้ามาในสนามบินจะต้องผ่านออกไปโดยเร็ว โดยไม่ได้คำนึงถึงพื้นที่เชิงพาณิชย์ จึงได้มีการเจรจากับทางทอท.ให้เข้าใจว่าการแข่งขันทางธุรกิจการบินจะต้องมีการแข่งขันทาง ด้านบริการและสิ่งอำนวยความสะดวกให้กับผู้โดยสารที่ต้องการความสะดวกสบาย และไม่ได้เป็นการบังคับผู้โดยสาร รวมทั้งสายการบินก็ไม่ได้รับผลกระทบในส่วนนี้ จึงได้ร่วมกับ ทอท.ในการกำหนดรูปแบบและวางเลย์เอาท์การใช้พื้นที่ภายในใหม่ โดยศึกษาจากประสบการณ์ของประเทศเพื่อนบ้านด้วย

ชี้พื้นที่ไม่สมบูรณ์ต้นทุนตกแต่งบานปลาย

นอกจากนี้ นายวิชัยกล่าวว่า พื้นที่ที่ทางคิงเพาเวอร์ได้รับมอบนั้น มีหลายส่วนที่มีปัญหา มีพื้นที่เป็นหลุมบ่อต้องแก้ไข หรือการติดตั้งโครงเหล็กเปิดปิด ต้องมีการรื้อย้ายใช้งบสูงถึง17 ล้านบาท ซึ่งภาระการลงทุนต่างๆ ประกอบกับมีข้อจำกัดของเวลา ทำให้บริษัทมีภาระต้นทุนเพิ่มขึ้น และในส่วนที่เพิ่มก็ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อความสะดวกสบายของผู้โดยสาร แต่เป็นการรองรับความต้องการของผู้โดยสาร เพราะบางพื้นที่ก็ไม่ได้ทำประโยชน์ได้มาก เช่น ร้านอาหาร ร้านสะดวกซื้อ หรือตัวอย่างพื้นที่บริเวณซิตี้การเด้น ที่ทำเป็นร้านอาหารเพื่อรองรับผู้โดยสารภายในประเทศนั้นเป็นข้อจำกัดของพื้นที่ ต้องใช้งบลงทุนถึง 300 ล้านบาท เพื่อให้รูปแบบมีความกลมกลืนและเป็นมาตรฐานสากล

อย่างไรก็ตาม บริษัทฯได้โครงการนี้ได้มาตามขั้นตอนการประมูล ที่ทางบริษัทเสนอผลตอบแทนสูงและผ่านการพิจารณา ซึ่งข้อตกลงในสัญญา ในส่วนที่เป็นร้านค้าปลอดภาษี มีพื้นที่ 5,000 ตารางเมตร การจ่ายผลตอบแทนขั้นต่ำจะคำนวณจากคาดการณ์ปริมาณผู้โดยสารในปี 2550 ซึ่งทางบริษัทได้เสนอผลตอบแทนปีแรกที่ 1,200 ล้านบาท ซึ่งหมายความว่าประมาณการยอดขายของดิวตี้ฟรีต้องได้ถึง 8,000 ล้านบาท ดังนั้นการเพิ่มจำนวนพื้นที่จึงไม่ได้หมายความว่า จำนวนของที่ขายจะต้องเพิ่มขึ้นด้วย ยังไม่รวมภาระการลงทุนที่บริษัทต้องแบกรับสต๊อกสินค้า เพื่อรองรับผู้โดยสารทั้งรันเวย์ฝั่งตะวันออกและตะวันตก ส่วนค่าตบแต่ง ออกแบบร้านค้า และสถานที่ทางบริษัทต้องรับผิดชอบทั้งหมด

ส่วนที่ทำให้พื้นที่เพิ่มขึ้นนั้น นายวิชัย กล่าวว่า เนื่องจากการออกแบบเดิมไม่ได้คำนึงถึงพื้นที่ที่จะอำนวยความสะดวกให้กับผู้โดยสารที่เข้ามารับส่งภายในสนามบิน โดยเฉพาะร้านสะดวกซื้อ ร้านขายยาหรือร้านขายหนังสือ จะต้องอยู่ในพื้นที่ที่ดีที่สุดและมองเห็นได้ง่าย รวมทั้งภาระการออกแบบ ในขณะที่ผลตอบแทนจากร้านเหล่านี้ก็ไม่เกิน 7% แต่ต้องจ่ายให้ ทอท. 15 % ซึ่งบริษัทต้องรับภาระขาดทุนทันที 8 % แต่ในทางปฏิบัติก็ต้องไปคำนวณกับส่วนที่ได้กำไรมากกว่าเพื่อคละกัน

นอกจากนี้ นายวิชัย กล่าวอีกว่า ทางบริษัทได้ยื่น Proposal ข้อเสนอขอใช้พื้นที่ 28,000 ตารางเมตร แต่พื้นที่เชิงพาณิชย์ที่ได้รับอนุมัติ 20,000 ตารางเมตรที่ระบุในสัญญากำหนดไว้ว่ามีสิทธิที่จะเสนอขอใช้พื้นที่มากกว่า 20,000 ตารางเมตรได้ หากเห็นว่าเหมาะสมและเป็นประโยชน์กับผู้โดยสาร

27สายการบินไม่มีที่ตั้งสนง.

อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ผู้ประกอบการสายการบินส่วนหนึ่ง ประมาณ 40% หรือ 27 สายการบิน ไม่มีพื้นที่สำหรับสำนักงานภายในอาคารผู้โดยสาร ขณะที่สนามบินดอนเมือง สำนักงานของสายการบินทั้งหมดจะอยู่ภายในอาคารผู้โดยสารทั้งที่พื้นที่อาคารผู้โดยสารของดอนเมืองมีเพียง 321,166 ตารางเมตร ส่วนสุวรรณภูมิมีถึง 563,000 ตารางเมตร โดย ทอท.ให้เหตุผลว่า พื้นที่ภายในอาคารผู้โดยสารส่วนใหญ่จะใช้สำหรับร้านค้าปลอดภาษีและกิจกรรมเชิงพาณิชย์ ซึ่ง คิงเพาเวอร์ เป็นผู้รับสัมปทาน   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us