สามปีหลังจากเกิดภาวะวิกฤตเศรษฐกิจในเอเชีย ต้องนับว่าขณะนี้สภาพเศรษฐกิจยังอยู่ในช่วงอาฟเตอร์ช็อคทางการเมืองหากพิจารณา
ที่ผู้นำประเทศในภูมิภาคนี้ นักลงทุนจึงกำลังพยายามคาดการณ์ว่าความผันผวนทางการเมืองจะนำไปสู่วังวนปัญหาทางการเมืองอีกรอบหรือไม่
หรือสภาพการณ์ดังกล่าวจะเป็นบทนำไปสู่การสร้างรัฐบาล ที่แข็งแกร่งกว่าเดิมกันแน่
สัญญาณต่างๆ ที่ปรากฏในช่วง ที่ผ่านมาดูไม่มีทีท่าว่าจะดีขึ้น เริ่มตั้งแต่นายกรัฐมนตรีโยชิโร
โมริ ของญี่ปุ่น ที่เพิ่งถูกสภาไดเอทลงมติไม้ไว้วางใจ ทำให้ต้องมีการเปลี่ยนตัวนายกรัฐมนตรีใหม่
แต่กระนั้น ก็คงไม่ทำให้พรรคแอลดีพี ซึ่งเป็นพรรครัฐบาลดำเนินการในทางปฏิรูป ที่เอาจริงเอาจังมากขึ้นกว่าเดิมมากนัก
ที่อินโดนีเซีย ประธานาธิบดีอับดุลเราะห์มาน วาฮิด ก็อยู่ในสภาพซวนเซจากวิกฤตการณ์ในประเทศ และเรื่องอื้อฉาวจนมีเสียงเรียกร้องให้เขาลาออกเช่นกัน
ประธานาธิบดีเฉินซุ่ยเปียนกำลังมีปัญหาในเรื่องการระงับโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ ซึ่งมีข่าวว่าพัวพันกับการให้เงินช่วยเหลือประธานาธิบดี
สำหรับในไทย นายกรัฐมนตรีชวน หลีกภัย ก็มีทีท่าว่าอาจจะไม่ชนะการเลือกตั้งในต้นปีหน้า
แม้ว่าจะสร้างชื่อในแง่การไม่คอรัปชัน และนำประเทศให้ฟื้นคืนจากวิกฤตได้อย่างมากก็ตามที
สภาพการณ์ ที่ไร้ทิศทางทางการเมืองเช่นนี้ได้ขัดขวางไม่ให้ภูมิภาคเอเชียรับมือได้เต็มที่กับผลพวง ที่ยังค้างคาจากวิกฤตเศรษฐกิจ
วิกฤตธนาคาร ที่เกิดในญี่ปุ่นกำลังเกิดขึ้นเช่นกัน ที่ไต้หวัน กลุ่มบริษัท ที่มีอำนาจทางการเมืองในไทยกำลังดิ้นรนให้พ้นจากภาวะล้มละลาย และ และเข้าไปพัวพันกับเงินทุนของธนาคารโดยปฏิเสธ ที่จะชำระหนี้
ที่อินโดนีเซีย ระบอบการปกครองภายใต้การนำของวาฮิดดูเหมือนไม่สามารถขายกิจการธนาคาร ที่ยึดไว้ได้
อีกทั้งไม่สามารถทำให้กองทัพลดบทบาทลง และยิ่งไม่อาจจัดการกับปัญหากลุ่มเคลื่อนไหวแบ่งแยกดินแดนด้วย
คำสัญญา ที่จะขายหุ้นกิจการที่รัฐถือครองอยู่ไม่ว่าจะเป็นกิจการด้านเหมืองแร่
ไปจนถึงด้านโทรคมนาคมจึงเป็นเพียงสัญญาเลื่อนลอย
ยิ่งกว่านั้น การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในประเทศหล่านี้กำลังชะลอตัวลง
ในฟิลิปปินส์ ประธานาธิบดีโจเซฟ เอสตราดากำลังต่อสู้กับข้อกล่าวหาต่างๆ ขณะที่การลงทุนได้ลดลงจากระดับสูงสุด ที่
1.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 1998 มาอยู่ ที่เพียง 120 ล้านดอลลาร์ในครึ่งแรกของปีนี้
ตัวเลขดังกล่าวใกล้เคียงกับยอดการลงทุน ที่ถอนออกจากอินโดนีเซียราว 1.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
ในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ เปรียบเทียบกับการลงทุน ที่เข้าไปในประเทศถึงกว่า
6 พันล้านดอลลาร์ในปี 1995 ขณะเดียวกัน ตลาดหุ้นส่วนใหญ่ในเอเชียก็ดิ่งลงอย่างหนัก
ไม่ว่าจะเป็นในไทยอินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ ที่ลดลงราว 40% ในช่วง 10 เดือนแรกของปีนี้
สำหรับในไทยนั้น "ไม่ว่าใครจะชนะการเลือกตั้ง ปัญหา ที่มีอยู่ก็จะยังแก้ไขได้ยากอยู่ดี"
ศาสตราจารย์ด้านรัฐศาสตร์รายหนึ่งจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้ความเห็น และเสริมว่าไทยยังไม่ได้แก้ไขปัญหา ที่เป็นผลจากวิกฤตเศรษฐกิจได้เต็มที่
โดยเฉพาะในเรื่องหนี้เอ็นพีแอล และการคอรัปชัน ที่เป็นปัญหาเรื้อรัง
สายโซ่ของวิกฤตเหล่านี้ย้ำให้เห็นระบบการเมืองอันอ่อนแอ ที่นักการเมืองแนวปฏิรูปอย่างอับดุลเราะห์มาน
วาฮิด และชวน หลีกภัย รับช่วงต่อมาจากผู้นำการเมืองรุ่นก่อน เอเชียยังเป็นภูมิภาค ที่พึ่งพาผู้นำ ที่เป็นตัวบุคคลอยู่มากกว่าสถาบัน
และมีบ่อยครั้ง ที่ความขัดแย้งระดับบุคคลกลายมาเป็นความขัดแย้ง ที่กระทบถึงเสถียรภาพทางการเมือง
แต่กระนั้น ก็เป็นไปได้ ที่ความวุ่นวายทางการเมืองเหล่านี้จะเป็นบทนำไปสู่ยุคที่การเมืองมีเสถียรภาพมากขึ้น
การสร้างสถาบันการเมือง ที่มั่นคงต้องอาศัยระยะเวลาเช่นกัน ผู้นำการเมืองรุ่นใหม่อย่างวาฮิด และชวนต้องต่อสู้กับกลุ่มผลประโยชน์ ที่มีอิทธิพลอีกมาก
นักการเมืองทั้งสองรวมทั้งนักการเมืองแนวปฏิรูปอย่างคิม แด จุงแห่งเกาหลีจะเป็นเครื่องชี้ให้เห็นว่าเอเชียต้องการการปรับโครงสร้างอย่างแท้จริง
ผู้นำอย่างคิมได้สร้างความก้าวหน้าบางประการโดยการเปิดประตูทางเศรษฐกิจ และปรับปรุงระบบการเงิน
ขณะที่ประธานาธิบดีเฉินแห่งไต้หวันกำลังจัดการกับคอรัปชันอย่างถูกแนวทางอยู่
ดังนั้น ผู้นำการเมืองเหล่านี้อาจกำลังจะวางรากฐานสำหรับระบอบการเมือง ที่มีประสิทธิภาพ และแข็งแกร่งขึ้นกว่าเดิมก็เป็นได้
แต่นักการเมืองเอเชียต้องใช้เวลาอีกนานเท่าไรจึงจัดการทุกอย่างให้เข้า ที่ได้
ลองนึกสภาพการณ์ว่า หากเศรษฐกิจสหรัฐฯ และยุโรปเริ่มชะลอตัวในช่วงครึ่งปีหลังของปีหน้า
ยอดส่งออกของเอเชีย ที่ย่ำแย่อยู่ก็จะดิ่งเหว การเติบโตระดับภูมิภาคจะหยุดชะงัก
และธนาคารของเอเชีย ซึ่งไม่เคยปรับปรุงอย่างจริงจังหลังจากเกิดวิกฤตเศรษฐกิจก็จะมีสภาพย่ำแย่ลงไปกว่าเดิมอีก
เป็นการยาก ที่จะจินตนาการถึงผลพวง ที่จะเกิดขึ้นจากการนำของผู้นำเอเชียในปัจจุบัน
ผู้นำทางการเมืองในเอเชียมักกล่าวถึงการสร้างสิ่งที่ดีขึ้น เพื่อประชาชนของตน
แต่การณ์อาจกลับเป็นว่าประชาชนได้รับสิ่งที่แย่ลงกว่าเดิมก็ได้
เรียบเรียงจาก Business Week, 4 ธันวาคม 2543