Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มิถุนายน 2537








 
นิตยสารผู้จัดการ มิถุนายน 2537
"เส้นทางอาถรรพณ์ของยูเนียน แดวู"             
 


   
search resources

ยูเนี่ยน แดวู
ชอง โร ลี




ในบรรดาบริษัทรับเหมาก่อสร้างจากต่างชาติที่มุ่งหน้าหวังจะเข้ามารับงานในไทยนั้น คงไม่มีชาติอื่นใดที่รู้ใจคนไทยเท่ากับผู้รับเหมาที่มาจากทวีปเอเชียด้วยกัน ไม่ต้องดูอื่นไกลเจ้าประจำที่เข้ามารับงานในไทยแรกๆ ก่อนใครเพื่อน ก็ไม่หนีไปจากญี่ปุ่น ที่อาศัยเครดิตเรื่องเงินช่วยเหลือต่างประเทศที่ให้แก่ไทยมากเป็นพิเศษ เข้ามาเป็นใบเบิกทางรับงานได้อย่างมีศักยภาพสูงกว่าประเทศอื่นที่ตามมาภายหลัง

นอกจากนั้นด้วยคุณลักษณะของบริษัทรับเหมาจากญี่ปุ่นที่ถึงพร้อมด้วยความตรงต่อเวลา และการรักษาสัจวาจาที่ตัวเองได้ลั่นปากไว้ให้กับเจ้าของโครงการ เหล่านี้เป็นคุณสมบัติส่วนเสริมที่ทำให้จนถึงทุกวันนี้ ญี่ปุ่นก็ยังรักษาระดับการรับงานไว้ในระดับแนวหน้าได้เช่นเดิม

ถัดจากนั้นมาจนถึงทศวรรษปัจจุบัน เกาหลีใต้ ประเทศซึ่งมีความคล้ายคลึงหลายประการกับญี่ปุ่น ก็ได้พยายามอาศัยจุดขายหลายข้อที่ไม่แตกต่างจากญี่ปุ่นข้างต้น มาเป็นกลยุทธ์ในการทำให้คนไทยรู้จักบริษัทรับเหมาจากประเทศนี้แต่เนื่องด้วยข้อด้อยบางประการ จึงทำให้แนวหน้าของธุรกิจรับเหมาจากเกาหลีชุดแรกๆ ไม่สามารถทะลวงฟันเอาส่วนแบ่งงานโครงการมาเชยชมได้มากตามต้องการ

ดังนั้นผู้รับเหมาหน้าใหม่ๆ จากเกาหลีที่หวังจะเข้ามาไทยในงวดใหม่นี้ จึงจำเป็นอย่างยิ่งจะต้องศึกษาบทเรียนของรับเหมาหน้าเก่าที่เข้ามาก่อนหน้า และปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ให้สอดคล้องกับสถานการณ์

"แดวู คอนสตรัคชั่น" ถือเป็นบริษัทรับเหมาระดับ TOP FIVE ของเกาหลี และถือเป็นหน้าใหม่ดังกล่าวที่หมายตาจะเข้ามารับงานในไทยมานานพอสมควรแล้ว แต่ยังไม่ได้โอกาสเหมาะสักครั้ง

จนกระทั่งเมื่อมาพบเนื้อคู่ที่ถูกชะตากันมากที่สุดอย่างเช่นค่ายสหยูเนียน เมื่อ 3 ปีที่แล้ว การหมั้นหมายระหว่างกันจึงได้เกิดขึ้น

โดยแรกเริ่มนั้น ได้มีการพูดจากกันระหว่าง 2 กลุ่มนี้มานานพอสมควร ซึ่งในขั้นต้นทางสหยูเนียนก็มีโครงการที่จะขยายงานด้านโรงงานอุตสาหกรรมในเครือของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นสิ่งทอ หรือเครื่องไฟฟ้าหรือการขยายบทบาทของตัวเองเข้าไปในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ด้วยเช่นกัน จึงได้ตกปากรับคำทางแดวูที่จะเข้าถือหุ้นในบริษัทใหม่คือ "บริษัทยูเนียนแดวู เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์คอนสตรัคชั่น จำกัด" ในอัตรา 51:49 อย่างเต็มใจ ในขณะที่แดวูเองก็เต็มใจอยู่แล้ว ที่จะปรับกลยุทธ์ในการเข้ามารับงานในไทยเสียใหม่ หลังจากที่ได้เรียนรู้ประสบการณ์จากคนที่มาก่อนหน้าว่า การเข้ามาเปิดตลาดในไทยโดยเข้าร่วมถือหุ้นกับบริษัทชั้นแนวหน้านั้น จะเป็นหนทางออกที่ดีของปัญหาการเจาะตลาดร่วมกันรับงานในไทย เพราะจะเป็นหลักประกันด้านชื่อเสียงซึ่งจะเป็นที่รู้จักอย่างรวดเร็ว

นอกจากการเจาะตลาดเพื่อรับงานจะเป็นไปอย่างคล่องตัวแล้ว แต่ละฝ่ายต่างก็มีอุปสงค์ของตัวเอง โดยแดวูก็หวังว่าจะอาศัยฐานของสหยูเนียนเพื่อศึกษาสภาพตลาดอสังหาริมทรัพย์ในไทย เพื่อการก้าวต่อไปสู่ภูมิภาคอินโดจีน ตามความมุ่งหมายเดิม ในขณะที่สหยูเนียนก็หวังเป็นอย่างมากว่าจะได้มีโอกาสเรียนรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีก่อสร้างจากแดวู เพื่อไปประสมประสานปรับใช้กับการขยายโครงการของตัวเองในอนาคต

แต่แล้วก็เหมือนกับมีอะไรมาบดบังทำให้การร่วมงานระหว่าง 2 กลุ่มนี้ต้องไปเรื่อยๆ มากว่า 3 ปี โดยยังไม่มีโอกาสได้รับงานใหญ่เป็นชิ้นเป็นอันแต่อย่างใด

โดยสังเกตได้จากผลงานที่ยูเนียน แดวูรับทั้งในอดีตที่ผ่านมาและที่รับอยู่ในปัจจุบันจะมีมูลค่างานไม่เกิน 400 ล้านบาทเท่านั้น อย่างโครงการที่ทำไปเสร็จแล้ว เช่น บ้านฉางพลาซ่า มูลค่าประมาณ 140 ล้านบาท และบ้านฉางช้อปเฮาส์ก็มีมูลค่าเพียง 18 ล้านบาทเท่านั้น หรือโครงการอีสเทอร์นสตาร์คลับเฮาส์ ก็มีมูลค่าเพียง 34 ล้านบาท และโรงงานกระดาษที่สิงห์บุรีก็เป็นโครงการล่าสุดที่เพิ่งเสร็จสิ้นไปในราคาเพียง 263 ล้านบาทเท่านั้น

ส่วนโครงการที่กำลังก่อสร้างในปัจจุบัน อย่างเช่นโรงแรมเซ็นจูรี่ปาร์คก็อยู่ในวงเงินเพียง 300 กว่าล้าน หรือโครงการราชการอย่างอาคารสำนักงานใหญ่ของการท่าอากาศยานแห่งประเทศไทยก็ไม่เกินวงเงิน 400 ล้านบาทไปแต่อย่างใด และล่าสุดกับโรงแรมภูเก็ตซิตี้ ทราเวล ลอดจ์ ก็เพียง 205 ล้านบาทเท่านั้น

ผู้ใกล้ชิดกับบริษัททั้ง 2 ให้ทัศนะถึงสาเหตุที่ความร่วมมือของทั้ง 2 บริษัทยังเป็นไปได้อย่างไม่เต็มที่ว่า เพราะทางสหยูเนียนยังไม่มีทีท่าแต่ประการใดที่จะเข้าไปร่วมมือในบริษัทร่วมทุนนี้อย่างจริงจัง เพราะนอกจากธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในประเทศยังไม่ได้ส่งสัญญาณให้บุกได้เต็มที่แล้ว นโยบายการลงทุนของสหยูเนียนในขณะนี้ก็ยังมุ่งเน้นที่จะไปลงทุนในต่างประเทศเป็นส่วนใหญ่ โดยเฉพาะในประเทศจีน เช่นการก่อสร้างพาวเวอร์แพลนท์ หรือโรงงานผลิตไฟฟ้า ก็ไม่มีความจำเป็นแต่อย่างใดที่จะต้องอาศัยความช่วยเหลือจากพันธมิตรแดวู

"ที่เมืองจีนบริษัทรับเหมาก่อสร้างมีมากมายทุกระดับให้เลือก ซึ่งถ้าเปรียบเทียบราคากับการส่งผู้รับเหมาจากภายนอกเข้าไป การใช้ผู้รับเหมาพื้นเมืองย่อมถูกกว่าอย่างแน่นอน ดังนั้นความสัมพันธ์ของ 2 กลุ่มนี้จึงดูเหมือนว่า ทางสหยูเนียนจะปล่อยให้ทางแดวูหาลูกค้าเอาเองเสียมากกว่า" ผู้ใกล้ชิดให้ทัศนะ

เมื่อสถานการณ์เป็นเช่นนี้ ชองโร ลี กรรมการผู้จัดการบริษัทยูเนียน แดวู ซึ่งรับหน้าเสื่อในการผลักดันให้ความมุ่งหมายของบริษัทพันธมิตเป็นจริงนั้น ก็คงต้องหนักพอสมควร อย่างไรก็ตาม ชอง ยังคงยืนยันว่า ความร่วมมือฉันท์มิตรระหว่างสหยูเนียนและแดวูยังคงสม่ำเสมอไม่เปลี่ยนแปลงแต่อย่างใด และทั้ง 2 ฝ่ายยังคงยึดหลัก "แสวงจุดร่วม สงวนจุดต่าง" ไว้เช่นเดิม ด้วยการตั้งเป้าว่าภายในปีนี้จะต้องมีผลดำเนินการไม่น้อยกว่า 2,000 ล้านบาท ในขณะที่ปีที่แล้วมีผลประกอบการเพียง 1,000 ล้านบาทเท่านั้น

ชองยังมีความเชื่อมั่นว่าเมื่อกระแสการลงทุนด้านอสังหาริมทรัพย์ดีขึ้นกว่านี้แล้ว ทางสหยูเนียนก็คงจะแสดงความสนใจเข้ามาร่วมกิจกรรมกับแดวูมากยิ่งขึ้น

"ตอนนี้เรากำลังหวังว่าจะได้เข้าไปรับงานอาคารขนาดใหญ่สูงถึง 44 ชั้นในเร็วๆ นี้ ซึ่งเราหวังว่าด้วยงานนี้จะทำให้เรามีเครดิตที่จะไปรับงานขนาดใหญ่มากกว่านี้อีก" ชองกล่าว

ในส่วนของชองเองนั้นไม่ค่อยจะเป็นห่วงปัญหาความร่วมมือกับสหยูเนียนมากนัก แต่ตัวเขาเองกลับเป็นห่วงปัญหาการขาดแคลนบุคลากรด้านงานก่อสร้างที่ยังคงเรื้อรังอยู่จนถึงขณะนี้ เพราะแม้ว่าทางยูเนียนแดวูจะพยายามเปิดโอกาสให้วิศวกรของไทยได้เข้าไปมีบทบาทในงานของบริษัทได้อย่างเต็มที่แล้วก็ตาม แต่สงครามการแย่งชิงคนดีมีความสามารถในธุรกิจประเภทนี้ยังคงรุนแรงแสนสาหัสเช่นเดิม

อีกปัญหาหนึ่งที่ชองวิตกเป็นอย่างมากเช่นเดียวกันคือ การแข่งขันตัดราคาในวงการก่อสร้างที่ยังคงรุนแรงอยู่ตลอดมา จนดูเหมือนว่าทุกค่ายในวงการจะต้องเข้าไปตัดราคาด้วยจึงจะอยู่รอดได้

ซึ่งหากสถานการณ์บีบมากกว่านี้แล้ว ยูเนียนแดวูก็คงอดไม่ได้เช่นกันที่จะต้องเข้าไปร่วมในมหกรรมการตัดราคาด้วยอย่างช่วยไม่ได้

อย่างไรก็ตามชองมีความเชื่อมั่นว่า ด้วยแนวทางการรับงานของแดวูในช่วงต่อไปที่จะหันไปรับงานภาคเอกชนมากขึ้น ในขณะที่จะไม่ทิ้งการรับงานราชการหรือสาธารณูปโภคขนาดใหญ่ โดยเฉพาะงานรถไฟฟ้าใต้ดิน ซึ่งทางแดวูบริษัทแม่มีความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับเรื่องนี้เป็นพิเศษ และมีความในใจจนได้ตั้งทีมศึกษาการเข้ามารับงานในไทยทางด้านนี้โดยเฉพาะ

เป็นที่น่าสังเกตว่า ประสบการณ์ของบริษัทรับเหมาจากเกาหลีก่อนหน้า แม้ว่าจะช่วยเตือนสติน้องใหม่ที่เข้ามาภายหลังให้ระมัดระวังตัวในการเข้ามารับงานให้จงหนักแล้วก็ตาม แต่การเลือกพันธมิตรหรือลูกค้าเจ้าของโครงการ ก็ดูจะเป็นเรื่องของโชคชะตาไปเสียแล้ว

ดูจากประสงการณ์ของรุ่นพี่บริษัทซัมซุง คอนสตรัคชั่น ที่ต้องมารับเคราะห์กรรมในการรับงานครั้งแรก คืออาคารสีลมพรีเชียส ทาวเวอร์ และโครงการรัตนโกสินทร์ ไอร์แลนด์ ก็ต้องเจอปัญหาหนักทั้ง 2 โครงการเสียแล้ว

ก็คงจะเป็นเครื่องเตือนสติยูเนียนแดวู ให้ระมัดระวังตัวอย่าปล่อยให้เกิดอาถรรพณ์ที่ว่า "หนทางของบริษัทรับเหมาเกาหลีจะต้องประสบปัญหาจนไปไม่ถึงฝั่งฝันแม้แต่รายเดียว"

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us