Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์11 กันยายน 2549
"แบรนด์ไทย"เป็นได้ทั้ง"จุดอ่อนจุดแข็ง"ไทยประกันชีวิตโหมสร้างตลาดจากแรงศรัทธา             
 


   
www resources

โฮมเพจ เมืองไทยประกันชีวิต

   
search resources

เมืองไทยประกันชีวิต, บจก.
ไชย ไชยวรรณ
Insurance
Branding




ถ้าธุรกิจประกันชีวิตเจ้าอื่น จงใจจะใช้ลูกเล่นที่มีสีสัน ในลักษณะตลก ขบขัน สนุกสนาน เพื่อสร้างการจดจำในแบรนด์ เห็นทีหลักการเดียวกันนี้จะใช้ไม่ได้กับ "ไทยประกันชีวิต" เพราะ"ไชย ไชยวรรณ" แม่ทัพแบรนด์ไทยที่เหลืออยู่ ท่ามกลางวงล้อมคู่อริจากโลกตะวันตก เลือกที่จะมองธุรกิจประกันชีวิตเป็นเรื่อง "ซีเรียส" ภาพยนตร์โฆษณาที่ผ่านมาหลายเรื่องจึงค่อนข้างสร้างความสะเทือนใจ และแสดงให้เห็นถึงคุณค่าชีวิต เพราะในขณะที่แบรนด์ไทยเป็นทั้งจุดอ่อนและจุดแข็ง การสร้างตลาดจากความเชื่อและแรงศรัทธา จึงเป็นหนทางและกลยุทธ์หลักที่จะต่อกรกับกองทัพต่างชาติได้อย่างสมน้ำสมเนื้อ...

ไชย ไชยวรรณ กรรมการผู้จัดการ ไทยประกันชีวิต มองเห็น "จุดอ่อน" ของธุรกิจประกันชีวิตที่มีมาตั้งแต่แรกในสายตาของผู้บริโภคคนไทยก็คือ "แบรนด์ไทย" ที่ดูยังไงก็เทียบชั้นไม่ได้กับ "แบรนด์สากล"

แต่ในที่สุดก็เชื่อมั่นว่าถ้าสร้างความเชื่อใหม่ให้ "แบรนด์ไทย" ให้กลายเป็น "จุดแข็ง" ผ่านทางภาพยนตร์โฆษณา โดยตอกย้ำอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง โดยการเล่าเรื่องราวที่บอกถึงคุณค่าชีวิต เสมือนหนึ่งเพื่อนที่คุ้นเคย การแสดงที่สื่อถึงอารมณ์ ตรึงในใจผู้ชม ก็อาจจะเปลี่ยนจาก "จุดอ่อน" มาเป็น "จุดแข็ง" ได้ไม่ยาก

การทุ่มเททำตลาดของ "ไชย" จึงเน้นหนักไปที่หลักการทำกิจกรรมเพื่อสังคม (CSR : Corporate Social Responsibilities) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างแบรนด์ไทยประกันชีวิต แบรนด์คนไทย ที่เหลืออยู่ไม่กี่รายที่ตกอยู่ท่ามกลางวงล้อมศัตรูจากโลกตะวันตก

" การสร้างแบรนด์ ก็คือการสร้างความเชื่อมั่นให้กับบริษัทว่า เราสามารถแข่งขันกับคู่ต่อสู้จากต่างประเทศได้"

ตลอดเวลาที่มีการตอกย้ำความเป็นไทยใส่ไปในภาพยนตร์โฆษณาถือว่าสำเร็จในสายตาของ "ไชย" เหตุผลหลักคือทำให้ผู้คนเข้าใจแนวคิดที่สื่อออกไป หนังโฆษณาหลายเรื่องจึงได้รับรางวัลทั้งในและต่างประเทศ อาจเรียกได้ว่าเลื่อนขึ้นมาเทียบเท่าแบรนด์ระดับสากล หรือยืนอยู่ในแถวหน้าของแบรนด์ในประเทศ

ไชย ยอมรับว่า หนังทุกเรื่องก็คือการสร้างแบรนด์ ที่จะมุ่งไปที่คุณค่าชีวิตหรือ Value of Life เสมือนไทยประกันชีวิตเป็นเพื่อนที่คุ้นเคย ทำให้ทุกคนตั้งหน้าตั้งตารอดูหนังเรื่องใหม่ ที่จะมีออกมาทุกปี โจทย์ต่อไปจึงยากขึ้น

" หนังโฆษณาที่สามารถตรึงใจผู้คน บอกเล่าเรื่องราวชีวิตของคนไทย ซึ่งก็คือจุดแข็ง ดังนั้นเราก็จะเปลี่ยนจากจุดอ่อนมาเป็นจุดแข็ง"

ในขณะที่บริษัทคู่แข่งรายอื่น มักจะชูภาพหนังโฆษณาไปในมุมตลก ขบขัน เพื่อสร้างการจดจำในชื่อ แต่ไทยประกันชีวิตยังเลือกจะยืนในจุดที่คุ้นเคย นั่นก็คือ ประกันชีวิตไม่ใช่ไลฟ์สไตล์ แต่ควรจะเป็นเรื่อง "ซีเรียส" หนังที่สื่อออกมาจึงไม่วิ่งตามกระแส

" เราต้องรู้เท่าทันกระแส ไม่ตามกระแสแล้วนำมาวิเคราะห์ วินิจฉัยว่าเราควรจะอยู่ตรงไหนมากกว่า การโฆษณาจึงไม่จำเป็นต้องทำเป็นเรื่องตลก เพราะเรามองว่าเรายึดมั่นคุณค่าแห่งชีวิต ซึ่งไม่ใช่เรื่องตลก"

ไชย บอกว่า สมัยก่อนความเชื่อมั่น ศรัทธา ชื่อหรือแบรนด์ธุรกิจคนไทยมีน้อย แต่พอออกสโลแกน "คนไทยดูแลคนไทย" หรือ "เป็นหนึ่งในใจคนไทย" แบรนด์ก็เริ่มกลายมาเป็นจุดแข็ง คนเริ่มจดจำติดตา

" สมัยก่อน คนซื้อหรือแม้แต่คนขายประกัน ก็ยังไม่มีศรัทธาในบริษัทเลยด้วยซ้ำ จนพูดกันแบบปากต่อปาก"

หนังโฆษณาล่าสุดคือ หาคนมาดูแล เป็นกลยุทธ์สุดท้ายในปีนี้ ก่อนจะมีออกมาเป็นทอดๆ ในปีต่อๆไป อย่างไรก็ตามไทยประกันชีวิตยังต้องควบคุมค่าใช้จ่าย จึงต้องใช้งบประมาณอย่างเหมาะสม แต่หลักๆก็คือ ส่วนหนึ่งใช้สร้างแบรนด์ และอีกส่วนหนึ่งใช้เพื่อกิจกรรมทางสังคม ซึ่งเป็นนโยบายระยะยาว

" เราตั้งใจให้มีหนังโฆษณาปีละหนึ่งเรื่อง แล้วแต่สถานการณ์ ว่าจะเป็นเรื่องราวที่จะสื่อออกมาอย่างไร"

ไชยบอกว่า การสร้างแบรนด์ต้องทำอย่างต่อเนื่อง ไม่ฉาบฉวย ซึ่งไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่ เพราะทุกครั้งต้องมีงบประมาณ แผนงาน ที่ทำเป็นกิจวัตรประจำวัน ซึ่งงบประมาณก็เป็นเรื่องปกติ อย่างไรก็ตามเป้าหมายของไทยประกันชีวิตก็ยังต้องการเป็น "ที่หนึ่งในใจคนไทย" เช่นเดิม

" เราเชื่อว่ามีคนไทยที่ดูแล้วเห็นด้วยว่าคนไทยต้อง คนไทยดูแล เป็นการฝืนความรู้สึกจนแทรกซึมเข้าไปถึงจิตใจ ซึ่งการสร้างแบรนด์ก็ไม่ใช่การทำอย่างฉาบฉวยซึ่งอาจใช้ได้ชั่วครั้งชั่วคราว หรืออาจใช้ไม่ได้เลย"

นอกจากการการถ่ายทอดแนวคิดผ่านสื่อ ไทยประกันชีวิตก็เพิ่มความเข้มข้นผ่านการขายและให้บริการที่เพิ่มขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มจำนวนตัวแทน ผ่าน "โครงการ 1 ชุมชน 1 ตัวแทน" รวมถึงการทำ "อี-เลิร์นนิ่ง" ให้ฝ่ายขายและพนักงานทั่วประเทศ เพื่อสร้างศักยภาพ เพิ่มองค์ความรู้จากต่างประเทศมาพัฒนา ปรุงปรุงให้เป็นหลักสูตรตัวเอง

" เป็นการนำเอาองค์ความรู้จากต่างประทเศมาประยุกต์ให้เข้ากับวัฒนธรรมและไลฟ์สไตล์คนไทย"

ขณะเดียวกัน ไทยประกันชีวิตยังต้องตอกย้ำ การตลาดในรูปแบบ CSR

(CSR : Corporate Social Responsibilities) มากขึ้นเพื่อคืนกลับสู่สังคม ไม่ว่าจะเป็นผู้เอาประกัน พนักงานบริษัท สังคม และผู้ถือหุ้น ซึ่งเป็นนโยบายระยะยาว ที่ทำเป็นประจำทุกปีอยู่แล้ว

ไชยบอกว่า ทุกปีจะมีการจัดสรรงบประมาณเพื่อการตอกย้ำแบรนด์ โดยขึ้นอยู่กับความสำคัญของโครงการ และการทำ CSR ก็ดำเนินมาถึง 20 ปี ไม่ใช่เพิ่งมาทำ โดยเฉพาะการสร้างแบรนด์เริ่มมาตั้งแต่ ปี 2525 เพียงแต่ตอนนั้นไม่เรียกว่า "แบรนด์" แต่จะเรียกว่า โฆษณาและประชาสัมพันธ์

" ทุกปีจะดูว่าบริษัทมีแผนอะไร เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนด"

ไชยบอกว่า ถ้าสังคมเข้าใจมากขึ้น ก็จะส่งผลดีต่อธุรกิจประกันชีวิตโดยรวม ขณะที่การแข่งขันช่วงชิงลูกค้าที่เริ่มหนักหน่วงขึ้น ก็ขึ้นอยู่กับใครจะสามารถเข้าถึงจิตใจคนไทยได้มากกว่ากันผ่านทางกิจกรรมการตลาด

แนวคิดหนังโฆษณาที่ส่งผ่านออกไป จึงไม่ได้บอกแค่ตัวสินค้าหรือองค์กร แต่ได้อธิบายถึง การดิ้นรนเพื่อความอยู่รอดของธุรกิจประกันชีวิต ที่กำลังแข่งขันกันอย่างเอาเป็นเอาตาย ในช่วงเวลาที่ภาวะเศรษฐกิจกวัดแกว่ง และไฟร้อนการเมืองคุกรุ่นอยู่ตลอดเวลา...   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us